โดย: พริกขี้หนู

ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]

เรกิ สัมผัสบำบัดถึงเวลาภาคปฏิบัติกันแล้ว!!

11 กันยายน 2555 · · อ่าน (13,595)
280

SHARES


280 shares

Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]

     

        สวัสดีเพื่อนๆ ชาว Dogilike หลังจากเตรียมมือเตรียมใจกันมาแล้ว  พร้อมลงมือปฏิบัติกันหรือยังคะ
วันนี้พริกได้เตรียมเรกิหลักสูตรเร่งรัดให้เพื่อนๆ สามารถรู้ตำแหน่งการวางมือเพื่อทำสัมผัสบำบัด เริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักจักระน้องหมา แล้วต่อด้วยวิธีการวางมือ แต่ก่อนจะเข้าคลาสเรียน พริกขอย้ำเรื่องจักระอีกครั้งนะคะว่า

      “ จักระคือบริเวณศูนย์กลางของร่างกายที่คอยเชื่อมโยง ตอบสนองการทำงานส่วนต่างๆของอวัยวะ และภาวะอารมณ์ความรู้สึก  หากเปรียบร่างกายกับการเครื่องจักร จักระก็เป็นเหมือน แผ่นซีดีข้อมูลที่หมุนอยู่ในร่างกายทำงานตลอดเวลา ใช้ไปนานๆ ก็ต้องมีรอยขีดข่วน แผ่นกระตุกทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ การทำเรกิก็คือการล้างเช็ดทำความสะอาดซีดีให้ใช้งานได้ดีไม่มีสะดุดค่ะ ”
 

Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]

 


ทำเรกิ ทำไมต้องรู้เรื่องจักระ

 
       เพราะว่าทุกครั้งที่เราวางมือ เราจะวางไว้ตามแต่ละตำแหน่งของจักระ ซึ่งเชื่อมโยงกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย เพื่อให้เรารักษาเยียวยาได้ถูกจุดค่ะ โดยการวางมือในแต่ละตำแหน่ง เราจะรับรู้สัมผัสที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าวางไว้บนท้องอาจรู้สึกร้อน แต่วางไว้ที่หน้าผากอาจรู้สึกเย็น นั่นแสดงว่าอวัยวะภายในไม่สมดุล ท้องที่ร้อนอาจมีสาเหตุมาจากโรคกระเพาะ เราก็อาจจะวางมือลงบนตำแหน่งนั้นให้นานขึ้น.....(แต่เอ๊ะ!  แล้วเราสังเกตได้อย่างไร ว่าเกี่ยวกับกระเพาะ ต้องติดตามอ่านต่อไปค่ะ)

   
      1. มารู้จักจักระน้องหมาจะได้รักษาถูกจุด

       ปกติแล้วจักระหลักของคนจะมี เพียง 7 ตำแหน่ง แต่ของน้องหมาเพิ่มจักระหลักขึ้นมาอีก 1 รวมเป็น 8 จักระ นอกจากนี้ยังมี จักระรอง 21 จักระ และจักระย่อยอีก 6 จักระ แตกแขนงย่อยลงไปอีก  แต่เราจะเน้นเฉพาะจักระหลัก คือ 7 จักระที่น้องหมามีเหมือนคน ได้แก่ จักระกระหม่อม หน้าผาก ท้อง สะดือ (สันหลัง) และราก (อวัยวะเพศ) ส่วนที่เพิ่มมาอีก 1 จักระมีเฉพาะสัตว์ เรียกว่า Brachial หรือจักระไหล่ จักระนี้ค้นพบโดย มาร์กริต โคตเทส (Margrit Coates) นักบำบัดสัตว์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลก  ซึ่ง ตำแหน่งบริเวณหัวไหล่นี้เองคือศูนย์กลางพลังงานหลักของสัตว์ทุกชนิด เชื่อมโยงกับทุกๆจักระในร่างกาย และยังเป็นจุดศูนย์กลางที่เชื่อมโยง และเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์ การรักษาสัตว์ทุกชนิดจะเริ่มต้นจากตำแหน่งนี้ค่ะ


Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]
     
      หลังจากทำความรู้จักจักระน้องหมากันแล้ว ทีนี้ก็มาถึงคำเฉลยว่าทำไมเราถึงสามารถสันนิษฐานได้ว่า น้องหมาอาจเป็นโรคกระเพาะ เมื่อสัมผัสได้ถึงความร้อนบริเวณท้อง หรือรู้สึกหน่วงๆที่มือขณะสัมผัส นั่นเป็นเพราะ เรามีตารางจักระที่ช่วยอธิบายว่าแต่ละจักระเชื่อมโยงกับตำแหน่งอวัยวะใด ระบบการทำงานไหน และช่วยบ่งบอกถึงภาวะที่ไม่สมดุลของน้องหมาว่าอาจเกิดมาจากสาเหตุใด ซึ่ง เราสามารถใช้ตารางได้ 2 จุดประสงค์ค่ะ คือ ไว้สำหรับเชคหลังจากที่เราสัมผัสแล้วรู้สึกถึงความผิดปกติ กับอีกวิธีคือ ดูว่าเราอยากสร้างสมดุลให้เขาตำแหน่งไหน ก่อนที่จะเริ่มทำเรกิค่ะ แต่ส่วนตัวพริก จะเชคหลังหรือระหว่างทำ เพื่อหาสาเหตุว่าน่าจะมาจากภาวะไม่สมดุลของอวัยวะใด แล้วจึงทำเรกิที่ตำแหน่งนั้นให้นานขึ้นค่ะ
   
      ด้านล่างนี้เป็นตารางจักระหลัก  และ ข้อมูลจักระรองและย่อยอีกนิดหน่อยไว้ให้เพื่อนๆ ลองนำไปศึกษาดู  โดยตำแหน่งจักระหลักเป็นตำแหน่งที่ต้องทำและเน้นเป็นพิเศษ จักระรองไม่เน้นค่ะ เพราะเป็นตำแหน่งที่อยู่ทั่วไปในร่างกายและใกล้กับบริเวณจักระหลักอยู่แล้ว พลังเรกิสามารถแผ่ไปได้อย่างทั่วถึง ส่วนจักระย่อย 6 จุดต้องทำและให้ความสำคัญไม่แพ้จักระหลัก โดยเฉพาะอุ้งเท้าทั้ง 4 ข้าง เพราะเป็นตำแหน่งที่ควบคุมการเคลื่อนไหวและการรับรู้โดยสัญชาตญาณค่ะ

      2. จักระหลัก 8 จักระ

จักระ/
สีประจำจักระ
 ตำแหน่ง      ระบบการทำงาน   สภาวะไม่สมดุล อวัยวะที่เกี่ยวข้อง
Brachial
จักระไหล่
อยู่ระหว่างไหล่ทั้ง 2 ข้าง ต่ำกว่าจุดเชื่อมต่อระหว่างไหล่กับคอนิดหน่อย เชื่อมต่อกับทุกจักระหลักอื่นๆ เป็นศูนย์กลางเช่อมโยงระหว่างมนุษย์กับสัตว์, จุดเริ่มต้นของการรักษา กระอัก กระอ่วน ไม่สบายตัวที่จะถูกสัมผัส, ปฏิเสธที่จะเชื่อมต่อ สื่อสาร, ในทางกายภาพ อาจเป็นโรคข้อต่ออักเสบ หรือโรคเกี่ยวกับผิวหนังอักเสบ อก, คอ, ศีรษะ, ขาหน้า
Crown
จักระกระหม่อม
ตำแหน่งบนสุดของศีรษะ ระหว่างหูทั้ง 2 ข้าง เชื่อมต่อกับวิญญาณ กับจิต, ความคิด ความรู้สึกหดหู่, ย้ำคิดย้ำทำ, สับสน สมอง, ต่อมใต้สมอง, ผิวหนัง, กระดูกสันหลัง, ระบบประสาทส่วนกลาง, ความสมดุลของจิตใจ

Brow
จักระหน้าผาก
กึ่งกลางหน้าผากเหนือดวงตาเล็กน้อย   การยอมรับตัวเอง, สัญชาตญาณ ปวดหัว, มีปัญหาสายตา (เป็นต้อ), ไม่มีสมาธิ วอกแวก, ขี้อาย, ฝันร้าย    ศีรษะ, ต่อมเหนือสมอง, สมดุลจังหวะหรือการเคลื่อนของร่างกาย
Throat
จักระคอ
คอ, ถ้าเป็นสัตว์ที่คอยาว ตำแหน่งของจักระนี้จะอยู่เหนือเส้นเสียง การสื่อสาร, เป็นผู้รับฟัง ไม่สามารถสื่อสารได้ หรือไม่สามารถรับฟังคำสั่งในการฝึกได้, เห่าไม่หยุด คอ, ปาก, ฟัน, กราม
Heart
จักระหัวใจ
หน้าอก, ด้านหน้าช่วงอก ด้านหลังขาหน้า ความสัมพันธ์, ความรัก, ความสงบ เสียใจ จากประสบการณ์สูญเสีย การแยกจาก, หวง แสดงความเป็นเจ้าของมากเกินไป, ไม่ปฏิสัมพันธ์กับสัตว์ตัวอื่น, ขี้อิจฉา, ตื่นตระหนกเมื่ออยู่กับสัตว์ตัวอื่นอย่างไม่มีสาเหตุ หัวใจ, ปอด,ระบบภูมิคุ้มกัน, ต่อมไทมัส(ต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง อยู่ในระบบน้ำเหลือง)
Solar Plexus
จักระท้อง
กลางหลัง พละกำลังในร่างกาย, ความมั่นใจในตัวเอง, ความเป็นปัจเจก, ความเป็นตัวของตัวเอง  (บ่อยครั้งสัตว์ที่คนเลี้ยงจะมีปัญหาในจักระนี้) ไม่มีความสุข, หมกมุ่น, ก้าวร้าว, ไม่กระตือรือร้น, วางอำนาจ, อ่อนแอ ลำไส้, กระเพาะอาหาร, ตับ, ตับอ่อน, ถุงน้ำดี
Sacral
(Spleen)
จักระสันหลัง
ระหว่างหางกับช่วงกลางหลัง เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ ,อารมณ์(สูญเสียคู่,สูญเสียลูก หรือ บ้าน) อ่อนไหวทางความรู้สึกมากเกินไป, ร้องโดยไม่มีสาเหตุ, เพิกเฉยต่อความสุขหรือสิ่งที่ปกติจะสนใจ, ถูกปฏิเสธ ไต, ต่อมหมวกไต, ระบบสืบพันธุ์, ระบบน้ำเหลือง
Root
จักระราก
โคนหาง สัญชาตญาณการเอาตัวรอด, ความมั่นคง (จักระนี้จะเน้นไปที่สัตว์ตัวเล็กๆที่เป็นผู้ถูกล่าในระบบห่วงโซ่อาหาร) หวาดกลัว, รู้สึกไม่ปลอดภัย, รู้สึกไม่มั่นคง, ตอบโต้ต่อสู้อย่างรุนแรง, ตะกละ, ขี้เกียจ, เฉื่อยชา, หงุดหงิด กระสับกระส่าย ลำไส้, พุง, สะโพก, ขาหลัง, ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก

     3. จักระรอง 21 จักระ

     ตำแหน่ง: ทั่วตลอดทั้งตัว
         หน้าที่: ควบคุมระบบอวัยวะ ที่สนับสนุนเรื่องระบบหน้าที่การทำงานของจักระหลัก แต่ละจักระที่สอดคล้องเชื่อมโยง ติดต่อ ยังด้านต่างๆ ของตัวมันเอง (ตัวตน) ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก การรับรู้   และสัญชาตญาณอวัยวะที่รับรู้ความรู้สึก จักระรองที่สำคัญที่สุดตั้งอยู่ที่ตำแหน่งดั้งจมูก ใต้ตา (ใต้หน้าผาก)
 
      4. จักระย่อย 6 จักระ

     ตำแหน่ง: หนึ่งจุดที่เท้าแต่ละข้าง  และหนึ่งจุดที่หูแต่ละข้าง
         หน้าที่: ควบคุมการรับรู้ การเคลื่อนไหว ความหนาแน่นของพลังงาน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น พายุ หรือแผ่นดินไหวเป็นต้น  จักระย่อยจะอยู่บริเวณฝ่าเท้า ซึ่งมีหน้าที่รับของพลังงานจากพื้นดิน ช่วยในการหยั่งรู้เพื่อเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ 

Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]
    
  เห็นตารางจักระแล้วอย่าเพิ่งท้อนะคะ ค่อยๆ อ่านไปทีละข้อแล้วลองทำตามตำแหน่งต่างๆ ไปพร้อมๆกัน ทำไปดูตางรางไปก็ได้ค่ะ
 



ได้เวลาปฏิบัติจริง.....พร้อมวางมือ!!!

     
      เริ่มเลยไม่รอช้า อันดับแรกคือ....เริ่มต้นจากตัวเราค่ะ ต้อง มีสมาธิ สงบ พร้อมส่งความรักและเมตตา ให้อีกฝ่ายอย่างตั้งใจทิ้งทุกความคิดที่เข้ามา ปล่อยจิตให้ว่าง หงายฝ่ามือวางลงบนหน้าตัก รับรู้พลังงานอุ่นๆ ที่ฝ่ามือของเราจากนั้นก็นั่งรอนิ่งๆ ค่ะ เป็นเชิงขออนุญาตว่าเราต้องการให้เรกิ ที่เราต้องขออนุญาตน้องหมาเราก่อนเพราะเรกิจะไม่บังคับผู้ที่ไม่ต้องการรับ ถ้าน้องหมาของเราต้องการจะเดินมาเองค่ะ อาจจะมาดมมือเรา หรือเดินวนไปวนมา บางตัวก็จะเดินเข้ามาหาแล้วนอนบนตัก บางตัวอาจนั่งหรือ นอนอยู่ข้างหลังเรา หรืออาจนั่งอยู่ห่างจากเรา 10-15 ฟุตเลยทีเดียว จากนั้นวางมือลงบนตัวเขาช้าๆ ไว้ระยะห่างสักสองนิ้วก่อน พอเขาเริ่มนิ่งจึงค่อยๆเคลื่อนเข้าไปใกล้ขึ้นจนสัมผัสตัวเขาในที่สุดค่ะ
 
Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]
    
       แต่ถ้าน้องหมาไม่ยอมเข้ามา สลัดหูสะบัดตัว หรือเกายิกๆ  ไม่ต้องตกใจหรือกังวลนะคะ เพราะ การตอบสนองของน้องหมาแต่ละตัวไม่เหมือนกันค่ะ     ไม่ใช่ว่าน้องหมาทุกตัวจะชอบเรกิค่ะ หรือแม้แต่น้องหมาตัวเดียวกัน การตอบสนองในแต่ละครั้งก็ยังต่างกัน  ให้เวลาเขาสักพัก จนเขาค่อยๆ ชิน รู้สึกผ่อนคลาย และพร้อมรับเรกิค่ะ

       ต่อไปนี้จะเป็นวิธีสาธิตการเตรียมให้เรกิแก่น้องหมาและการวางมือ เพื่อให้เพื่อนๆเห็นภาพมากขึ้น  อย่ารอช้าไปดูกันเลยค่ะ

        1. รอน้องหมาพร้อมรับเรกิ

            1.) ถ้าเขาต้องการเขาก็จะเดินมาหาเราเอง มาคลอเคลียหรือนอนหงาย ทำท่าให้เกาพุง คล้ายกับบอกว่า “ได้โปรดเถิดทำเรกิให้ผมที”
            2.) ถ้าเขาหาว หรือหายใจลึกขึ้น นั่นแหละค่ะ เป็นสัญญาณว่าเขาเริ่มได้รับพลังงานเรกิแล้ว เริ่มผ่อนคลาย พร้อมรับเรกิสัมผัสบำบัดแบบจัดเต็ม
Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]
 

       2. วางมือลงตำแหน่งไหน น้องหมาถูกใจที่สุด

       วางมือเบาๆ บนตัวไม่ต้องกดลงไป  แล้วค่อยเคลื่อนไปยังตำแหน่งอื่น แต่ถ้าเคลื่อนที่แล้วรบกวนน้องหมา ทำให้เขาไม่ผ่อนคลาย หรือหงุดหงิดล่ะก็ ให้วางนิ่งๆไว้ตำแหน่งเดียวก็ได้ค่ะ  แต่เมื่อเขาเริ่มชิน เราก็สามารถเคลื่อนมือวางลงบนตำแหน่งต่างๆ บนตัวได้  ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มตำแหน่งใหญ่ๆ คือ กลุ่มตำแหน่งทั่วไปบนร่างกาย, กลุ่มตำแหน่งขาและฝ่าเท้า และกลุ่มตำแหน่งเฉพาะที่ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีการวางมือลงบนร่างกายของน้องหมาแตกต่างกันไป ดังนี้ค่ะ 

             2.1 กลุ่มตำแหน่งทั่วไปบนร่างกาย

            จุดเริ่มต้นเรกิของน้องหมาจะอยู่ที่ไหล่เสมอ แล้ว ถึงเคลื่อนตำแหน่งต่ำลงมาเรื่อยๆ แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าเราวางมือบนตำแหน่งไหนสักตำแหน่งแล้วเขารู้สึกสบาย เอนตัวนอน หรือหลับ ก็ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนไปจุดอื่นก็ได้ค่ะ เพราะบางครั้งการเคลื่อนย้ายตำแหน่งอาจทำให้เขารำคาญ หรือบางครั้งเราอาจลูบเขาด้วยมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างวางไว้บนตัวเขานิ่งๆ ก็ได้ค่ะ ความสบายของน้องหมาสำคัญกว่าการวางตำแหน่งมือจนครบตำแหน่งค่ะ ระยะเวลาในการทำตำแหน่งละประมาณ 5 - 10 นาที
          
             การทำเรกิในกลุ่มตำแหน่งทั่วไปบนร่างกายมีจุดประสงค์ เพื่อปรับสมดุลอวัยวะภายใน และให้ร่างกายน้องหมาได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ค่ะ ซึ่งโดยปกติแล้วเวลาน้องหมารอรับเรกิ เขาอาจจะนั่งรับ หรือนอนรับเรกิ ตามอัธยาศัย เราจึงต้องมีวิธีการวางมือบนร่างกายน้องหมาทั้งในท่านอน และท่านั่ง ดังต่อไปนี้ค่ะ 

                     การทำเรกิในท่านอน

                     1.) ทุกครั้งจะเริ่มต้นที่ไหล่ทั้ง 2 ข้างค่ะ เป็นตำแหน่งของจักระไหล่ (Brachial) ซึ่งเป็นเสมือนกุญแจในการเชื่อมโยงกับทุกๆ จักระ
                     2.) ค่อยๆเปลี่ยนตำแหน่งวางมือลงบนบริเวณท้อง
                     3.) เลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งมือวางลงบริเวณสะโพก ใกล้กับโคนหาง เป็นตำแหน่งจบการรักษา
                     4.) อีกตัวเลือกสำหรับตำแหน่งการจบการรักษา คือมือหนึ่งบางไว้ด้านหลังช่วงกลางไหล่ทั้ง 2 ข้าง ส่วนอีกมือ วางไว้ด้านหลังบริเวณสะโพก
Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]

       
                   
การทำเรกิในท่านั่ง

                   1.) ค่อยๆวางมือลงเบาๆ บนไหล่ทั้ง 2 ข้าง
                   2.) เปลี่ยนตำแหน่งวางมือขนาบข้างลำตัว บริเวณซี่โครงทั้ง 2 ข้าง
                   3.) จบการทำเรกิด้วยการวางมือลงบนสะโพกทั้ง 2 ข้าง
                   4.) แต่เมื่อจบตำแหน่งสุดท้ายแล้วน้องหมาลุกขึ้นยืน นั่นหมายถึงเขาต้องการเรกิต่อค่ะ เราจึงต้องแถมให้เขาอีกหนึ่งตำแหน่งคือ บริเวณด้านหน้าต้นขาหลังทั้ง 2 ข้างค่ะ
Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]

     
              2.2. กลุ่มตำแหน่งขาและฝ่าเท้า

              ตำแหน่งบริเวณเท้านอกจากจะเกี่ยวข้องกับจักระราก (Root) ยังเป็นตำแหน่งของจักระย่อยอีกด้วยค่ะ ซึ่งวิธีการวางมืออย่างง่ายๆ 2 วิธี ดังนี้ค่ะ    

                     1.) วางมือข้างหนึ่งไว้ที่ข้อศอก ส่วนมืออีกข้างวางไว้ที่หน้าขา หรือตำแหน่งใดก็ได้บริเวณขา
                     2.) วางมือลงบนสะโพกอีกมือ ไว้ที่บริเวณปลายขา หรืออุ้งเท้า
Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]
        
       
             2.3 กลุ่มตำแหน่งเฉพาะที่ (เชื่อมต่อกับจักระ)

             ตำแหน่งต่อไปนี้ส่วนใหญ่จะทำเพื่อเยียวยาอาการบาดเจ็บต่างๆ หรือจากโรค รวมไปถึงปัญหาทางพฤติกรรม อารมณ์ไม่มั่นคง เช่นหวาดกลัว ก้าวร้าว เราจะดูว่าจักระไหนเชื่อมโยงตำแหน่งไหน หรือเกี่ยวข้องกับจิตใจอย่างไร ให้ขึ้นไปดูได้ที่ตารางจักระด้านบนค่ะ แต่ถ้าน้องหมาตัวไหนมีปัญหาทางอารมณ์หรือจิตใจที่ไม่สมดุลมากเป็นพิเศษ พริกมีวิธีทำเรกิเพื่อปรับสมดุลทางจิตใจน้องหมามาฝากค่ะ
 
                    1.) วางมือข้างหนึ่งไว้ที่หน้าอก ส่วนอีกข้างหนึ่งวางไว้ที่ศีรษะ ตำแหน่งนี้เป็นช่องทางที่น้องหมาจะได้รับพลังดีๆ จากเรกิเพื่อช่วยรักษาอารมณ์และความรู้สึกที่ไม่สมดุลค่ะ (แต่ จากประสบการณ์ของการทำเรกิให้น้องหมามา  พวกเขาไม่ค่อยชอบให้ทำเรกิบริเวณศีรษะนะคะ  เพราะเป็นตำแหน่งเชื่อมโยงกับสัญชาตญาณ  สัมผัสการรับรู้ที่เหนือธรรมชาติ เขาเลยไวต่อสัมผัสและหวงแหนเป็นพิเศษ ดังนั้นควรทำเฉพาะน้องหมาที่เราคุ้นเคยนะคะ)
                    2.) อีกวิธีหนึ่งคือวางมือข้างหนึ่งไว้ที่หน้าอก และอีกข้างไว้ที่ด้านหลังระหว่างไหล่ทั้ง 2 ข้างค่ะ
Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]
    
   
      เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับคลาสเรียนการวางมือสำหรับการทำเรกิ จัดเต็มและอัดแน่นด้วยสาระความรู้ แต่ไม่ต้องเร่งรีบหรือเข้มงวดกับตัวเองหรือน้องหมาจนเกินไป ค่อยๆ ลองทำและเรียนรู้ไปทีละนิดนะคะ  เพราะคลาสเรียนเรกิ สัมผัสบำบัดครั้งหน้า พริกจะพาไปรู้ลึกถึงขั้นต่อการทำเรกิ ให้น้องหมาฉบับสมบูรณ์ว่าเราต้องเริ่มกระบวนการอย่างไร เปิดรับพลังงานด้านบวกด้วยวิธีไหน และขณะทำเรกิให้น้องหมา จะเกิดการรับรู้สัมผัสรู้แบบใด พลาดไม่ได้แม้แต่บรรทัดเดียวเลยค่ะ
 
.......ขอบคุณนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ^___^  .......

Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]
Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]
Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]
Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]
Dogilike.com :: ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3]
 
บทความโดย : Dogilike.com
 ข้อมูลอ้างอิง
http://www.patinkas.co.uk/Chakra_System_of_Animals/
chakra_system_of_animals.html
Chakra Schedule and images copyright Patinkas © 2009
 Animal Reiki เขียนโดย Elizzabeth Fulton และ Kathleen Prasad
เรกิ พลังธรรมชาติ เพื่อการเปลี่ยนแปลงภายใน เขียนโดย ทอม ราเซียนดะ
ภาพประกอบ
http://www.dailymail.co.uk/news/article-2109288/Reiki-dogs-Spiritual-
healing-sessions-allow-pampered-pooches-inner-peace.html
http://deborahslittlegems.blogspot.com/2012/02/
animals-and-healing-hands-on-hands-off.html
http://www.4pawreiki.com/
http://www.free-meditation.ca/archives/4679
http://www.patinkas.co.uk/Chakra_System_of_Animals/
chakra_system_of_animals.html