โดย: พริกขี้หนู

ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

ภาษากายของน้องหมากับน้องแมวที่ต่างกันเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของปัญหา

29 พฤษภาคม 2557 · · อ่าน (65,124)
4,878

SHARES


4,878 shares
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร
 
 
     คงเป็นเรื่องลำบากสักเล็กน้อย สำหรับคนรักสัตว์ที่เลี้ยงทั้งน้องหมาและน้องแมวเอาไว้ในบ้านเดียวกัน เพราะถึงพวกเขาจะเป็นสัตว์เลี้ยงคู่บ้านของคน แต่ก็ใช่ว่าจะสื่อสารไปในทางเดียวกันทั้งหมด พริกเป็นคนหนึ่งที่เลี้ยงน้องหมา แต่ก็ชอบเล่นกับน้องแมว ซึ่งเวลาเข้าไปเล่นกับน้องแมวทีไรจะดูไม่ค่อยออกว่าภาษากายของน้องแมวกำลังบอกอะไรกับเรา เวลาเห็นก็เดินเข้าหา เอื้อมมือไปลูบ เกาคางเพราะรู้มาว่าเขาน่าจะชอบ แต่กลายเป็นว่า น้องแมวบางตัวก็วิ่งหนี บางตัวก็กางเล็บตะปบใส่ บางตัวก็นอนหงาย จนรู้สึกว่าพฤติกรรมของเจ้าเหมียวนี่ช่างเอาแน่เอานอนไม่ได้เลย
 
     หากมองกันแบบละเอียดพฤติกรรมหลายอย่างของน้องแมวก็อ่านยากกว่าน้องหมา แต่คนที่เลี้ยงน้องแมวก็มองออกอย่างเข้าอกใจ ซึ่งความแตกต่างของภาษากายน้องหมากับน้องแมวนี้ไม่ได้สร้างปัญหาให้แก่คนรักสัตว์เท่านั้น แต่ยังสร้างปัญหาให้สัตว์ทั้ง 2 เผ่าพันธุ์ด้วยเช่นกัน พวกเขามักเข้าใจผิด แล้วลงท้ายด้วยการเจ็บตัวค่ะ 


 

น้องหมากับน้องแมวบอกความรู้สึกผ่านภาษากายอย่างไร

 
 
     ภาษากายของหมาจะมีการสื่อสารผ่านตา หาง หู การเคลื่อนไหว และเสียงเห่า เสียงหอน เสียงร้องเป็นหลัก ในส่วนของน้องแมวพวกเขาก็มีการสื่อสารเช่นเดียวกับน้องหมา แต่มีรายละเอียดที่ยิบย่อยกว่าในส่วนของหาง และ หู โดยจะเห็นมีความเหมือน ความแตกต่าง ดังต่อไปนี้ค่ะ (อ่านเพิ่มเติมภาษากายน้องหมาได้ที่บทความ เปิดหู เปิดตา เปิดใจ เรียนรู้ภาษาน้องหมาฉบับเต็ม! นะคะ)


 
ความเหมือน – ต่างภาษากายผ่าน “หาง”
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องหมา - จะมีการสื่อสารทางหางด้วยส่ายหาง กระดิกหาง เมื่อดีใจ เป็นมิตร พรือเห่าขู่ พร้อมสู้ หางตั้งขึ้นเวลาแสดงอำนาจท้าทาย หางจุกตูด เมื่อรู้สึกกลัว ยอมแพ้ และทิ้งหางตกพื้น พอรู้สึกสนใจ สงสัย สิ่งที่อยู่ตรงหน้า 
 
     น้องแมว - การแกว่งหาง แสดงว่าพวกเขาอารมณ์ไม่ดี ไม่ต้องการให้ใครมายุ่ง ให้ออกไปห่างๆ มีทั้งลักษณะการแว่งสะบัดขึ้นลง ถ้าแ ฃกว่งซ้ายขวาขนานกับพื้นช้าๆ อาจแค่หมองๆ ไม่สบายใจ ลดดีกรีควาวมรุนแรงลงมาค่ะถ้าหางตั้งตรงแสดงว่ารู้สึกหวั่นใจ โอเคดี ดีใจมากๆ  ถ้าตั้งขึ้นปลายหางโค้งหักไปทางด้านหน้าเล็กน้อย แสดงว่าอามรณ์ดี เป็นปกติ แต่ถ้าหางตั้งตรงพองฟู ห้ามเข้าใกล้เด็ดขาดนะคะ นั่นพวกเขากำลังบอกว่า ถ้าเข้ามาใกล้ เป็นเรื่องถึงกับบาดเจ็บแน่นอน ! ส่วนหางตกแสดงว่ารู้สึกเศร้า กลัว  ไม่มีความสุข 
 
 
 
ความเหมือน – ต่างภาษากายผ่าน “หู”
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องหมา - มีหูหลากหลายรูปแบบทั้งตั้งขึ้นเป็นสามเหลี่ยม ตั้งขึ้น แล้วพับลงที่ปลายหู หรือไม่ก็หูพับตก เป็นต้น ซึ่งภาษากายที่สื่สารผ่านหูของน้องหมาจึงดูไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ อาจเห็นชัดบ้างสำหรับน้องหมาที่มีหูตั้งว่า เวลากลัว หรือ ไม่ไว้ใจใคร หูจะลู่ไปด้านหลัง แต่ถ้าตื่นตัวพร้อมสู้ฐานหูจะตั้งขึ้น พร้อมจะใช้ใช้ผัสสะที่มีในการต่อสู้อย่างเต็มที่
 
     น้องแมว - ลักษณะหูของพวกเขาไม่เพียงลักษณะหูสามเหลี่ยมตั้งขึ้น และ หูสามเหลี่ยมที่ฐานหูตั้งขึ้นแต่ใบหูพับลงในบางสายพันธุ์สก็อตติชหูพับ (Scottish Fold) จึงเห็นการเคลื่อนเคลื่อนไหวของหูที่บอกอารมณ์ความรู้สึกได้ชัดเจน เช่น หูตั้งตรง แสดงว่าตื่นเต้น ดีใจมากๆ ถ้าหูตั้ง เอนไปด้านหน้าเล็กน้อยแสดงว่าเป็นมิตร อยู่ในอารมณ์เล่นได้ ถ้าหูลู่พับไปทางด้านหลังอาจจะบอกได้ว่าข่มขู่ หรือ กลัว ขึ้นอยู่กับภาษากายอื่นๆ ร่วมด้วย แต่หากหูบิดหันไปด้านข้าง หรือ ด้านหลัง (จะเห็นว่า หลังหูของน้องหมาจะเข้าหันหากัน ส่วนด้านหน้าของหูจะหันออกไปทางด้านข้าง) แสดงว่ารู้สึกกระวนกระวาย อารมณ์ไม่ค่อยดี ก้าวร้าว กังวล อย่างอยู่ลำพังให้ออกไปห่างๆ เป็นต้นค่ะ


 
ความเหมือน – ต่างภาษากายผ่าน “ตา” 
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
      น้องหมา - มีดวงตาที่โต เห็นตาขาว และนัยน์ตาชัดเจน ม่านตาไม่มีการปรับขยายหรือหดตัวเมื่อได้รับแสงสว่างที่ต่างกัน จึงแสดงความรู้สึกจากทางดวงตาได้มาก ทั้งดีใจ ตื่นตัว เสียใจ น้อยใจ รู้สึกผิด หวาดกลัว พวกเขาสามารถแสดงความรู้สึกได้ใกล้เคียงกันคนเลยค่ะ  (อ่านเพิ่มเติมภาษากายน้องหมาได้ที่บทความ 10 ภาษาตาที่บอกว่าน้องหมารู้สึกอย่างไร ค่ะ) 
 
       น้องแมว - สำหรับดวงตาของน้องแมวนั้น ม่านตาของน้องแมวจะปรับขยายเพื่อรับแสง ดวงตาน้องแมวจะกลมโต บ้องแบ๊วมากๆ  แต่ถ้าดวงตารับแสงโดยตรงเต็มๆ รูม่านตาจะหดลง เราถึงเห็นดวงตาน้องแมวเป็นขีดๆ เส้นตรงแทนค่ะ ซึ่งรูม่านตาที่ขยายบ้างหดบ้าง ของน้องแมวจึงทำให้การอ่านภาษาตาของพวกเขาค่อนข้างอ่านยากค่ะ แต่ถ้าไม่มีเรื่องเกี่ยวกับแสงเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยธรรมชาติของพวกเขาแล้วดวงตาจะมีการสื่อสารดังนี้ค่ะ นัยน์ตาเบิกกว้างกลมโต เมื่อรู้สึกดีใจ ประหลาดใจ ตื่นเต้น ตื่นกลัว ได้รับแรงเร้าต่างๆ  นัยน์ตาตีบเล็กลงเป็นเส้น รู้สึกเครียด กังวล ไม่สบายใจ ก้าวร้าว อารมณ์ไม่ดี กระพริบตาช้าๆ เชื่อใจไว้ใจ รู้สึกสบายใจ พอใจ และ ดวงตาหรี่ปิดประมาณครึ่งหนึ่ง (เวลาเคลิ้ม) รู้สึกเชื่อใจ ผ่อนคลาย อย่างไรก็ตาม การกว้างหรือ แคบของนัยน์ตาก็ขึ้นอยู่กับปริมาณแสงสว่างของดวงตาน้องแมวอย่างที่บอกไปอีกด้วยค่ะ  


 
ความเหมือน – ต่างภาษากายผ่าน “เสียง”
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องหมา - ว่าด้วยเรื่องของเสียงทั้งน้องหมากับน้องแมวมีการสื่อสารทางเสียที่ค่อยข้างหลากหลายด้วยกันทั้งคู่ ต่างกันตรงที่โดยปกติน้องหมาจะเน้นการสื่อสารด้วยการเห่า ขู่ และหอนหลากหลายโทนเสียง (อ่านเพิ่มเติมบทความ เมื่อสุนัขเห่า เขาต้องการสื่อสารอะไร? ค่ะ)

    น้องแมว - จะมีการร้องเรียก ตอบรับตอบขาน ได้ดีกว่าน้องหมา รวมไปถึงการขู่ การร้องเรียกความสนใจ ด้วยโทนเสียง และ ระดับความดังที่แตกต่างกันไปตามเจตนา  อย่างเช่น ขานรัก ร้อง “เหมี้ยว เบาๆ สั้นๆ” ถ้าร้อง “เหมี้ยวยาวๆ สูงๆ ก้องๆ ” ขู่แสดงอำนาจเหนือ เป็นต้นค่ะ 
 
 
 
 

ภาษากายน้องหมากับน้องแมวที่บอกสภาวะอารมณ์จิตใจ


 
 
 
      มาดูกันค่ะว่าในอารณ์เดียวกันน้องหมากับน้องแมวมีการแสดงพฤติกรรมเหมือนกันอย่างไร เพื่อว่าเราจะได้เข้าใจสารที่ทั้ง 2 ฝ่าย กำลังบอกอย่างถูกต้อง จะได้ป้องกันศึกได้ทันท่วงทีค่ะ

 
     1. อารมณ์ดีเป็นปกติ
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องหมา – ตาโตเป็นปกติ สำหรับน้องหมาหูตั้งหูจะตั้งเอนไปด้านหน้าเล็กน้อย กระดิกหางเป็นจังหวะ  อาจโก่งก้นเป็นการชวนเล่น แสดงความเป็นมิตร
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องแมว – นัยน์ตาจะโตปกติ  ปลายหูชี้ ไปทางด้านหน้าเล็กน้อย คอตั้งตรง หางชี้ขึ้น ปลายหางเอนไปด้านหน้าเล็กน้อย ไม่แกว่งหาง และขนหางไม่พองฟู  
 

 
     2. ตื่นเต้น ดีใจ
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องหมา – ดวงตาเบิกโต เป็นประกาย หูตั้งตื่นตัว หางกระดิกแกว่งหมุน หายใจหอบ แลบลิ้น 
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องแมว – นัยน์ตาเบิกโตมากกว่าปกติ หูกางออกตั้งตรง หางตั้งชี้ตรงปลายหางไม่โค้งงอ ขอหางไม่พองฟู
 
 

     3. กังวล ไม่สบายใจ
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องหมา –  มักจะไม่มองตาสบตาตรงๆ เหลือบตามองแทน หูตื่นตัว คอยระแวดระวัง อาจลู่ไปข้างหลังเล็กน้อย เมื่อรู้สึกไม่สบายใจมากขึ้น มักยกขาหน้าขึ้นเหมือนเป็นเกราะป้องกันตัว เตรียมที่จะถอยหนี หางไม่ตั้งขึ้น และไม่ตก รักษาระดับปกติ ไม่กระดิก บางรายวิตกกังวลจัดจะหายใจหอบ แลบลิ้น 
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องแมว –  ดวงตามองตรง ดูเหม่อลอยเล็กน้อย หูหันพับไปทางด้านหลังเล็กน้อย หางตก รูปหางโค้ง แกว่งช้าๆ ซ้ายขวาขนากับพื้น หางจะไม่ตกลู่ไปใต้ลำตัว
 

 
      4. อารมณ์ไม่ดี 
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
      น้องหมา – ไม่ค่อยสบตา ไม่จ้องตา พยายามหลบตา ถ้าหูตั้งจะสังเกตเห็นว่า หูจะตั้งขึ้นบ้าง ลู่ลงไปทางด้านหลังบ้าง เมื่อมีใครเดินเข้ามาหา คอยระแวงระวัง ใบหน้าจะไม่แสดงความรู้สึกสักท่าไหร่  หางทิ้งลง ไม่แกว่ง แต่ก็ยังไม่ลู่เข้าลำตัว  และมักเลือกอยู่ตามลำพัง
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องแมว –  นัยน์ตาโตกว่าปกติดูแข็งกร้าว (ในกรณีที่แสงไม่จ้ามากเกินไปจนรูม่านตาหดลง)  หูตั้งปกติ แต่ข้างหน้าของใบหูจะบิดไปอยู่ด้านข้าง หางทิ้งลง แต่ไม่ลู่เข้าหาตัว ปลายหางกระดกขึ้นเล็กน้อย หางแกว่งไปมาในทิศทางหน้าหลัง  
 

 
     5. ข่มขู่ ต่อสู้ 
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร
 
 
     น้องหมา – ดวงตาแข็งเกร็ง จ้องเขม็ง ถ้าหูตั้งหูจะกางออกแต่เอนไปทางด้านหลังเล็กน้อย  แยกเขี้ยว ผิวหนังเหนือจมูกย่นขึ้น ถ้ายืนอยู่ขาหน้าจะเกร็ง เอนไปทางทิศทางด้านหลัง หางไม่กระดิก ไม่ลู่ลงใต้ลำตัว อาจตั้งขึ้นจากระดับปกติของหางบ้างเล็กน้อย 
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องแมว - ดวงตาเบิกโต แข็งกร้าวถึงขีดสุด หูบิดไปทางด้านข้าง และลู่ไปทางด้านหลัง อ้าปากแยกเขี้ยวขู่ เสียงเหมี้ยววว สูงดัง หางตั้งขึ้น ขนหางพองฟู โก่งตัว ขนหลังพองฟู ขาหน้าขาหนึ่งยกขึ้นเล็กน้อย ไม่แตะพื้น เพื่อพร้อมที่จะตะปบสู้
 
 
 
      6. หวาดกลัว ยอมแพ้
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องหมา –  หลบหน้า หรี่ตา กระพริบตาถี่ๆ นั่นหรือนอนเก็บตัวขดตัว หูตกลู่ไปทางด้านหลัง น้องหมาบางตัวอาจจะนอนหงายเป็นการแสดงว่าพวกเขายอมแพ้แล้ว และที่อุ้งเท้าจะมีเหงื่อออก
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     น้องแมว – นัยน์ตามองขึ้น ไม่สบตาตรงๆ ดูระแวดระวัง หูลู่แบนไปทางด้านหลัง หางทิ้งลงต่ำเข้าใต้ลำตัว ปากอ้าเปล่งเสียงร้องเบาๆ เล็กน้อย  แต่ไม่ถึงกับการแยกเขี้ยวขู่คำราม ลำตัวย่อลงเหมือนนอนหมอบ แต่ช่วงท้องไม่แตะพื้น พื่นเตรียมวิ่งหนีได้ทันที
 


 

ข้อควรระวังของพฤติกรรมน้องหมาที่อาจโดนทำร้ายโดยน้องแมว

 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
      - กระโจนเข้าหาเพื่อชวนเล่น แม้แต่น้องหมาด้วยกันเองถ้าตัวหนึ่งนิ่ง แต่อีกตัวตื่นตัว กระโจนเข้าหาก็อาจยังเกิดความไม่พอใจ แว้งกัดได้ แต่โดยส่วนใหญ่น้องหมาด้วยกันเองจะพอเข้าใจภาษากายอื่นๆ ประกอบ เช่นการกระดิกหาง และพลังงานของอีกฝ่าย จึงไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้าเป็นน้องแมว การพุ่งเข้าหาของน้องหมาทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองเป็นเหยื่อจึงต้องรีบเคลื่อนตัววิ่งหนีเพื่อปกป้องตัวเอง แต่ถ้าไม่มีพื้นที่ปลอดภัย กำลังจนมุมพวกเขาก็จะตอบโต้กลับในทันที ซึ่งอาจทำให้น้องหมาบาดเจ็บได้ค่ะ 

 
     - งับหางน้องแมวเป็นการหยอก พฤติกรรมการชอบจับขางับแขนเป็นพฤติกรรมชวนเล่นเรียกร้องความสนใจที่น้องหมาชอบทำกับเราอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเราก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นการทำร้ายร่างกายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การใช้ปากจับชวนเล่น ไม่ใช่วิสัยของน้องแมวที่ทำกัน น้องหมาบางตัวอาจลืมตัวชวนน้องแมวเล่นด้วยการงับขา งับหาง อาจถูกน้องแมวตะปบหน้าบากได้โดยไม่ทันตั้งตัวก็ได้นะคะ เราควรห้ามน้องหมา และไม่ส่งเสริมให้พวกเขามีพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อเป็นการชวนเล่น หรือ เรียกร้องความสนใจ อาจใช้ขนมล่อหันเหความสนใจจากพฤติกรรมที่พวกเขากำลังทำอยู่ค่ะ  
 
     - เห่า ทำเสียงฟึดฟัดแบบหมั่นเคี้ยว โก่งก้น ส่ายหาง  เวลาน้องหมาชวนเล่นจะส่งเสียงเห่าสั้นๆ พ่นลมออกทางจมูกฟึดฟัด โก่งก้น กระดึกหาง ซึ่งปกติแล้ว หากมองตามพฤติกรรมของน้องแมว การตื่นตัว ทักทาย ชวนเล่นลักษณะนี้ ของน้องแมว แสดงว่ากำลังข่มขู่ แสดงอำนาจเหนือ น้องแมวที่อยู่เฉยๆ มีโลกส่วนตัวของตัวเอง จึงรู้สึกไม่ไว้ใจ แล้วเตรียมพร้อมตัวโต้ตอบกลับในทันที หากพวกเขารู้สึกว่าอาจจะกำลังถูกโจมตีค่ะ  
 
     - เผลอเอาจมูกดุนๆ ท้องน้องแมว ซึ่งน้องแมวจะอ่อนไหวกับบริเวณท้องมากเป็นพิเศษ เรียกได้ว่า ท้องข้าใครอย่าแตะ พวกเขาจึงป้องกันตัวเองอย่างอัตโนมัติด้วยกรุงเล็บเพชรฆาต ถ้าเห็นน้องหมาเริ่มทำพฤติกรรมดังกล่าวต้องห้ามโดยเด็ดขาดค่ะ
 
 
Dogilike.com :: ภาษากาย “น้องหมา” กับ “น้องแมว” สื่อสารต่างกันอย่างไร

 
     ภาษากายของน้องหมากับน้องแมวมีหลายอย่างที่ใกล้เคียงกันอย่างเช่น เมื่อกลัวหูจะลู่ไปข้างหลัง หางตกลง ไม่กล้าสบตา แต่ก็ยังมีภาษากายอีกหลายอย่างที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งความต่างนี้เองที่นำมาซึ่งปัญหาระหว่างน้องหมากับน้องแมว โดยเฉพาะน้องหมาตัวน้อยที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์ จึงไม่รู้ว่า การชูหาง กระดิกหางใส่ น้องแมวพร้อมกับโก่งตัว จะทำให้ถูกกรงเล็บพี่แมวตะปบเอา ซึ่งประสบการณ์ที่ไม่ดีเพียงครั้งเดียว ก็อาจนำความบาดหมางให้เกิดขึ้นกับพวกเขาตลอดไป ดังนั้น ถ้าเราสามารถเข้าใจความแตกต่างของพวกเขาได้ และช่วยเป็นหูเป็นตา ก็สามารถป้องกัน ห้ามปราม ก่อนที่จะเกิดศึกสงครามได้นั่นเองค่ะ  
 

 
 
บทความโดย : Dogilik.com

 
ข้อมูลอ้างอิง :
http://www.catster.com/cat-behavior/cat-body-language
http://pets.webmd.com/cats/features/cat-body-language
http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/cat_communication.html
http://www.momtastic.com/life/173319-cat-chat-how-to-understand-your-cats-body-language-and-sounds/#ixzz328JNQebI 
http://www.bandofcats.com/21-cat-behaviors-32-cat-sounds-and-their-secret-meaning/
 
 
ภาพประกอบ :
Dogilike.com
www.petsugar.com
mousebreath.com
aaclanguagelab.com
www.greatpetnet.com
www.settrade.com
www.catster.com
www.withoutwax.tv
latestfunnypics.blogspot.com