แก้ไขกระทู้
ประเด็นหลัก
• โรคขี้เรื้อนในสุนัข แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ โรคขี้เรื้อนแห้ง และ โรคขี้เรื้อนเปียก
• หากพบว่าสุนัขที่เลี้ยงกำลังประสบปัญหาโรคขี้เรื้อน ให้รีบนำไปรักษาทันที เพราะหากรักษาช้า ต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวนาน และยังส่งผลต่อลักษณะภายนอกของสุนัขด้วย

หากพูดถึงโรคผิวหนังในน้องหมา คงหนีไม่พ้น “โรคขี้เรื้อน” ถือเป็นโรคที่รักษายาก ใช้เวลาฟื้นตัวนาน และส่งผลต่อลักษณะภายนอกอย่างชัดเจน ทำให้น้องหมาไม่น่ารัก ไม่น่าเลี้ยง เอาเสียเลย วันนี้ Petcitiz จึงขอพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับโรคนี้ให้ดียิ่งขึ้นค่ะ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันให้กับน้องหมาที่บ้านด้วย ตามมาดูกันเลยค่า

1.โรคขี้เรื้อนแห้ง
เกิดจากตัวไรที่อาศัยอยู่ใต้ผิวหนัง น้องหมาจะมีอาการคัน และเกาอย่างรุนแรง ทำให้เกิดคราบสะเก็ดตามตัว เรียกว่า ขี้เรื้อนแห้ง อาการที่สังเกตง่ายๆ คือ ขนร่วงทั้งตัวคล้ายหนังกลับ บางตัวอาจพบว่าขนร่วงรอบใบหู เมื่อเอามือไปขยี้ น้องหมาจะมีอาการคันมากขึ้น โดยขยับเท้าหลังไปมาพร้อมกับการขยี้ใบหู ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะลุกลามทั่วลำตัว กลายเป็นหมาขี้เรื้อนไร้ขน และผิวหนังเกิดการอักเสบทั่วทั้งตัว


2.โรคขี้เรื้อนเปียก

ขี้เรื้อนชนิดนี้เกิดจากตัวไรเช่นเดียวกับขี้เรื้อนเปียก การติดต่อไม่ได้เกิดจากการสัมผัส แต่ติดต่อโดยภาวะภูมิต้านทานในตัวต่ำ เพราะไม่สามารถควบคุมตัวไรใต้รูขุมขนได้ สายพันธุ์ที่มีแนวโน้มในการเกิดโรคนี้สูง คือ พิทบูล, ชิสุ, ไซบีเรียน, เชาเชา เป็นต้น
ส่วนอาการที่เกิดขึ้น บางตัวอาจมีให้เห็นเฉพาะที่ ไม่เกิน 4 จุด หรือน้อยกว่านั้น แต่ขี้เรื้อนชนิดนี้ไม่ติดต่อมาสู่คนค่ะ โดยน้องหมาที่เป็นขี้เรื้อนจะมีอาการขนร่วง ไม่คันมาก เว้นแต่มีการติดเชื้อใต้ผิวหนัง และเกิดการลุกลามมากขึ้น เช่น เกิดตุ่มหนองใต้ท้อง ใต้รูขุมขนตามตัว หรือบางตัวตุ่มหนองแตก ทำให้เลือดไหลออกจากผิวหนัง

วิธีการรักษาโรคขี้เรื้อนใน สัตว์เลี้ยง สุนัข เเมว คลิกอ่านที่นี่นะคะ