โดย: เว็บมาสเตอร์มะเหมี่ยว

คืนชีวิตใหม่ให้น้องหมา กับเทคนิคการผ่าตัดแบบ TTA

การผ่าตัดเอ็นหัวเข่าขาดแบบใหม่ของโรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชันที่จะช่วยให้น้องหมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

17 เมษายน 2558 · · อ่าน (13,496)
4,566

SHARES


4,566 shares

สำหรับคนรักและเลี้ยงน้องหมาในปัจจุบันการเลือกโรงพยาบาลและเลือกสัตวแพทย์ที่จะมาดูแล รักษาสุขภาพให้น้องหมานั้นเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะผู้เลี้ยงส่วนใหญ่เริ่มตระหนัก ถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของน้องหมา รวมถึงระบบการดูแลรักษาที่มีคุณภาพและครบวงจร ที่จะ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้เลี้ยงสุนัขได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญการดูแลและรักษาน้องหมา โดยสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก็เป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจในการพาน้องหมาเข้ารับการดูแลรักษาสุขภาพอีกด้วยค่ะ

ถือเป็นโรงพยาบาลสัตว์แห่งหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้เลี้ยงในการดูแลและให้ การรักษาสัตว์เลี้ยงด้วยสัตวแพทย์ที่มีความเชียวชาญและระบบการรักษาที่ครบวงจรได้เป็นอย่างดี เนื่องจากโรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน เปิดให้บริการทั้งด้านการตรวจรักษา การวินิจฉัยโรคและการผ่าตัดด้าน ต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยภายใต้การดูแลของทีมสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ทั้งนี้ในปัจจุบัน แนวโน้มของการเกิดโรคข้อและกระดูกในน้องหมามีสูงขึ้น และหนึ่งในการอาการที่ พบบ่อยขึ้นก็คือ อาการเอ็นหัวเข่าขาดซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ลูกสะบ้าเคลื่อนเรื้อรังหรือข้อเข่าอักเสบเรื้อรัง โดยที่ผ่านมาอาการดังกล่าวนี้จะใช้วิธีการรักษาโดยการใช้เอ็นเทียมซึ่งพบว่าเกิดผลข้างเคียงตามมาจาก การรักษามาก แต่ในปัจจุบันมีเทคนิคการรักษาแบบใหม่ที่จะช่วยลดความเสียหายที่เกิดต่อเนื่องหลังจาก การใส่เอ็นเทียมไปแล้วได้คือ เทคนิคการรักษาด้วยการทำ TTA

ซึ่งในปัจจุบันโรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชันได้มีการผ่าตัดเอ็น หัวเข่าขาดในน้องหมาด้วยวิธีการทำ TTA (Tibial tuberosity advancement) ซึ่งก็คือ เทคนิค การผ่าตัดเอ็นหัวเข่าขาดแบบใหม่ ภายใต้การดูแลของ น.สพ.บูรพงษ์ สุธีรัตน์ หรือ หมอตั๋ง โดยการรักษาด้วยวิธีการทำ TTA นั้น โรงพยาบาลสัตว์ ตลิ่งชันได้นำเทคนิคการรักษาดังกล่าวมาใช้เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีในการรักษา น้องหมาที่มีอาการเส้นเอ็นหัวเข่าขาด ซึ่งอาการดังกล่าวถือว่าเป็นอาการที่พบได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน

วันนี้มะเหมี่ยวจะพาเพื่อน ๆ ทุกคนไปพบและพูดคุยกับคุณหมอตั๋งสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีการทำ TTA กันค่ะว่า เทคนิคการรักษาด้วยวิธีนี้จะมีขั้นตอนอย่างไร และทำให้น้องหมาที่กำลังอยู่ในภาวะเอ็นหัวเข่าขาดมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างไรบ้าง

 

มะเหมี่ยว : เอ็นหัวเข่าของน้องหมามีความสำคัญอย่างไรคะ?

คุณหมอตั๋ง :

หัวเข่าของสุนัขกับของคนจะเหมือนกัน ก็คือจะพับ ยืด งอ ได้ตามปกติ และสิ่งสำคัญตรงหัวเข่าที่ สำคัญมากๆ มีอยู่ 2 อย่าง คือ ลูกสะบ้า กับ เอ็นหลังหัวเข่า ลูกสะบ้าก็คือที่เวลาเราจับบริเวณเข่า แล้วมันเคลื่อนไหวไปมาขึ้นลงได้ ทีนี้ถ้าเกิดว่ามันขยับซ้ายขวาได้แสดงว่าลูกสะบ้าเคลื่อนหลุด ออกนอกเบ้า ส่วนเอ็นหลังหัวเข่าก็คือเนื้อเยื่ออ่อนที่ยึดระหว่างขาท่อนบนกับขาท่อนล่างเพื่อทำให้ขา ท่อนล่างไม่สามารถเคลื่อนไปข้างหน้าเวลาที่มีการรับน้ำหนักมากๆ ได้

รูปภาพแสดงตำแหน่งของเอ็นหัวเข่าซึ่งในภาวะปกติจะทำหน้าที่ในการยึดกระดูกหน้าแข้ง
ไม่ให้เคลื่อนไปทางด้านหน้า แต่หากมีการฉีกขาดเกิดขึ้นกระดูกหน้าแข้งก็จะเคลื่อนไป
ทางด้านหน้าได้อย่างอิสระ ข้อเข่าจึงไม่มั่นคงเวลาน้องหมาเดิน

 

มะเหมี่ยว : สาเหตุอะไรบ้างคะที่ทำให้เกิดอาการเอ็นหัวเข่าขาด?

คุณหมอตั๋ง :

ต้องบอกก่อนนะครับว่าอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับสุนัขทุกตัว โดยสาเหตุของการเกิด อาการเอ็นหัวเข่าฉีกขาดนั้นจะแบ่งได้เป็น 2 แบบด้วยกัน ก็คือ แบบเฉียบพลัน ที่มักจะเกิดจาก อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระแทกแรงๆ เช่น สุนัขอาจวิ่งมาด้วยความเร็วแล้วเจอพื้นต่างระดับหรือหลุม ทำ ให้ขาบิดเข้าไปด้านในจนเอ็นหัวเข่าถูกดึงรั้งมากจนฉีกขาด ส่วนอีกแบบก็คือ แบบเรื้อรัง ที่เกิดจากสุนัข อาจมีอาการลูกสะบ้าเคลื่อนเป็นระยะเวลานานจนทำให้เกิดภาวะข้อเสื่อมซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาก็จะโน้มนำให้เกิดอาการเอ็นหัวเข่าขาดตามมา ซึ่งจากประสบการณ์ในการรักษาที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ แล้วสุนัขที่มีอาการเอ็นหัวเข่าขาดก็จะมีสาเหตุมาจากอาการป่วยแบบเรื้อรังครับ

รูปภาพแสดงตำแหน่งของเอ็นหัวเข่าซึ่งในภาวะปกติจะทำหน้าที่ในการยึดกระดูกหน้าแข้ง
ไม่ให้เคลื่อนไปทางด้านหน้า แต่หากมีการฉีกขาดเกิดขึ้นกระดูกหน้าแข้งก็จะเคลื่อนไป
ทางด้านหน้าได้อย่างอิสระ ข้อเข่าจึงไม่มั่นคงเวลาน้องหมาเดิน

 

มะเหมี่ยว : รักษาอาการเอ็นหัวเข่าเสื่อมในอดีตมีวิธีการอย่างไรคะ?

คุณหมอตั๋ง :

ในอดีตสิ่งที่เราทำจนถึงปัจจุบัน เราจะเรียกว่าการใช้เอ็นเทียม ก็คือเหมือนกับว่าเอาตัวเอ็น ซึ่ง เป็นเส้นเอ็นสังเคราะห์ หรือเส้นไนลอนเส้นใหญ่ๆ ไปเกี่ยวกับกระดูกอ่อนของขาท่อนบนซึ่งเป็น กระดูกเล็กๆ ชิ้นหนึ่ง แล้วก็ไปคล้องกับปลายขาท่อนล่างจากนั้นผูกไว้ เพื่อให้เกิดแรงดึงไม่ให้ขา ท่อนล่างเคลื่อนไปข้างหน้าได้ เวลาที่ตัวเขารับน้ำหนัก แต่ปัญหาของพวกการใช้เอ็นเทียมก็คือ จะ ทำให้เกิดการการกดทับและบีบระหว่างข้อกระดูกหรือเบ้ากระดูกเยอะมาก เป็นผลให้เกิดการเสื่อม ของข้อรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ในเรื่องของการเดินของสุนัขเวลาเดินก็จะมีลักษณะขาที่เอียงออกนอก ตัวเพราะว่าโดนดึงรั้งไว้จากเอ็นอันนี้ ทีนี้เราก็จะไปรอให้ร่างกายสร้างคล้ายๆ กับเป็นผังผืดทำให้เยื่อหุ้ม หัวเข่า เยื่อหุ้มข้อ ให้มันหนาตัวขึ้น ซึ่งทำได้เพียงคาดหวังว่าจะมีการเคลื่อนไปข้างหน้าลดลง แต่ใน ปัจจุบันมีเทคนิคการรักษาที่เราเรียกว่า TTA (Tibial tuberosity advancement) ซึ่งเป็นเทคนิค การรักษาแบบใหม่ที่สามารถช่วยให้สุนัขสามารถเดินได้อย่างปกติขึ้นและการเสื่อมของข้อลดลง

 

มะเหมี่ยว : TTA คืออะไร และช่วยในการรักษาอาการเอ็นหัวเข่า
                              ขาดได้อย่างไรบ้างคะ?

คุณหมอตั๋ง :

TTA มีชื่อเต็มๆ ว่า Tibial tuberosity advancement เป็นเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ที่ อาศัยหลักการทางฟิสิกส์ลดมุมของด้านหลังกระดูกหน้าแข้ง โดยตัดส่วนของกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งเป็น จุดที่ยึดเกาะเส้นเอ็นของลูกสะบ้า ย้ายไปด้านหน้าให้เส้นเอ็นของลูกสะบ้าขนานแรงที่สัตว์ยืนที่เกิดกับ กระดูกหน้าแข้ง เทคนิคการรักษาด้วยวิธีนี้เป็นเทคนิคใหม่ซึ่งมีข้อดีในหลายๆ ด้านครับ อย่างใน เรื่องของอุปกรณ์ที่ใส่มีความคงทนแข็งแรง เหมาะสำหรับรองรับน้ำหนักของน้องหมาพันธุ์ใหญ่ได้ ดี และหลังการรักษาสุนัขจะฟื้นตัวได้เร็ว ลักษณะการเดินของเขาก็จะเป็นปกติไม่เหมือนการใช้วิธีการ รักษาด้วยเอ็นเทียม และที่สำคัญที่สุด การรักษาด้วยเทคนิคการทำ TTA จะไม่โน้มนำให้เกิดปัญหา การเสื่อมของข้อตามมาอย่างที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในการรักษาด้วยการใช้เอ็นเทียมครับ

 

มะเหมี่ยว : ทำไมผู้เลี้ยงสุนัขจึงต้องตัดสินใจให้สุนัขรักษาด้วยการ
                              ทำ TTA กับโรงพยาบาลตลิ่งชันคะ?

คุณหมอตั๋ง :

โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชันเริ่มใช้เทคนิคการทำ TTA ในการรักษาสุนัขที่มีปัญหาเอ็นหัวเข่า ขาดมากว่า 5 ปี แล้วครับ โดยในประเทศไทยถือว่าเป็นที่แรกและที่เดียวที่ใช้การรักษาด้วยเทคนิค นี้ โดยเราสามารถใช้เทคนิคนี้รักษาสุนัขได้ตั้งแต่สุนัขที่มีขนาดเล็กอย่างสุนัขสายพันธุ์ทอย เช่น ชิวาวา ไป จนถึงสุนัขสายพันธุ์ใหญ่อย่างเช่น ไซบีเรียน หรือ อลาสก้า ซึ่งที่ผ่านมาเราทำ TTA ให้กับสุนัขที่มีอาการ ป่วยเกือบ 20 ราย ซึ่งผลของการรักษาก็เป็นที่น่าพอใจเพราะสุนัขมีโอกาสที่จะกลับมาเดินได้ใกล้ เคียงกับปกติถึง 90% ครับ ที่สำคัญคือการรักษาด้วยเทคนิคนี้เกิดผลข้างเคียงน้อยจึงถือว่าเป็น ทางเลือกที่ดีสำหรับสุนัขที่มีอาการเอ็นหัวเข่าขาดครับ

 

มะเหมี่ยว : รักษาด้วยเทคนิคการทำ TTA มีข้อจำกัดอะไรบ้างคะ?

คุณหมอตั๋ง :

ข้อจำกัดแรกพบได้น้อยครับ คือข้อจำกัดเกี่ยวกับสายพันธุ์เพราะในสุนัขบางสายพันธุ์อย่าง สุนัขพันธุ์บาสเซ็ต ฮาวด์ หมอนรองกระดูกขาท่อนล่างของเขาค่อนข้างยาว ถ้ามันยาวเราก็จะทำ TTA ไม่ได้ เราก็ต้องมาดูที่ความชันของกระดูกขาท่อนล่างโดยการเอ็กซเรย์ ถ้ามันมีความชัน เยอะก็ทำไม่ได้ วิธีการก็จะต้องทำอีกวิธีหนึ่ง ส่วนเรื่องขนาดตัวของสุนัขไม่ถือเป็นข้อจำกัดในการรักษา เพราะไม่ว่าสุนัขพันธุ์เล็กหรือพันธุ์ใหญ่ก็สามารถรักษาด้วยเทคนิคนี้ได้ ส่วนข้อจำกัดข้อที่สองก็คือ ข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยเทคนิคการทำ TTA ในสุนัขพันธุ์เล็กจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 บาท แต่ถ้าสุนัขตัวใหญ่ค่าดมยาแพงขึ้นก็จะอยู่ที่ประมาณ 35,000 บาท ครับ

 

มะเหมี่ยว : ขั้นตอนในการวินิจฉัยโรคและการรักษาด้วยเทคนิคการ
                               ทำ TTA มีขั้นตอนอย่างไรบ้างคะ ?

คุณหมอตั๋ง :

ผู้เลี้ยงต้องให้ข้อมูลกับสัตวแพทย์ว่า เวลาสุนัขอยู่ที่บ้านการเดินของเขาเป็นยังไง มีอาการเจ็บตรง ไหน ถ้าหากสามารถถ่ายวิดีโอมาให้ดูด้วยได้ก็จะดีมากครับ เพราะว่าจะทำให้สัตวแพทย์เห็นว่าในชีวิต ประจำวันเขาเดินแบบไหน จากนั้นเมื่อพาสุนัขมาพบสัตวแพทย์ สัตวแพทย์จะเริ่มตรวจโดยใช้การคลำ ว่าขาของสุนัขมีการเคลื่อนไหม อาการเคลื่อนเป็นแบบไหน ถ้าลองคลำแล้วคิดว่ามีความผิดปกติ ก็จะทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจขึ้นโดยจะทำการเอ็กซเรย์ ซึ่งก็จะมีท่าพิเศษที่จะทำให้ สัตวแพทย์เห็นและบ่งชี้ได้ว่าเอ็นหัวเข่าของสุนัขมีการฉีกหรือขาดแบบไหน เมื่อทราบอาการที่แน่ ชัดแล้ว หากสุนัขจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด สัตวแพทย์จะทำการนัดตรวจสุขภาพและวางแผน การผ่าตัดทันทีหากเจ้าของสุนัขยินยอมที่จะให้สุนัขเข้ารับการรักษาครับ ส่วนในเรื่องของขั้นตอน ในการผ่าตัดขาหนึ่งข้างจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงครับ เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้วผู้เลี้ยงเพียงรอให้ สุนัขฟื้นจากยาสลบและสามารถพากลับไปดูแลต่อที่บ้านได้เลยครับ

 

มะเหมี่ยว : การดูแลหลังการผ่าตัดต้องทำอย่างไรบ้างคะ?

คุณหมอตั๋ง :

การดูแลหลังการผ่าตัดก็คล้ายกับการผ่าตัดกระดูกทั่วๆ ไปครับ คือ น้องหมาต้องได้รับยาลดปวด ลดอักเสบในช่วงแรก ต้องจำกัดบริเวณเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์หลังการผ่าตัดซึ่งเจ้าของอาจใช้วิธี การใส่สายจูงไว้ก็ได้ อีกอย่างที่สำคัญคือต้องควบคุมน้ำหนักไม่ให้สุนัขอ้วนเกินเกณฑ์เพราะจะมี ผลต่อการลงน้ำหนัก ส่วนน้องหมาที่ก่อนการผ่าตัดไม่ได้ใช้ขาเป็นเวลานานจนกล้ามเนื้อขาเกิด การฝ่อลีบ ช่วง 6 สัปดาห์หลังการผ่าตัด ผมก็จะแนะนำให้เริ่มโปรแกรมกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพื่อให้สุนัขกลับมาลงน้ำหนักขาตามปกติได้เร็วขึ้นครับ

 

มะเหมี่ยว : สุนัขที่ป่วยด้วยอาการเอ็นหัวเข่าขาดแต่ไม่ได้รับการ
                              รักษา จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้หรือไม่คะ?

คุณหมอตั๋ง :

ตรงนี้ผมคิดว่ามันไม่ได้มีผลถึงกับจะทำให้สุนัขเสียชีวิต แต่ผมว่ามันมีผลต่อคุณภาพชีวิต ของตัวสุนัข เพราะถึงแม้ว่าอาการนี้จะเป็นในช่วงที่สุนัขมีอายุเยอะคือประมาณ 5-6 ปีขึ้นไป แต่เราก็ สามารถเจอได้ในบางตัวที่มีอุบัติเหตุหรืออายุน้อยๆ อย่างสุนัขบางตัวถ้าเป็นตัวใหญ่ๆ รับน้ำหนักไม่ค่อยได้ ก็จะอยู่ที่ 3 ขวบ ก็สามารถเจอได้แล้วเหมือนกัน และถ้าหากเจ้าของพบว่าสุนัขมีอาการผิดปกติแล้วไม่ ทำอะไรเลย สิ่งทีจะเกิดขึ้นก็คือ สุนัขจะมีอาการเจ็บและดำรงชีวิตอย่างยากลำบาก มีปัญหาเรื่อง การเดินซึ่งในระยะสั้นเจ้าของอาจจะใช้วิธีการทำกายภาพบำบัดช่วย แต่หากปล่อยไว้ในระยะยาวก็จะมี ปัญหากับขาอีกข้างหนึ่ง เพราะพอขาข้างหนึ่งเจ็บสุนัขก็จะไปลงน้ำหนักที่ขาอีกข้างหนึ่ง สิ่งที่จะ เกิดตามมาก็คือเอ็นอีกข้างหนึ่งก็จะขาด ดังนั้นถ้าหากพบว่าสุนัขเริ่มมีปัญหาการเดินก็ควรพาไปพบ สัตวแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดทันทีครับ

 

มะเหมี่ยว : ฝากอะไรถึงผู้เลี้ยงที่พบว่าสุนัขของตนเริ่มมีอาการ
                               เอ็นหัวเข่าฉีกไหมคะ?

คุณหมอตั๋ง :

ถ้าหากเริ่มพบว่าสุนัขของคุณมีลักษณะการเดินที่ผิดปกติ เดินแล้วไม่ยอมลงน้ำหนัก เดินแล้ว มีอาการเจ็บ หรือเดินได้ในระยะทางที่สั้นลง แนะนำว่าควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์นะครับ เพื่อที่จะได้รู้ ว่าสุนัขมีความผิดปกติอะไร อาการเจ็บเกิดจากอะไร และหากพบว่ามีอาการเอ็นหัวเข่าขาด ทางเลือก ของคุณจะมีแค่ 2 ทางคือ ปล่อยเอาไว้เฉยๆ โดยที่ไม่ทำอะไร ในสุนัขพันธุ์เล็กอาจจะพอดำรงชีวิตต่อ ไปได้ในระยะเวลาสั้น ๆ อย่างไม่ทรมานมากนัก แต่ในสุนัขพันธุ์ใหญ่เขาจะทรมานมาก ซึ่งก็อยู่ที่เจ้าของ ว่าจะยอมให้เขาทรมานไปตลอดชีวิตหรือเปล่า ถ้าหากไม่ก็จะต้องให้สุนัขเข้าสู่ขั้นตอนการรักษา อย่างถูกต้องและควรเลือกวิธีการรักษาที่มีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ซึ่งถ้าถามผม ผมก็จะแนะนำให้ รักษาด้วยการทำ TTA ครับ อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการใช้เอ็นเทียม แต่สุนัขสามารถกลับมาเดิน ได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุดครับ

เราได้รู้จักเรื่องราวของเทคนิคการทำ TTA จากคุณหมอตั๋งกันไปแล้วนะคะว่า TTA คืออะไรและ มีข้อดีอย่างไรในการรักษาอาการเอ็นหัวเข่าขาดอย่างไรบ้าง ทีนี้มะเหมี่ยวจะพาเพื่อนๆ ไปติดตามชีวิต ของ น้องบาโล น้องหมาไซบีเรียน ฮัสกี้ อายุ 2 ปี ที่มีอาการเอ็นหัวเข่าขาดแบบเรื้อรังและได้เข้ารับ การรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชันด้วยการทำ TTA เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า ชีวิตของน้องบาโลจะเป็น อย่างไรบ้าง เมื่อได้รับการรักษาแล้วนะคะ

คุณพิม เจ้าของน้องบาโล ได้เล่าถึงสัญญาณความผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนที่จะทราบอาการป่วย ของน้องบาโลว่า เริ่มรู้สึกว่าน้องบาโลมีความผิดปกติ เพราะเมื่อปล่อยให้บาโลออกมาวิ่งพร้อมกับ น้องหมาตัวอื่น ๆ แล้วบาโลมีอาการเดินกะเผลก และเมื่อก้าวขึ้นบันไดบาโลจะก้าวขึ้นแค่สองขาหน้า ขาหลังจะค้างเอาไว้ ซึ่งตอนนั้นคุณพิมคิดว่าอาจจะแค่เป็นอาการกะเผลก แต่พอผ่านมาในช่วงระยะ เวลาเกือบเดือนอาการของบาโลกลับหนักขึ้น เขาไม่สามารถก้าวขึ้นบันไดได้ต้องใช้วิธียกขาหลังช่วย เมื่อพบว่ามีอาการหนักขึ้นจึงตัดสินใจพาบาโลไปพบสัตวแพทย์

รูปเอ็กซ์เรย์เอ็นหัวเข่า

รูปสะบ้าเคลื่อน
ก่อนการผ่าตัด

รูปสะบ้าหลังการ
ผ่าตัดแบบ TTA

รูปหลังการผ่าตัดเอ็น
หัวเข่าขาดแบบTTA

 

"ครั้งแรกที่พาบาโลไปหาคุณหมอ คุณหมอก็ช่วยเอ็กซเรย์ให้ว่าบาโลมีอาการผิดปกติอะไรตรง ช่วงขาหลัง ซึ่งพอเอ็กซเรย์แล้วก็พบว่าบาโลมีอาการเอ็นหัวเข่าขาหลังขาดทั้งสองข้างเลยค่ะ โดยที่ข้างขวารุนแรงมากจนจะต้องผ่าตัด และจะต้องตัดกระดูกออกด้วย เพราะอาการเอ็น หัวเข่าขาดที่บาโลเป็นนั้น เป็นแบบเรื้อรัง ซึ่งมีอาการค่อนข้างรุนแรงมากค่ะ ตอนนั้นตกใจมาก เพราะไม่มีสัญญาณบอกก่อนเลยว่าบาโลจะป่วย เพราะถ้าเป็นเรื้อรังก็น่าจะมีอาการมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว พอรู้ว่าป่วยเป็นอะไรแล้วคุณหมอก็เล่าวิธีการรักษาแบบคร่าวๆ ให้ฟังว่าต้องรักษายังไงบ้าง เลยแนะนำ ว่าให้ไปหาคุณหมอที่มีความเชียวชาญด้านกระดูกและข้อโดยเฉพาะ ซึ่งคุณหมอก็ได้แนะนำให้พา บาโลไปรักษากับคุณหมอตั๋งที่โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน เพราะว่าที่นั่นสามารถผ่าตัดอาการ นี้ได้"

หลังจากนั้น คุณพิมจึงพาบาโลไปพบกับคุณหมอตั๋ง ซึ่งคุณหมอได้ตรวจอาการบาโลและแนะ นำวิธีการรักษาโดยใช้เทคนิคการทำ TTA โดยคุณหมอตั๋งได้แนะนำถึงขั้นตอนการรักษาอย่างละเอียด ให้คุณพิมฟัง


"คุณหมอแนะนำว่าอย่างแรกเลยต้องตัดกระดูก คุณหมอก็จะให้ความรู้เกี่ยวกับที่มาของ โรคว่าโรคนี้มันเป็นแบบนี้นะ คุณหมอเอาฟิล์มเอ็กซเรย์มาให้ดูว่ากระดูกข้อต่อของบาโลเป็นยังไง มัน เสื่อมยังไง ต้องผ่ายังไง ทำไมถึงต้องผ่า ก่อนการผ่าตัดคุณหมอก็จะวางแผน โดยวาดโครงสร้าง ร่างกายบาโลให้ดูว่าเป็นแบบนี้ คุณหมอจะผ่าในลักษณะนี้ใส่เหล็กเข้าไปตรงนี้ คุณหมอจะให้ดู แผนการผ่าก่อน ซึ่งคุณหมอบอกว่าใช้เวลาผ่าตัดประมาณไม่เกิน 4 ชั่วโมง"


คุณพิมเล่าถึงความรู้สึกแรกที่รู้ว่าบาโลต้องเข้ารับการผ่าตัดว่าค่อนข้างตกใจเหมือนกันเพราะ ไม่คิดว่าอาการป่วยจะหนักขนาดนี้ แต่คุณหมอตั๋งได้ให้คำแนะนำว่าในกรณีนี้มีทางเลือกเพียงแค่ 2 ทาง คือ เข้ารับการผ่าตัดกับไม่ผ่า ถ้าหากไม่ผ่าบาโลก็จะมีปัญหาเรื่องการเดินไปตลอดชีวิต และอาการก็จะแย่ลงเรื่อยๆ แต่ถ้าตัดสินใจผ่าตัดบาโลก็มีโอกาสที่จะกลับมาเดินได้ใกล้เคียงกับปกติ ซึ่งเมื่อคุณพิมได้รับคำแนะนำดังกล่าวก็ตัดสินใจว่าจะยอมให้บาโลเข้ารับการผ่าตัด


"พิมคิดว่าทนให้บาโลเจ็บครั้งเดียว ดีกว่าให้เขาเดินกะเผลกไปตลอดชีวิต" และเมื่อถึงวันที่ต้อง เข้ารับการผ่าตัด คุณพิมบอกว่าเธอรู้สึกตื่นเต้นและมีความกังวลอยู่มากพอสมควร เนื่องจากไม่เคยมี สุนัขที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ขนาดนี้ แน่นอนว่าตลอดระยะเวลากว่า 5 ชั่วโมง คุณพิมได้อยู่คอย ให้กำลังใจบาโลหน้าห้องผ่าตัดตลอดเวลา


"พิมรู้สึกเหมือนมาเฝ้าญาติตัวเองเลยค่ะ เห็นบาโลตั้งแต่ตอนวางยาสลบ เห็นตอนโดนอุ้ม เข้าห้องผ่าตัดเราก็แอบเดินตามไปยืนส่องอยู่หน้าห้องผ่าตัดคือแบบก็นั่งดูเวลาไปเรื่อยๆ รอไปเรื่อยๆ สรุปแล้วครั้งแรกที่ผ่าไปก็ 5 ชั่วโมงกว่า เราก็ตกใจว่าเลือดไหลออกมา 5 ชั่วโมงกว่า ถึงจะเป็นหมา ใหญ่ก็เถอะก็น่าจะแย่เหมือนกัน ภาพแรกที่เห็นบาโล คือเขาน่าสงสารมาก ร้องเสียงดัง ดูซีด หมดแรง ลิ้นยังแข็งอยู่เลย ร้องโอดครวญมาก แต่คุณหมอก็เช็คดูแล้วว่าไม่มีปัญหาอะไร สามารถ พากลับไปดูแลต่อที่บ้านได้เลยค่ะ"

หลังจากพาบาโลกลับมาพักฟื้นที่บ้าน คุณพิมก็ได้ดูแลบาโลตามขั้นตอนและวิธีที่คุณหมอแนะ นำ และหลังจากนั้นอีก 1 เดือนก็ได้พาบาโลกลับไปตรวจกับคุณหมอตั๋งอีกครั้ง ซึ่งผลการรักษาก็ เป็นที่น่าพอใจ บาโลสามารถลงน้ำหนักขาข้างที่ผ่าตัดได้ดีขึ้น ซึ่งถือว่ามีอาการดีขึ้นกว่าตอน ที่ป่วยถึง 80% คุณหมอจึงแนะนำให้ผ่าตัดขาข้างที่สอง "หลังจากผ่าตัดได้เกือบสองเดือน คุณหมอ ก็นัดวันผ่าตัดขาอีกข้างค่ะ แต่ข่าวร้ายก็คือ เมื่อลองตรวจดูแล้วข้างที่สองมีอาการรุนแรงกว่า ข้างแรกมาก นอกจากผ่าแล้วต้องใส่ตัวเหล็กดามเอาไว้ด้วย ซึ่งในเคสของบาโล เขาตัวใหญ่ มากหนัก 38 กิโล เหล็กดามไม่สามารถหาได้ในประเทศไทย คุณหมอตั๋งจึงต้องสั่งเหล็กดาม จากอิตาลีมาให้ ก่อนผ่าก็เหมือนครั้งแรกคือคุณหมอจะวางแผนให้เราดูก่อนว่าจะผ่าตัดยังไงบ้าง ซึ่ง คุณหมอบอกว่าข้างที่สองจะหนักขึ้นกว่าข้างแรก มันรุนแรงมากขึ้น กระดูกตรงนั้นพรุน เนื้อเยื่อ เอ็นก็ ฉีกขาดหมด ฉีกขาดรุนแรงมาก คุณหมอบอกว่าจะผ่าเอาส่วนกระดูกที่พรุนออกแล้วเชื่อมเหล็กเข้าไป ใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบ TPLO (Tibial Plateau Leveling Osteotomy) ซึ่งเป็นการผ่าตัดรักษาเอ็น หัวเข่าขาดอีกวิธีหนึ่ง ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 5 ชั่วโมง พอตอนผ่าจริงก็กินเวลาประมาณ 4 ชั่วโมง นิดๆ เท่านั้นค่ะ"

การผ่าตัดครั้งที่สองผ่านไปได้ด้วยดี คุณพิมพาบาโลกลับมาพักฟื้นที่บ้านเช่นเดียวกับครั้งแรก โดยบาโลฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตร่วมกับคุณพิมและน้องหมาตัวอื่นๆ ในบ้านได้ อย่างรวดเร็ว โดยใช้ระยะเวลาพักฟื้นประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ซึ่งหลังการผ่าตัดทั้งสองข้างของบาโล คุณพิมเล่าด้วยรอยยิ้มว่า บาโลมีชีวิตที่ดีขึ้นมาก สามารถวิ่งเล่นกับน้องหมาตัวอื่นๆ ได้ ใช้ ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น และไม่ต้องทรมานกับอาการป่วยเหมือนกันหน้านี้ ซึ่งคุณพิมถือว่า ตัดสินใจถูกมากที่ยอมให้บาโลรักษาด้วยการทำ TTA

"พิมเห็นบาโลมีความสุขขึ้นพิมก็ดีใจค่ะ เพราะว่าน้องหมาก็เหมือนคนในครอบครัว ถ้าเขาไม่ สมบูรณ์ไม่สบาย เราก็รู้สึกไม่สบายไปด้วย พิมอยากให้คนที่เลี้ยงน้องหาทุกคนลองสังเกตอาการของ น้องหมาดูนะคะว่า ถ้าหากพบว่ามีอาการผิดปกติให้รีบพาไปหาหมอ และถ้าหากพบว่ามีอาการเอ็น หัวเขาขาดก็อย่าลังเลที่จะผ่าตัด เพราะถ้าผ่าโอกาสที่น้องหมาจะกลับมาเดินได้ก็ยังมี แต่ถ้า หากไม่ผ่าเลยโอกาสก็จะเป็นศูนย์ที่จะใช้ชีวิตปกติเหมือนน้องหมาทั่วไปได้ ดังนั้นรักษาเถอะ ค่ะ น้องหมาจะได้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง"

เรียกได้ว่าการทำ TTA นั้น ช่วยให้น้องหมาที่มีความเจ็บป่วยจากอาการเอ็นหัวเข่าขาด ที่เกือบจะเดินไม่ได้ไปตลอดชีวิต ได้กลับมามีชีวิตใหม่ที่สดใสอีกครั้งเลยนะคะ ถ้าหากเพื่อนๆ คนไหนที่น้องหมาเริ่มมีสัญญาณบอกความผิดปกติว่าอาจจะมีอาการเอ็นหัวเข่าขาด โรงพยาบาลสัตว์ ตลิ่งชันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มะเหมี่ยวอยากแนะนำว่าให้ลองพาน้องหมาไปพบและ ปรึกษากับคุณหมอที่โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชันดูนะคะ เพราะหากพบว่าน้องหมามีอาการเอ็นหัวเข่า ขาดจริงก็ควรรีบเข้ารับรักษาโดยทันที ซึ่งการรักษาด้วยการทำ TTA นี้ เพื่อนๆ สามารถไว้ใจได้ เลยว่า น้องหมาสุดรักของเรามีโอกาสที่จะกลับมาเดินได้ใกล้เคียงกับปกติสูงมาก ทั้งยังไม่ ต้องเสี่ยงกับอาการข้างเคียงอื่นๆ อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นตัวเลือกที่ดีมากๆ สำหรับเพื่อนๆที่มี น้องหมาอยู่ในอาการเอ็นหัวเข่าขาดเลยทีเดียวล่ะค่ะ

  • ส่งต่อให้เพื่อน:
  • Categories : Dogilike Review ·