โดย: Advertorial
"เปลี่ยนข้อสะโพกเทียม" ทางเลือกในการรักษา เพื่อมอบชีวิตใหม่ให้น้องหมาที่มีปัญหาข้อสะโพกเสื่อม
นวัตกรรมทางการแพทย์รูปแบบใหม่ ที่จะช่วยให้น้องหมาที่ประสบปัญหาข้อสะโพกเสื่อมมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
2 สิงหาคม 2562 · · อ่าน (7,545)
เชื่อว่าสำหรับคนเลี้ยงน้องหมาคงจะเคยได้ยินเรื่องของ "โรคข้อสะโพกเสื่อม" กันมาบ้าง แต่ก็คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว เป็นโรคที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับสุนัขของตัวเองได้ หรือถ้าจะเกิดก็คงเกิดกับสุนัขพันธุ์ใหญ่ที่มีน้ำหนักเยอะมากกว่าที่จะเกิดกับสุนัขพันธุ์เล็ก ซึ่งด้วยความเข้าใจแบบนี้เองที่ทำให้ผู้เลี้ยงไม่ได้ให้ความสำคัญหรือสังเกตเห็นความผิดปกติของสุนัข
น.สพ.บูรพงษ์ สุธีรัตน์ หรือ คุณหมอตั๋ง สัตวแพทย์ประจำในหน่วยศัลยกรรมกระดูกของโรงพยาบาลตลิ่งชัน ให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคข้อสะโพกเสื่อมว่า จริง ๆ แล้ว โรคข้อสะโพกเสื่อมเป็นโรคที่สามารถพบได้เป็นประจำกับสุนัขทุกสายพันธุ์ ทุกเพศทุกวัย ซึ่งสาเหตุหรือ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้นั้น หลัก ๆ แล้วจะมาจาก 2 สาเหตุคือ..

เกิดจากพันธุกรรม
เป็นมาตั้งแต่กำเนิด (ได้รับการถ่ายทอด DNA มาจากพ่อแม่สุนัข)

เกิดจากสุนัขได้รับสารอาหารที่ไม่สมดุล
เช่น มีแคลเซียม วิตามินดี โปรตีนและไขมันเกินความต้องการของร่างกาย
นอกจากนี้ปัจจัยเรื่องสิ่งแวดล้อมก็อาจทำให้อาการข้อสะโพกเสื่อมรุนแรงขึ้นได้ อย่างเช่น การที่สุนัขเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อ อย่างรุนแรง อาจเกิดได้จากการวิ่งเล่น กระโดด ก็อาจทำให้สุนัขข้อสะโพกเสื่อมได้เช่นกัน
สังเกตอย่างไรว่า
สุนัขมีความเสี่ยงมีปัญหาโรคข้อสะโพกเสื่อม
จะเห็นได้ว่าสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้สุนัขเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้นเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ ด้าน ดังนั้นสิ่งสำคัญ ที่สุดคือ ผู้เลี้ยงจะต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของสุนัขว่าสุนัขมีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ในการใช้ชีวิตประจำวัน คุณหมอตั๋งได้ให้คำแนะนำในการสังเกตความผิดปกติของสุนัขที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมว่า ให้สังเกต ดูลักษณะการเดินของสุนัขว่า มีอาการคล้ายเจ็บขาหรือไม่ ลงน้ำหนักขาได้เต็มที่หรือเปล่า ขึ้นบันไดหรือลงบันไดได้ ตามปกติหรือไม่ การก้าวย่างของสุนัขผิดปกติหรือไม่ โดยปกติสุนัขจะก้าวขาหน้าหลังสลับกัน แต่ถ้าพบว่าเริ่มมี พฤติกรรม ก้าวขาหลังคู่แบบกระต่าย (Bunny-hopping) นั่นก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกได้ว่าสุนัขกำลังมี อาการผิดปกติในเรื่องของข้อสะโพก
นอกจากนี้คุณหมอตั๋งบอกว่ายังสามารถสังเกตได้จากการทำกิจกรรมของสุนัขได้ด้วย "สุนัขที่มีความผิดปกติ จะแอคทีฟน้อยลง ทำกิจกรรมน้อยลง จับบริเวณสะโพกแล้วมีอาการหงุดหงิดหรือแว้งกัด นอนเยอะ หรือบางตัว ไม่เดินเลยก็มี ซึ่งเมื่อไม่เดินนานเข้าก็ลามไปเป็นกล้ามเนื้อลีบ จนเดินไม่ได้เลยก็ได้ ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งที่พบได้ก็คือ เรื่องของสายพันธุ์ สุนัขที่อยู่ในสายพันธุ์ Working Dog เช่น ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ หรือ เยอรมันเชฟเฟิร์ดก็จะพบเจอได้บ่อย นอกจากนี้ก็ยังมีสุนัขพันธุ์เล็กที่คนนิยมเลี้ยงเยอะ ๆ อย่างสายพันธุ์ปอมเมเรเนียน ก็พบปัญหาเกี่ยวกับข้อสะโพกเสื่อมเยอะเหมือนกัน จริง ๆ แล้วสุนัขทุกตัวมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้"
พฤติกรรมการเลี้ยงที่มีส่วนทำให้สุนัข
มีปัญหาโรคข้อสะโพกเสื่อม
พฤติกรรมของผู้เลี้ยงปัจจุบันคืออีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังเกตเห็นปัญหาโรคข้อสะโพกเสื่อมได้ง่ายขึ้น คุณหมอตั๋งเล่าว่ากรณีที่พบได้เยอะที่สุดคือ การเลี้ยงบนพื้นลื่น ทำให้สุนัขทรงตัวยาก ผู้เลี้ยงอาจจะเห็นอาการ ผิดปกติของสุนัขได้ง่ายขึ้นเพราะสุนัขรับน้ำหนักตัวเองไม่ได้ รวมไปถึงการไม่มีพื้นที่ให้สุนัขออกกำลังกาย สุนัขจะ ทำแค่กินแล้วก็นอน

เมื่อพื้นลื่นเขาก็จะไม่อยากลุกเดิน ทำให้เขาไม่ได้ ออกกำลังกาย ในขณะที่บางบ้านมีพื้นที่สนามหญ้า ให้สุนัขได้เดินเล่น เขาจะได้ออกกำลังกาย การเดิน บนสนามหญ้าทำให้สุนัขทรงตัวได้ดีกว่า ถึงแม้ว่า เอ็กซเรย์ออกมาแล้วสะโพกจะมีปัญหาก็ตาม แต่ร่างกายของเขายังมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงเพราะ เขาได้ออกกำลังกายอยู่ตลอด นั่นทำให้เขาสามารถ ดำรงชีวิตได้ปกติ ในขณะที่สุนัขที่ไม่มีพื้นที่ ออกกำลังกาย กินแล้วก็นอน นั่นก็จะทำให้เขามี น้ำหนักเพิ่มขึ้นซึ่งก็จะยิ่งเกิดปัญหากับการทรงตัว ทำให้อาการของโรคข้อสะโพกเสื่อมชัดขึ้นจนสังเกตได้
ปัจจุบันการรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อม
ทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง ?
คุณหมอตั๋งเล่าถึงประสบการณ์ในการดูแลสุนัขที่มีปัญหาข้อสะโพกเสื่อมว่า เป้าหมายคือการบรรเทาความเจ็บปวด ให้กับสุนัข โดยการบรรเทาความเจ็บปวดให้กับสุนัขนั้น ถ้าไม่ใช้วิธีการผ่าตัดก็จะต้องใช้วิธีกินยา
วิธีกินยา
ยาที่กินคือยาลดปวด ยาบำรุงข้อช่วยลดการ อักเสบ โดยจะให้กินร่วมไปกับการทำกายภาพและการ ลดน้ำหนักให้กับสุนัข เพราะถ้าทำให้สุนัขน้ำหนักลง ด้วยการออกกำลังกาย ร่วมไปกับการกินยาลดปวด กล้ามเนื้อของเขาก็จะแข็งแรงขึ้นโดยที่หมอไม่ต้อง ผ่าตัด แต่ก็จะไม่ได้ปกติร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งสุนัขเองก็จะ ต้องกินยาไปตลอดชีวิต แต่การให้ยานาน ๆ ก็อาจจะมี ผลกับไตของสุนัขซึ่งก็จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ด้านอื่นตามมา
การผ่าตัด ตัดหัวกระดูก
การผ่าตัดหัวกระดูกจะบรรเทาความเจ็บปวด และทำให้สุนัขเดินได้ แต่วิธีนี้ก็ไม่ได้ทำให้กลศาสตร์ ของการเดินของสุนัขกลับมาเป็นปกติเพราะกลไกของ การเดินจำเป็นต้องมีข้อต่อเพื่อรองรับน้ำหนัก ถ้าเกิด สุนัขที่ทำการผ่าตัดเป็นสุนัขที่อ้วนหรือไม่แข็งแรงจะ ทำให้เดินยากจากการที่ใช้กล้ามเนื้อของตัวเอง
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมเป็นการสร้างอวัยวะเทียมให้ฟังชั่นเหมือนอวัยวะจริง ทำให้การเดินไม่เจ็บปวด และเดินเป็นปกติ นั่นก็คือการเปลี่ยนข้อต่อ ในเมื่อข้อต่อเดิมมันเสีย เราก็ต้องหาข้อต่อใหม่มาใส่เพื่อทำให้การรับ น้ำหนักและการใช้ขาของสุนัขกลับมาเป็นปกติ มีจุดหมุนปกติ การลงน้ำหนักปกติ การถ่ายน้ำหนักปกติ เป็นการให้ คุณภาพชีวิตที่ดีกับสุนัขได้เหมือนเดิม
เทคนิคการรักษาด้วยการเปลี่ยนข้อสะโพก ...
มอบชีวิตใหม่ให้น้องหมา
ปัจจุบันการรักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้น โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชันก็ได้มีการรักษาโดยใช้ "ข้อสะโพกเทียม" เพื่อเปลี่ยนใส่ให้ กับสุนัขที่มีปัญหาข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งตอนนี้มีสุนัขที่เข้ารับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อสะโพกกับโรงพยาบาลตลิ่งชันแล้วหลายตัว โดยหนึ่งในนั้นก็คือ "น้องสปาตาร์" สุนัขสายพันธุ์อเมริกันพิตบูล เทอเรีย เพศผู้ อายุ 3 ปี น้ำหนัก 39 กิโล ที่มีปัญหา ข้อสะโพกเสื่อมตั้งแต่กำเนิด

พระอาจารย์ Salvatore Giglio ผู้เป็นเจ้าของสุนัขได้เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้สังเกตเห็นความผิดปกติของ น้องสปาตาร์ว่า สังเกตเห็นความผิดปกติจากการนั่ง นอน เดิน การวิ่ง สปาตาร์มีอาการเจ็บขาหลังยังแต่ยังเล็ก ๆ โดยเริ่มพบอาการเจ็บปวดชัดมากในช่วงอายุ 1 ปี
" ตอนแรกสังเกตว่าเคลื่อนไหวตัวได้ช้าลงเฉย ๆ แต่พอผ่านไปได้สักพักสปาตาร์ เริ่มร้อง เลยทำให้เห็นชัดว่าเขาคงจะเจ็บปวดมากจริง ๆ เห็นแล้วเราก็สงสาร เพราะเราก็รัก เลี้ยงเขามาตั้งแต่เล็ก เห็นเขาเจ็บปวดทรมานเราก็ทนไม่ไหว ก็เลยพาเขาไปหาหมอ ซึ่งคุณหมอที่ขอนแก่นบอกว่าจำเป็นต้องหาหมอที่ เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ก็เลยช่วยประสานงานมาที่โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน แนะนำให้รู้จักกับหมอตั๋งแล้วก็เข้าสู่การรักษาเริ่มจากพาสปาตาร์มาตรวจ ที่โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน หมอตั๋งวินิจฉัยว่าข้อสะโพกเสื่อม หัวกระดูกหลุด ออกจากเบ้า ซึ่งตอนนั้นเราก็อยากให้สปาตาร์ผ่าตัดให้เร็วที่สุด คุณหมอก็เลย วางแผนการผ่าตัดแล้วก็นัดผ่าตัดเลย ซึ่งก่อนผ่าตัดคุณหมอก็ได้แจกแจง อย่างละเอียดอย่างดีว่าสปาตาร์ควรผ่าตัดด้วยวิธีไหนที่จะดีกับตัวเขามากที่สุด และหลังผ่าตัดจะต้องดูแลเขายังไงบ้าง "
เมื่อถามถึงความกังวลในการผ่าตัด พระอาจารย์ Salvatore Giglio บอกว่าค่อนข้างมั่นใจในตัวคุณหมอมาก ๆ เพราะตลอดการรักษาคุณหมอจะมีคำแนะนำดีที่ และอธิบายวิธีการรักษาให้เข้าใจอยู่ตลอด รวมไปถึงเรื่องของความ พร้อมเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษาและความชำนาญของคุณหมอจึงทำให้วางใจว่าสปาตาร์จะได้รับการรักษา อย่างดีที่สุด

" พอถึงวันผ่าตัดทุกอย่างก็ผ่านพ้นไปด้วยดี คุณหมอขอให้สปาตาร์ อยู่โรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการอีก 14 วัน พอผ่าตัดได้ 2 วัน สปาตาร์ก็เริ่มลง น้ำหนักขาได้แล้ว ต้องบอกเลยว่าที่นี่ดูแลเคสได้ดีมาก ๆ คุณหมอจะถ่ายภาพ ถ่ายคลิปส่งมาให้ดูทุกวัน เราก็ลดความเป็นห่วงลงได้บ้าง พอคุณหมอก็บอกว่า ทุกอย่างโอเค เราก็มารับน้องหมากลับไปที่วัด จากนั้นประมาณอีกหนึ่งสัปดาห์ เราก็ส่งคลิปของสปาตาร์ไปให้หมอตั๋งดู คุณหมอค่อนข้างพอใจกับผลหลังการผ่าตัด แต่ก็ยังให้ระวังในเรื่องการเดินอยู่ ยังไม่ให้ออกแรงมาก ตอนนี้ก็ผ่านมาได้ 4 เดือนแล้ว แฮปปี้มากเพราะเราได้เห็นสปาตาร์เขามีความสุขขึ้น จะวิ่งจะเดิน ก็ไม่เจ็บปวดอีกต่อไป "
คุณหมอตั๋งอธิบายเพิ่มเติมถึงข้อดีของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกว่า เป็นวิธีการรักษาที่จะทำให้สุนัขใช้ขาได้เร็วกว่า วิธีอื่นมาก "อย่างในการรักษาด้วยวิธีตัดหัวกระดูกกว่าจะเดินลงขาได้ใช้เวลา 3 สัปดาห์ แต่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ใช้เวลา แค่ 2-3 วันก็เดินลงน้ำหนักขาได้ อีกสิ่งที่สำคัญคือ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ไม่ต้องทำกายภาพบำบัด ซึ่งกายภาพบำบัด ไม่สามารถคำนวณได้ว่าทำแล้วสุนัขจะเดินได้เร็วไหม อาการจะดีขึ้นเมื่อไหร่ ไม่มีใครตอบได้ชัดเจน แต่การผ่าตัดเปลี่ยน ข้อสะโพกนั้นถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธีรักษาแบบอื่น แต่หลังการรักษาก็จะเห็นผลได้รวดเร็วกว่า และช่วยให้คุณภาพชีวิต ของสุนัขดีขึ้นด้วย"
โรคข้อสะโพกเสื่อม
สามารถลดความเสี่ยงได้ตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข
คุณหมอตั๋งได้ให้คำแนะนำถึงผู้ที่กำลังมีความคิดอย่างจะเลี้ยงสุนัขว่า เรื่องของโรคข้อสะโพกเสื่อมนั้น สามารถตรวจพบแนวโน้มที่จะมีอาการผิดปกติได้ตั้งแต่ลูกสุนัขยังมีอายุน้อย ซึ่งเมื่อตรวจพบแล้วก็ควรจะปรึกษา คุณหมอเพื่อหาวิธีลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเมื่อลูกสุนัขเติบโตขึ้นไป

"ในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น ถ้าคิดจะเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ลาบราดอร์ มีวิธีการที่จะลดความรุนแรงของโรคได้ตั้งแต่เขาอายุ 3-4 เดือน เรียกว่าการจี้ไฟฟ้าที่เชิงกราน ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงได้ แต่ไมได้หมายความว่าจะไม่เป็นอีก แล้วก็มี วิธีการผ่าตัดปรับมุมกระดูก แต่ในกรณีที่ตรวจเจอว่ามีความผิดปกติ หัวกระดูกมีความผิดปกติไปแล้ว วิธีนี้ก็จะไม่ สามารถทำได้ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่หมออยากจะให้คนเลี้ยงสุนัขทุกคนทำความเข้าใจว่าสองวิธีที่บอกไปนั้นเป็นการป้องกัน และลดโอกาสในการเกิดโรคไม่ใช่การรักษา ผู้เลี้ยงสามารถพาลูกสุนัขไปตรวจเช็กสุขภาพตั้งแต่อายุ 2-4 เดือน หากพบว่ามีแนวโน้นที่จะมีปัญหาเรื่องข้อสะโพกก็ควรรีบขอคำปรึกษาจากคุณหมอทันที ซึ่งการรู้ปัญหาเร็วและแก้ไข เร็วก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกสุนัขจะมีปัญหาเกี่ยวกับข้อสะโพกได้ในอนาคต

และไม่ใช่เฉพาะในสุนัขพันธุ์ใหญ่เท่านั้น ในสุนัขพันธุ์เล็กอย่างปอมเมอเรเนียนก็อาจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่กำเนิด ดังนั้นเจ้าของควรพาไปตรวจสุขภาพอย่างละเอียด ในบางกรณีที่ซื้อสุนัขที่มีดีกรีลูกแชมป์มาเลี้ยงก็อย่าชะล่าใจคิดว่า จะไม่เจอกับปัญหาข้อสะโพกเสื่อม เพราะถึงพ่อแม่สุนัขจะเป็นสุนัขที่ผ่านการประกวดได้แชมป์ แต่ในการประกวดสุนัขนั้น จะดูแค่โครงสร้างภายนอก ไม่ได้มีการตรวจเอ็กซเรย์ดูว่าโครงสร้างภายในผิดปกติหรือไม่ สุนัขบางตัวเอ็กซเรย์ดูแล้ว หัวกระดูกเสื่อมแต่ดูจากท่าเดินภายนอกอาจจะดูดีก็ได้ ซึ่งในสุนัขที่มีปัญหาข้อสะโพกเสื่อมนั้นถึงแม้จะเป็นแชมป์ก็ไม่ควร ขยายพันธุ์ต่อ เพราะโรคข้อสะโพกเสื่อมเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ วิธีที่ดีที่สุดคือทำหมันไปเลย ดังนั้นการจะเลือกซื้อลูกสุนัขควรพิจารณาให้รอบคอบ ศึกษา ทำความเข้าใจ และเมื่อได้ลูกสุนัขมาแล้วก็ควรดูแลสุขภาพ และหมั่นสังเกตความผิดปกติของเขาอย่างสม่ำเสมอด้วย"
*ท้ายที่สุด คุณหมอได้ฝากถึงผู้เลี้ยงสุนัขทุกคนว่าเมื่อสุนัขมีอาการเดินผิดปกติสุนัขไม่สามารถดูแลรักษาตัวเองได้ เขาจะหายมาเดินได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับเจ้าของ ซึ่งเมื่อสุนัขเจ็บป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษา ข้อมูลการรักษาที่ถูกต้อง นั้นสำคัญมาก

" เจ้าของสุนัขเป็นผู้เดียวที่มีสิทธิ์ที่จะมอบคุณภาพชีวิตที่ดี ให้แก่สุนัข เขาจะเดินได้ หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความรักและความรู้ ที่คุณมี หมอมีหน้าที่ในการดูแลและแนะนำวิธีการรักษา รวมไปถึงข้อมูลใหม่ ๆ แต่สุดท้ายแล้วเจ้าของเองคือผู้ที่จะ ตัดสินใจว่าจะให้สุนัขได้รับการรักษาแบบไหนที่จะดี กับตัวของเขามากที่สุด "
เรียกได้ว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกนั้น ช่วยให้น้องหมาที่มีความเจ็บป่วยจากอาการข้อสะโพกเสื่อมได้กลับมามีชีวิตใหม่ ที่สดใสอีกครั้งเลยนะคะ ถ้าหากเพื่อน ๆ คนไหนที่น้องหมาเริ่มมีสัญญาณบอกความผิดปกติตามที่คุณหมอได้ให้ความรู้ ไปในข้างต้น โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่อยากแนะนำให้ลองพาสุนัขไปพบและปรึกษากับคุณหมอดูนะคะ เพราะหากพบว่าสุนัขมีอาการข้อสะโพกเสื่อมจริง ก็ควรรีบเข้ารับรักษาโดยทันที ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกนี้ เป็นการสร้างอวัยวะเทียมให้ฟังก์ชันเหมือนอวัยวะจริง ผู้เลี้ยงสามารถไว้ใจได้เลยว่า สุนัขที่เป็นเหมือนสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว ของเรามีโอกาสที่จะกลับมาเดินได้เป็นปกติ และยังไม่ต้องเสี่ยงกับอาการข้างเคียงอื่น ๆ อีกด้วยล่ะค่ะ เรียกได้ว่าเป็นตัวเลือก ที่ดีมาก ๆ เลยนะคะ ^^

SHARES