โดย: พริกขี้หนู
วิธีทำเรกิเต็มรูปแบบ สัมผัสบำบัด เพื่อน้องหมาสุดรัก [ตอนที่ 4]
การทำเรกิไม่ใช่แค่การวางมือ แต่ยังมีวิธีการสร้างขุมพลังงานที่ดีที่ดีให้น้องหมาผ่อนคลายค่ะ
25 กันยายน 2555 · · อ่าน (12,647)จากบทความตอนที่แล้ว พริกได้อธิบายวิธีการวางมือเพื่อทำสัมผัสบำบัดให้น้องหมา เพื่อนๆ ลองเอาไปทำกับน้องหมากันบ้างหรือยังคะ ถ้ารู้สึกว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นเหมือนกับแค่การวางมือลงไปบนตัวเฉยๆ บทความครั้งนี้จะมาบอกวิธีการมอบพลังเรกิให้น้องหมาอย่างเต็มขั้นตอนให้เพื่อนๆ ได้รู้กัน มีบทความให้อ่านและคลิปวิดีโอให้ดูค่ะ ซึ่งการทำเรกิกับน้องหมาครั้งแรกๆ เขาอาจจะยังไม่พร้อมรับ บางตัวใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่ต้องเครียดหรือกังวลนะคะ เพราะเขายังไม่ชินกับพลังงานที่ผ่านเข้ามา ต้องทำให้เขาบ่อยๆ จนเขาค่อยๆ วางใจและรู้สึกผ่อนคลายเมื่อรับเรกิค่ะ
การทำเรกิฉบับเต็มรูปแบบครั้งนี้มีน้องมีมี่สุดหล่อ มารับการทำเรกิเป็นครั้งแรก ซึ่งการทำเรกิแต่ละครั้งล้วนเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ต้องเรียนรู้ทั้งตัวเราและน้องหมาค่ะ ดังนั้นเราจึงต้องคำนึงถึง 4 สิ่งดังต่อไปนี้เป็นพิเศษ
การกำหนดสมาธิ (Focus) ถึงแม้ว่าเรกิจะเป็นการวางมือลงบนร่างกาย แต่การเพ่งสมาธิไม่ได้อยู่ที่มือนะคะ แต่จะอยู่ที่ตัวเราค่ะ คือให้เรามีสมาธิ จินตนาการว่าพลังเรกิหรือพลังธรรมชาติกำลังผ่านร่างกาย จิต ใจ และจิตวิญญาณ และพื้นที่รอบๆ ตัวที่ ค่อยๆไหลออกจากฝ่ามือ บางคนอาจจะจิตนาการเป็นออร่าสีต่างๆ ตามสีประจำของแต่ละจักระ ซึ่งการกำหนดสีในจินตาการจะช่วยให้เห็นพลังงานที่ไหลผ่านหรืออยู่รอบตัวเราเป็นรูปธรรม เพื่อง่ายต่อการกำหนดสมาธิ วิธีนี้ช่วยได้มากสำหรับคนที่สมาธิหลุดง่ายค่ะ
การสัมผัส (Touching) การทำเรกิต่างจากการนวดตรงที่ไม่ต้องใช้แรงกด เพียงแค่วางมือเบาๆ เคลื่อนมือให้น้อยที่สุด ผ่อนคลายนิ้ว นอกจากนี้เรายังต้องคอยสังเกตภาษากายของน้องหมาด้วยว่าเขารู้สึกอย่างไร ผ่อนคลายหรือไม่ ถ้าเขานิ่งแสดงว่าเขารู้สึกสบายตัวเมื่อได้รับเรกิ แต่ถ้าเขาเดินหนี เดินออกห่าง หรือสะบัดตัวอย่างรำคาญ ก็เคลื่อนมือออกห่างเขามากขึ้น แต่ยังคงอยู่ในสมาธิ เป็นการให้เรกิระยะไกล โดยไม่ต้องสัมผัส ซึ่งน้องหมาบางตัวก็ชอบรับเรกิรูปแบบนี้มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะน้องหมาที่ยังไม่คุ้นเคยกับผู้ที่ให้เรกิ หรือน้องหมารุ่นเยาว์ เพราะพวกเขาจะตื่นตัว อยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด และ รำคาญง่ายกว่าน้องหมาที่โตแล้ว
ตำแหน่งการวางมือ (Position) จากที่ได้อธิบายไปในบทความตอนที่แล้ว คือเริ่มจากบริเวณไหล่ไล่ลงมาเรื่อยๆ จนถึงบริเวณสะโพก แต่เมื่อถึงเวลาทำเรกิจริงๆ สถานการณ์เฉพาะหน้าจะเป็นตัวบอกเราอีกทีว่า เราควรจะเริ่มด้วยตำแหน่งไหน โดยผู้ที่ตัดสินใจคือน้องหมาค่ะ หลายครั้งที่น้องหมาจะหันตำแหน่งอื่นบนร่างกายให้เราเอง เช่น หันบริเวณสะโพกมาตรงมือเรา หรือ เวลาเราวางมือไว้ตำแหน่งไหล่ พอจะเลื่อนมาที่ท้อง เขาก็จะมีอาการไม่สบายตัว นั่นแสดงว่าเขาต้องการให้เราทำเฉพาะบริเวณไหล่ค่ะ สิ่งที่เราต้องทำคือ ทำตามความพึงพอใจของเขา เช่นเดียวกับการทำเรกิให้คน เราจะถามก่อนทุกครั้งว่า ให้ทำเรกิตำแหน่งไหน วางตรงนี้อึดอัดหรือไม่ ถ้าอึดอัด เราก็จะต้องเปลี่ยนตำแหน่งหรือกลับไปยังตำแหน่งที่เขาสบายตัวสบายใจค่ะ
การนั่งหรือยืน (Grounding) เราสามารถนั่งหรือยืนทำเรกิก็ได้ค่ะ แต่สิ่งสำคัญคือ เท้าของเราต้องอยู่ติดที่พื้น หรือถ้านั่งบนโซฟาหรือเตียง เราก็จะต้องจินตนาการวางตัวเราเชื่อมต่อกับพื้นโลกค่ะ เพราะการวางเท้าลงกับพื้นจะช่วยเก็บพลังงานและป้องกันพลังงานในตัวเราไม่ให้เลือนหายหรือหลุดลอยหายไปค่ะ
การนั่งหรือยืน (Grounding) เราสามารถนั่งหรือยืนทำเรกิก็ได้ค่ะ แต่สิ่งสำคัญคือ เท้าของเราต้องอยู่ติดที่พื้น หรือถ้านั่งบนโซฟาหรือเตียง เราก็จะต้องจินตนาการวางตัวเราเชื่อมต่อกับพื้นโลกค่ะ เพราะการวางเท้าลงกับพื้นจะช่วยเก็บพลังงานและป้องกันพลังงานในตัวเราไม่ให้เลือนหายหรือหลุดลอยหายไปค่ะ
เตรียมความพร้อมกันมาหลายตอนแล้ว ตอนนี้ก็มาถึงขั้นตอนการทำเรกิให้น้องหมา ว่าตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มแรกจนถึงขึ้นตอนสุดท้ายตามวิธีของการทำเรกิจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร เผื่อเพื่อนๆ จะลองนำเอาไปทำหรือปรับใช้กับน้องหมาสุดที่รักค่ะ แต่ก่อนเริ่มทำเรกิ เพื่อนๆ ควรถอดเครื่องประดับ หรือเข็มขัดที่มีเงิน หรือ อะลูมิเนียมต่างๆ เป็นส่วนประกอบ เพราะวัสดุเหล่านี้จะขัดขวางการส่งผ่านพลังงานที่ดีและบริสุทธิ์เขาสู่ร่างกายค่ะ
วิธีการทำเรกิให้น้องหมา ฉบับสมบูรณ์
ขั้นที่ 1 : เตรียมตัวด้วยการนั่งสมาธิ
เตรียมตัวให้เรกิด้วยการนั่งสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ ปล่อยวาง และว่าง ประมาณ 20 - 40 นาที เป็นการใช้เวลาอยู่กับตัวเองเพื่อเชื่อมต่อกับพลังงานภายในตัวเองและพลังธรรมชาติหรือ พลังเรกิ
เตรียมตัวให้เรกิด้วยการนั่งสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ ปล่อยวาง และว่าง ประมาณ 20 - 40 นาที เป็นการใช้เวลาอยู่กับตัวเองเพื่อเชื่อมต่อกับพลังงานภายในตัวเองและพลังธรรมชาติหรือ พลังเรกิ
ขั้นที่ 2 : ขออนุญาตน้องหมาเพื่อสอบถามความสมัครใจ
ทักทายน้องหมา และขออนุญาตทำเรกิ จะขอในใจหรือออกเสียงก็ได้ค่ะ แต่ทั่วไปแล้วจะขอในใจ เช่นเดียวกับเวลาทำเรกิให้กับคน เราจะต้องถามความสมัครใจของผู้รับก่อนว่าเขาต้องการหรือไม่ เพราะเรกิจะได้ผลดีหากผู้รับพร้อมรับเรกิ ดังนั้น การขออนุญาตน้องหมาถือว่าเป็นกระบวนการสอบถามความสมัครใจ เราเพียงหงายมือวางไว้บนหน้าตัก ถ้าเขาพร้อมจะรับ เขาก็จะไม่เดินหนีไปไหน อาจอยู่ห่างๆ หรือบางตัวอาจจะเดินเข้ามาหาและนั่งรอตรงหน้าค่ะ
ขั้นที่ 3 : สังเกตอาการน้องหมา
ช่วงขณะที่น้องหมากำลังตัดสินใจ เขาอาจจะเดินไปเดินมา ไม่อยู่นิ่ง ผู้ที่ให้เรกิยังคงอยู่ในสมาธิ มอบความรักความเมตตาและพลังงานที่ดีให้เขาต่อไป ด้วยการรับรู้ถึงพลังงานที่ผ่านเข้ามาและอยู่รอบๆ ตัวเรา บางทีเขาอาจเปลี่ยนใจ ต้องให้เวลาเขาหน่อยค่ะ
ในกรณีที่น้องหมาปฏิเสธรับเรกิ ก็ให้ทำใจยอมรับ ขอบคุณน้องหมา ที่เปิดการรับรู้และเชื่อมโยง แม้เขาไม่ต้องการก็ตาม ซึ่งในบางครั้งการเปิดใจให้กว้างและการยอมรับนี้เอง เป็นส่วนช่วยให้พลังงานของเราสงบและเปิดกว้างขึ้นคล้ายกับการแผ่เมตตาจิต จนน้องหมาสามารถรับรู้ได้ และเปิดโอกาสให้เราได้ทำเรกิต่อ แม้จะในระยะห่างก็ตาม ซึ่งในการส่งเรกิระยะห่างหรือระยะไกลนั้น เราจะทำได้โดยการหลายมือบนหน้าตัก หรือหันฝ่ามือไปทางทิศทางที่เขาอยู่ กำหนดสมาธิเราไปยังน้องหมา ส่งผ่านความรู้สึก ความรักและเมตตา การทำงานของการเพ่งสมาธิลักษณะคล้ายกับการส่งความคิดถึงไปให้คนคนหนึ่ง ถึงแม้จะอยู่ไกล แต่อีกฝ่ายก็สามารถรับได้ค่ะ
ขั้นที่ 4 : การวางมือทำเรกิ
การเริ่มต้นวางมือลงบนตัวน้องหมาในแต่ละครั้งและแต่ละตัว ปฏิกริยาน้องหมาจะไม่เหมือนกัน บางตัวยังไม่คุ้นก็จะรู้สึกอึดอัด หรือ รำคาญ รู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านรอบตัว เราจึงควรให้เรกิในระยะห่างจากลำตัวก่อน เมื่อน้องหมาเริ่มนิ่งจึงค่อยๆ เข้าใกล้วางมือลงบนตัวเขาเบาๆ ค่ะ
เมื่อเราวางมือลงบนตัวน้องหมา บริเวณฝ่ามือเราจะเกิดความรู้สึกในรูปแบบต่างๆ ตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน บางคนรู้สึกคันยิบๆ บางคนจะรู้สึกร้อน หรือมีพลังงานความหนาแน่นหน่วงอยู่ที่ฝ่ามือ อย่างไรก็ตาม สมาธิของเราไม่ควรจดจ่ออยู่กับที่ฝ่ายมือนานจนเกินไป เพราะจะเป็นการหันเหความสนใจออกไปจากการส่งผ่านพลังเรกิที่อยู่ภายในตัวเราค่ะ
ส่วนตำแหน่งการวางมือ พริกได้อธิบายไว้ในบทความที่แล้ว (ลงมือปฏิบัติ!!! เรกิ สัมผัสบำบัดให้น้องหมา [ตอนที่ 3] ) ว่าตำแหน่งไหล่เป็นตำแหน่งแรกของการทำเรกิให้น้องหมา การวางมือจะเริ่มต้นที่ตำแหน่งนี้เสมอค่ะ แต่ถ้าเขาปฏิเสธตำแหน่งนั้น ลองปล่อยให้เขาเคลื่อน หรือขยับหาตำแหน่งด้วยตัวเอง เขาอาจนอนหงายให้ทำบริเวณท้อง หรือหันช่วงสะโพกให้เราทำ หรือเดินออกห่างจากเรา เพื่อให้เรกิในระยะไกล ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงต้องคอยสังเกตดูภาษากายน้องหมา และทำความเข้าใจอย่างที่เขาเป็น
วางมือตำแหน่งท้อง
วางมือตำแหน่งสะโพก
การวางมือบนตัวน้องหมา นอกจากที่ได้บอกไปในบทความที่แล้ว ยังมีการวางมือวิธีอื่นอีก คือ มือหนึ่งวางบนหลังสุนัข อีกมือวางไว้ที่ตักคล้ายทำสมาธิ ซึ่งในระหว่างการให้เรกิ สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุด คือเราต้องรู้สึกผ่อนคลาย มีสมาธิ ถ้ามี ความคิด หรือความสนใจอย่างอื่นผ่านเข้ามา จะขัดขวางการส่งพลังเรกิให้ผู้รับในทันที
ขณะให้เรกิ น้องหมาอาจจะลุกขึ้นยืน หรือหาที่นั่งใหม่ห่างจากเราก็ได้ค่ะ ไม่ต้องกังวล ปล่อยให้เขาผ่อนคลายในแบบของเขา ส่วนตัวเราก็ผายมือออกวางประสานบนหน้าตัก ส่งเรกิระยะไกลให้ต่อไปค่ะ เมื่อเขาพร้อมและต้องการการเชื่อมต่อกับเราโดยการสัมผัสอีก เขาจะเดินกลับมาหาเราเองค่ะ
ขั้นที่ 5 : จบด้วยการ "ขอบคุณ"
การจบการทำเรกิแต่ละครั้ง เราสามารถรู้ได้เมื่อน้องหมาดูตื่นตัวมากขึ้น หยอกล้อ หรือเลียมือ เป็นการแสดงคำขอบคุณ ซึ่งเรกิจะทำให้เราเชื่อมต่อ ผูกพัน และสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้แก่น้องหมามากขึ้น เนื่องจากมีการถ่ายโอนพลังงานของกันและกัน ได้เปิดใจรับรู้และรับฟังความต้องการของเขาอย่างแท้จริง และสิ่งที่เราต้องไม่ลืมหลังจากทำเรกิทุกครั้งคือ ขอบคุณ อย่างที่บอกไว้ในเรกิ สัมผัสบำบัดตอนที่ 2 เรื่องหลัก 5 ข้อ ของเรกิ ว่าการขอบคุณหรือการสำนึกบุญคุณเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ เพราะเป็นช่วงที่เราได้สำนึกในคุณค่าของประสบการณ์และสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ดังนั้นทั้งการเริ่มต้นและการจบการทำเรกิ เราก็จะระลึกถึงเรกิที่ช่วยเหลือในกระบวนการการเยียวยารักษาและ ขอบคุณน้องหมาที่ให้ความร่วมมือ ร่วมแบ่งปันพลังงาน และประสบการณ์ จะพูดออกเสียงหรือจะพูดในใจก็ได้ค่ะ
การจบการทำเรกิแต่ละครั้ง เราสามารถรู้ได้เมื่อน้องหมาดูตื่นตัวมากขึ้น หยอกล้อ หรือเลียมือ เป็นการแสดงคำขอบคุณ ซึ่งเรกิจะทำให้เราเชื่อมต่อ ผูกพัน และสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้แก่น้องหมามากขึ้น เนื่องจากมีการถ่ายโอนพลังงานของกันและกัน ได้เปิดใจรับรู้และรับฟังความต้องการของเขาอย่างแท้จริง และสิ่งที่เราต้องไม่ลืมหลังจากทำเรกิทุกครั้งคือ ขอบคุณ อย่างที่บอกไว้ในเรกิ สัมผัสบำบัดตอนที่ 2 เรื่องหลัก 5 ข้อ ของเรกิ ว่าการขอบคุณหรือการสำนึกบุญคุณเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ เพราะเป็นช่วงที่เราได้สำนึกในคุณค่าของประสบการณ์และสิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ดังนั้นทั้งการเริ่มต้นและการจบการทำเรกิ เราก็จะระลึกถึงเรกิที่ช่วยเหลือในกระบวนการการเยียวยารักษาและ ขอบคุณน้องหมาที่ให้ความร่วมมือ ร่วมแบ่งปันพลังงาน และประสบการณ์ จะพูดออกเสียงหรือจะพูดในใจก็ได้ค่ะ
อันที่จริงแล้ว การทำเรกิให้น้องหมาแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องทำครบตั้งแต่ขั้นตอนแรกก็ได้ค่ะ อย่างนั่งเล่นกับน้องหมาก็สามารถวางมือลงนิ่งๆ ส่งความรักให้ก็ได้ค่ะ เรกิเปิดกว้างไม่มีถูกผิด สำคัญอยู่ที่สมาธิกับความรู้สึกดีๆที่เราต้องการมอบให้ แต่ถ้าเพื่อนๆอยากลองทำตามขั้นตอน จะดีมากๆค่ะ เพราะการเริ่มทำตั้งแต่การนั่งสมาธิช่วยให้เราได้พัฒนาตัวเองในด้านของสภาวะอารมณ์ รวมถึงการเชื่อมต่อกับตัวตนภายใน อีกทั้งยังช่วยให้น้องหมาได้รับพลังงานที่ดี รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยในเรื่องการเยียวยารักษาอาการบาดเจ็บได้อีกด้วย ในบทความครั้งต่อๆไปจะเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาการบำบัดรักษาน้องหมาด้วยเรกิตามอาการเฉพาะจุด ไม่ว่าจะจากการบาดเจ็บ ไม่สบาย รวมทั้งพฤติกรรมก้าวร้าว หรือซึมเศร้า ดังนั้นใครที่มีน้องหมาเข้าข่ายอาการอย่างที่บอกไป ต้องไม่พลาดนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ ^^
บทความโดย : Dogilike.com
ข้อมูลอ้างอิง:
หนังสือ Reiki for Dogs เขียนโดย Kathleen Prasad
http://www.spiritweaverjourneys.com/page.php?id=16&pid=8
http://www.astrolovemates.com/tour/dog-reiki.asp
SHARES