ยาพาราใช้กับน้องหมาได้หรือไม่ไปหาคำตอบกัน ...

มาดูข้อเท็จจริงกันว่า จริงๆ แล้วเราใช้ยาพารากับน้องหมาได้หรือไม่

4 มกราคม 2555 · ชอบ  (10)
  • น้องมิว
  • ked201115
  • pimnaka
  • พริกขี้หนู
  • Blue Rose
  • และเพื่อน ๆ อีก 5 คน ชอบสิ่งนี้
· แสดงความคิดเห็น (14) · อ่าน (248,766)
1,026

SHARES


1,026 shares
Dogilike.com :: ยาพาราใช้กับน้องหมาได้หรือไม่ไปหาคำตอบกัน ...

     ตั้งแต่ช่วงหน้าฝน เลยมาจนถึงช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาซึ่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่น้องหมาของเราจะมีอาการป่วยไม่สบายเนื่องจากเป็น "ไข้หวัดสุนัข" ... สำหรับน้องหมาที่ป่วยเป็นไข้หวัดสุนัขนั้นจะมีอาการไอ จาม มีน้ำมูก บางตัวอาจจะหายใจลำบาก เพราะน้ำมูกอุดตันทางเดินหายใจถ้าเป็นมากๆ อาจจะเกิดอาการปอดอักเสบ หรือเรียกอีกอย่างว่าปอดบวมได้ค่ะ

     หลายคนมีความเข้าใจว่าหากน้องหมามีอาการป่วยเป็นหวัด สามารถให้กินยาพาราเซตามอลได้ แต่เพื่อนๆ ทราบรึเปล่าคะว่า นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดมหันต์เลยทีเดียวค่ะ!!! ... การให้ยาพาราเซตามอลกับน้องหมานั้นถือว่าเป็นอันตรายมากๆ ถ้าหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดสภาวะเป็นพิษ (แพ้ยา) จากตัวยาดังกล่าวจนเกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว!!

Dogilike.com :: ยาพาราใช้กับน้องหมาได้หรือไม่ไปหาคำตอบกัน ...

     ... สำหรับยาพาราเซตามอล (paracetamol) หรือ acetaminophen เป็นยาระงับปวดและลดไข้ที่ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ตั้งแต่ พ.ศ.2436 แต่ได้รับความนิยมเมื่อ 50 ปีหลังจากนั้น ยาพาราเซตามอลเป็นยาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในคน เนื่องจากยาพาราเซตามอลนั้นมีข้อดีกว่าแอสไพรินตรงที่ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะ และไม่มีผลต่อการเกาะตัวของเกล็ดเลือด จึงไม่ทำให้เกิดแผลหลุมในกระเพาะและไม่ทำให้การแข็งตัวของเลือดเสียไป แต่อย่างไรก็ตามพาราเซตามอลไม่มีผลในการลดอักเสบเหมือนแอสไพริน ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ในการลดการอักเสบของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อหรือข้ออักเสบได้

     ในปัจจุบันยาพาราเซตามอลนั้น เป็นหนึ่งในยาสามัญประจำบ้านที่เราสามารถหาซื้อได้ทั่วไปโดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ทำให้คนนิยมใช้ในการรักษาอาการต่างๆ เพราะง่ายต่อการหยิบมาใช้และส่วนใหญ่มักมีความคิดว่าเป็นยาที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งความเข้าใจนี้อาจเป็นจริงถ้าใช้ยาพาราเซตามอลกับคนและใช้ในขนาดที่แพทย์แนะนำเท่านั้น แต่ถ้าหากนำมาใช้ในสัตว์เลี้ยงอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เพราะในสัตว์นั้นจะไวต่อความเป็นพิษจากพาราเซตามอล

Dogilike.com :: ยาพาราใช้กับน้องหมาได้หรือไม่ไปหาคำตอบกัน ...

     สำหรับปริมาณการให้ยาพาราเซตามอลที่เหมาะสมในสุนัขก็คือ 10 มก./กก. กินทุก 12 ชั่วโมง (แต่ถ้าเป็นไปได้ควรให้เพียงครั้งเดียวจะดีกว่าค่ะ) ถ้าเป็นยาพาราเซตามอลแบบเม็ดโดยทั่วไปจะมีปริมาณยาใน 1 เม็ด คือ 500 มก. ดังนั้นยาพาราเซตามอล 1 เม็ด จึงสำหรับป้อนสุนัขหนักถึง 50 กก.

     ส่วนปริมาณการใช้พาราเซตามอลที่รายงานว่าก่อให้เกิดความเป็นพิษในสุนัขที่ก่อนป้อนยาแล้วตับยังทำงานปกตินะคะคือ 45 มก./กก แต่ถ้าน้องหมาตัวนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับตับอยู่แล้ว ปริมาณยาพาราเซตามอลที่น้อยกว่านี้ก็อาจก่อความเป็นพิษได้

    อาการเป็นพิษจากยาพาราเซตามอลในสัตว์เลี้ยงนั้น เกิดขึ้นจากการที่ในตับของสัตว์ไม่มี glucuronide มากพอที่จะขจัดพิษของยาชนิดนี้ในหมดฤทธิ์ได้หมด จึงมีผลให้เกิดการทำลายตับขึ้น และพิษของมันยังก่อให้เกิดพิษต่อร่างกายส่วนอื่นๆอีก เช่น มีการทำลายเม็ดเลือดแดงจนทำให้เม็ดเลือดแดงเปลี่ยนสภาพไปไม่สามารถขนถ่ายออกซิเจนได้อย่างปกติ สีของเลือดจะเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลช็อกโกแลต มีผลทำให้เกิดอาการซึม อาเจียน ปัสสาวะมีสีน้ำตาลแดง หน้าบวม เหงือกบวมและจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง น้ำลายไหนยืด ซึ่งจะเกิดอาการให้เห็นภายใน 1-2 ชม หลังจากป้อนยาให้กับสัตว์ อาการที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ชัดในแมว และที่สำคัญพิษของยาอาจจะทำให้แมวเสียชีวิตได้ภายใน 18-36 ชั่วโมงเลยทีเดียว

     ส่วนในน้องหมานั้น อาการเป็นพิษยาอาจไม่รุนแรงเท่าในแมวแต่ถ้าหากได้รับยาในปริมาณที่มากเกินไปติดต่อกันก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน โดยน้องหมาืัที่พี่อาการเป็นพิษจากยาจะมีอาการซึมมาก อาเจียน ปวดท้อง ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้น และถ้าหากไม่รีบพาไปพบสัตว์แพทย์ก็อาจเสียชีวิตได้ใน 2-4 วัน

Dogilike.com :: ยาพาราใช้กับน้องหมาได้หรือไม่ไปหาคำตอบกัน ...

     สิ่งสำคัญที่เราควรจะทราบก็คือ เมื่อเราพบว่าสัตว์เลี้ยงของเรามีอาการเป็นพิษจากยาพาราเซตามอล เราควรจะพาไปพบสัตวแพทย์โดยทันทีหรืออาจช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อน โดยถ้าสัตว์เลี้ยงได้รับยาเข้าไปไม่เกิน 2 ชั่วโมง ให้เราใช้วิธีทำให้สัตว์เลี้ยงอาเจียนด้วยการป้อนเกลือแกงประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะหรือ ป้อนผงถ่านหรือ actived charcoal เพื่อช่วยในการดูดซึม หรืออาจต้องให้น้ำเกลือหรือออกซิเจน ถ่ายเลือดตามความจำเป็น และตามที่สัตวแพทย์ผู้รักษาแนะนำ

     ทั้งนี้ สำหรับการใช้ยาพาราเซตามอลในสุนัขนั้น สัตวแพทย์ได้ให้คำแนะนำว่า สามารถใช้ยาดังกล่าวกับสุนัขได้ในปริมาณที่กำหนด แต่ทางที่ดีที่สุด ถ้าหากสุนัขมีอาการป่วย ควรพาไปพบสัตวแพทย์มากกว่าที่จะให้ยารักษาเอง เพราะอาจรักษาไม่ตรงโรคหรือให้ยาในปริมาณที่มากเกินไปจนทำให้สุนัขได้รับอันตรายได้

 


บทความโดย: Dogilike.com
 
ข้อมูลอ้างอิงบางส่วน:
http://www.vet.chula.ac.th/
http://www.thonglorpet.com/

ภาพประกอบ:
http://atcloud.com/stories/66578
http://www.lovedogshop.com/index.php?option=com_content&view=article&id=8&Itemid=15