โดย: Candyx

ไขข้อข้องใจ! อาบน้ำอย่างไร (สุนัข) ก็ยังตัวเหม็น

เรียนรู้สาเหตุการเกิดกลิ่นและการป้องกันอย่างถูกวิธี

9 มิถุนายน 2558 · · อ่าน (100,666)
1,801

SHARES


1,801 shares

     สำหรับคนรักสุนัขแล้ว แน่นอนว่า ทุกคนต่างก็อยากให้สุนัขของตัวเองมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ เป็นที่รักของทุกคน แต่หลาย ๆ ครั้งก็มักจะพบว่า ในสุนัขบางตัวมีปัญหาเรื่องกลิ่นตัว กลิ่นสาบ ที่ถึงแม้ผู้เลี้ยงจะดูแลรักษาความสะอาด อาบน้ำให้กับสุนัขอย่างสม่ำเสมอแล้ว แต่สุนัขก็ยังมีปัญหาเรืองกลิ่นตัวที่เหม็นอยู่ และในบางครั้งกลิ่นตัว กลิ่นสาบของน้องหมาก็ยังไปติดตามเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ทำให้บ้านมีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ตามไปด้วย  ...  หลายคนอาจทราบว่า เรามีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของเฟอร์นิเจอร์ที่สุนัขมักไป นอนหรือแสดงความเป็นเจ้าของอาณาเขตด้วยการใช้กลิ่นของตัวเอง ในเวลาเร่งด่วนก่อนที่จะมีแขกมาเยือน เพียงแค่ใช้ผลิตภัณฑ์ขจัดกลิ่นบนผ้ามาสเปรย์ลงบนโซฟา ผ้าม่านไว้ซัก 15-20 นาที เท่านี้ก็สามารถขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์และพร้อมรับแขกได้ ใครมีสุนัขติดบ้านไว้เถอะค่ะ ผลิตภัณฑ์ขจัดกลิ่นผ้าแอมบิเพอร์ เอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินหรือใช้เป็นประจำก็ได้

     แต่นอกจากนี้ปังปอนด์อยากชวนเพื่อน ๆ มาทำความเข้าใจและเรียนรู้ถึงสาเหตุของการเกิดกลิ่นตัวในสุนัข การกำจัดกลิ่นตัวสุนัขอย่างถูกต้อง เมื่อผนวกกับการเข้าใจและทราบวิธีป้องกันการเกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ภายใน บ้าน ทุกคนก็จะไม่ต้องหงุดหงิดหรือกังวลใจแต่อย่างใด
 

ทำไมอาบน้ำให้สุนัขแล้ว ยังมีกลิ่นตัวเหม็นอยู่?
 

Dogilike.com :: ไขข้อข้องใจ! อาบน้ำอย่างไร (สุนัข) ก็ยังตัวเหม็น
 

     เป็นคำถามที่ผู้เลี้ยงสุนัขหลายๆ คนยังคงสงสัยและยังตามหาคำตอบกันอยู่ว่า ทำไมสุนัขยังมีกลิ่นตัวเหม็นอยู่ ถึงแม้ผู้เลี้ยงจะอาบน้ำให้แล้วก็ตาม ... ซึ่งต้องขอบอกเลยค่ะว่า สาเหตุที่สุนัขยังคงมีกลิ่นตัวที่เหม็นอยู่ถึงแม้จะอาบน้ำให้แล้วนั้น เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น สุนัขมีปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปากและฟัน (สุนัขมีหินปูน แบคทีเรียในช่องปาก เมื่อสุนัขเลียทำความสะอาดลำตัวซึ่งเป็นพฤติกรรมธรรมชาติจึงทำให้เกิดกลิ่นเหม็นไปทั่วลำตัว) สุนัขมีปัญหาสุขภาพช่องหู (หูอักเสบ มีขี้หู) มีความชื้นในอากาศสูง เกิดจากวิธีการเลี้ยงดูสุนัขของผู้เลี้ยง พันธุกรรม พฤติกรรมซุกซนของสุนัข ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นตัวแปรสำคัญส่งผลให้เกิดเกิดความอับชื้น ทำให้เกิดกลิ่นตัวและโรคผิวหนังในสุนัขค่ะ

     โดยเฉพาะในสุนัขที่มีลักษณะใบหูพับตกลงมา หรือสุนัขพันธุ์หน้าสั้นที่มีรอยพับรอยย่นบนใบหน้าและลำตัวค่อนข้างเยอะ เช่น ปั๊ก, เฟรนช์ บูลด็อก, อิงลิช บูลด็อก, บ๊อกเซอร์, ชาเป่ย ฯลฯ ซึ่งรอยพับย่นเหล่านี้เป็นแหล่งหมักหมมสิ่งสกปรกต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกันกับสุนัขที่มีน้ำตามากที่มักจะไหลมาสะสมบริเวณร่องใต้ตาจนกลาย เป็นคราบน้ำตาสีน้ำตาลแดง ซึ่งเกิดจากเชื้อยีสต์ชนิด Red Yeast ที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เปียกชื้นเมื่อเกิดการสะสม โดยเชื้อยีสต์จะทำปฏิกิริยาก่อให้เกิดคราบสีแดงเข้มอมน้ำตาลเกาะที่ขนใต้ตา ทำให้ผิวหนังบริเวณใบหน้าของสุนัขเกิดการอักเสบ ติดเชื้อแบคทีเรียและเกิดเชื้อราได้ง่าย รวมถึงเรื่องของความชื้น ความร้อน และการเสียดสีกันของผิวหนัง ก็เป็นสาเหตุของการเกิดผิวหนังอักเสบ เกิดกลิ่นเหม็น และเป็นโรคผิวหนังในสุนัขได้ หากไม่ได้รับการดูแลทำความสะอาดอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอจากผู้เลี้ยงค่ะ

     ดัง นั้น ผู้เลี้ยงจึงต้องใส่ใจดูแลสุนัข ไม่เพียงแต่การดูแลเรื่องการอาบน้ำเท่านั้น แต่ผู้เลี้ยงจะต้องใส่ใจรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อป้องกันและขจัดปัญหากลิ่นตัวสุนัขให้หมดไป ให้สุนัขกลับมาตัวหอม น่ากอดเหมือนตอนยังเป็นลูกสุนัขที่แสนน่ารักกันนะคะ ^_^
 

5 เทคนิคการป้องกันและกำจัดกลิ่นตัวในสุนัข


1.สังเกตอวัยวะต่าง ๆ ของสุนัขอย่างสม่ำเสมอ

     ถือเป็นการช่วยป้องกันการเกิดกลิ่นตัวในสุนัขได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ สำหรับ การหมั่นสังเกต ตรวจดูอวัยวะต่าง ๆ ที่เป็นต้นเหตุของการเกิดกลิ่นตัวสุนัข เช่น ช่องปาก ช่องหู ผิวหนัง ต่อมก้นของสุนัข อย่างสม่ำเสมอ โดยแนะนำว่า ให้ผู้เลี้ยงใช้วิธีจับสุนัขขึ้นมานั่งหรือนอนบนโต๊ะในท่าที่สุนัขสะดวก แล้วตรวจดูช่องปาก ช่องหู และผิวหนังของสุนัขว่า ช่องปากของสุนัขมีคราบหินปูนไหม ช่องหูของสุนัขมีขี้หูเกรอะกรัง หรือผิวหนังของสุนัขตามอวัยวะจุดสำคัญๆ ที่มักเกิดปัญหาผิวหนังที่ทำให้เกิดกลิ่นตัวได้ง่าย เช่น ใบหน้า ต้นคอ ลำตัว หาง อวัยวะเพศในสุนัขเพศเมีย ว่ามีผื่น รอยแดง มีหนอง หรือสุนัขเกาผิวหนังหรือไม่ ซึ่งการสังเกตดูอวัยวะส่วนต่างๆ ของสุนัขจะช่วยให้ผู้เลี้ยงสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับสุนัข ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถเตรียมรับมือป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับสุนัขได้อย่างทันท่วงทีค่ะ ...

     โดยถ้าหากผู้เลี้ยงพบความผิดปกติเกิดขึ้นในช่องปาก ช่องหู หรือบนผิวหนังของสุนัข แนะนำให้ผู้เลี้ยงพาสุนัขไปตรวจและขอคำปรึกษาจากสัตวแพทย์จะดีที่สุด ไม่ควรรักษาด้วยตัวเองเพราะอาจทำให้อาการของสุนัขที่เป็นอยู่ลุกลามจนยากต่อ การรักษา โดยเฉพาะเมื่อพบความผิดปกติที่ผิวหนังของสุนัขพันธุ์ที่มีลักษณะผิวหนังเป็น รอยยับย่น ผู้เลี้ยงก็ยิ่งต้องพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ทันทีเพราะปัญหาผิวหนังของสุนัขที่ มีรอยย่น มักจะลุกลามได้ง่าย รวดเร็ว และมักจะใช้เวลาในการรักษานานกว่าสุนัขทั่วไปที่มีผิวหนังเรียบเนียนค่ะ



2.เลือกใช้แชมพู สูตรสมุนไพร/ดับกลิ่นสาบ
 

Dogilike.com :: ไขข้อข้องใจ! อาบน้ำอย่างไร (สุนัข) ก็ยังตัวเหม็น


     การดูแลรักษาความสะอาดร่างกายให้กับสุนัขอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ผู้เลี้ยงไม่ควรมองข้ามเลยค่ะ เพราะการดูแลความสะอาดร่างกายสุนัขเป็นประจำ เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดและป้องกันการเกิดกลิ่นตัว และโรคผิวหนังในสุนัขได้เป็นอย่างดี ...

     ในสุนัขที่มีปัญหาเรื่องมีกลิ่นสาบ หรือมีกลิ่นตัวแรงเป็นพิเศษ แนะนำให้ผู้เลี้ยงอาบน้ำให้กับสุนัขอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง โดยอาจจะต้องเลือกเปลี่ยนจากการใช้แชมพูสูตรธรรมดามาใช้ผลิตภัณฑ์แชมพูสูตร สำหรับสุนัขมีกลิ่นสาบ หรือแชมพูสูตรสมุนไพรที่มีสารสกัดธรรมชาติที่อ่อนโยนต่อผิวหนังที่บอบบางของ สุนัข เช่น น้ำมันมะกอก ที่ช่วยบำรุงผิวบำรุงเส้นขนให้เงางาม สารสกัดจากเปลือกสน ที่ช่วยกระตุ้นต่อมไขมันให้สร้างน้ำมันออกมาเคลือบเส้นขนและผิวหนังให้ชุ่มชื้นได้มากขึ้น ว่านหางจระเข้ ช่วยต้านการอักเสบและฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย และยีสต์ รวมถึงทุกครั้งหลังจากสุนัขอาบน้ำเสร็จ ผู้เลี้ยงต้องใช้ไดร์เป่าขนสุนัขจนแห้งสนิท ไม่ควรปล่อยให้ขนสุนัขแห้งเอง เพราะจะทำให้ขนจับตัวเป็นกลุ่มก้อน เกิดความอับชื้น เกิดกลิ่น และโรคผิวหนังในสุนัขได้ค่ะ

     หรืออาจจะเลือกใช้วิธีการกำจัดกลิ่นสาบสุนัขที่คนรักสุนัขหลาย ๆ คนนิยมใช้กับสุนัขที่มีปัญหาเรื่องสุนัขมีกลิ่นตัว กลิ่นสาบ ด้วยการนำมะกรูดที่มีอยู่ในครัวเรือนมาเป็นตัวช่วย โดยใช้แชมพูปกติอาบให้สุนัข 1 รอบ แล้วตามด้วยน้ำมะกรูดสดผสมน้ำอาบตาม ซึ่งวิธีนี้จะช่วยกำจัดกลิ่นสาบของสุนัขได้ดีทีเดียวค่ะ นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงก็อย่าลืมบีบต่อมก้นให้สุนัขเพื่อลดการเกิดกลิ่นตัวในสุนัขกันด้วย นะคะ (อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ เทคนิคง่าย ๆ กับการบีบต่อมก้นให้สุนัข)



3.ทำความสะอาด กรง เบาะนอนเป็นประจำ

     นอกจากที่ผู้เลี้ยงจะใส่ใจดูแลทำความสะอาดร่างกายของสุนัขที่มีปัญหาเรื่อง มีกลิ่นตัวเหม็นอย่างสม่ำเสมอแล้ว การดูแลทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัย เช่น กรง เบาะนอนของสุนัขก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน ... ลองคิดดูสิคะว่า ถ้าหากสุนัขนอนบนเบาะที่ไม่เคยทำความสะอาด เต็มไปด้วยเส้นขน คราบขี้ไคล ฉี่ ฝุ่น สิ่งสกปรกต่าง ๆ หมักหมมเป็นเวลานานก็อาจทำให้สุนัขเกิดกลิ่นตัวเหม็น เป็นโรคผิวหนังต่างๆ ซึ่งเกิดจากเบาะนอนที่สกปรกได้

     ดังนั้น ผู้เลี้ยงจึงควรหมั่นทำความสะอาดบริเวณพื้นที่ของสุนัขเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยอาจใช้น้ำยาถูพื้นที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อโรค มาถูทำความสะอาดพื้นที่ที่สุนัขอาศัย ล้างทำความสะอาดกรง มุ้งลวดเพื่อเอาฝุ่นและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกและช่วยให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวกมากขึ้น หมั่นถอดเบาะนอนออกไปซักและตากจนแห้งสนิททุกครั้ง หรือใช้ ผลิตภัณฑ์ขจัดกลิ่นบนผ้าแอมบิเพอร์ ในการขจัดกลิ่นที่เกิดจากแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น ซึ่งมีทั้งสูตรแอมบิเพอร์ อาร์คติกา บรีซ สูตรแอมบิเพอร์ บลอสซั่ม แอนด์ บรีซ และสูตรแอมบิเพอร์ แอนตี้ แบคทีเรีย ฉีดที่เบาะนอนของสุนัขเป็นประจำ จะช่วยขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์เบาะนอนให้หมดไปและยังช่วยให้ผู้เลี้ยงและน้องหมาแฮปปี้กับกลิ่นที่หอม สะอาด และรู้สึกสดชื่นมากขึ้นค่ะ



4.ตัดเล็มขนตามจุดเกิดกลิ่น

     สำหรับผู้เลี้ยงที่เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ขนยาว ผู้เลี้ยงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลตัดแต่งขนของสุนัขเป็นประจำ เพราะนอกจากจะทำให้สุนัขมีทรงขนที่สวยงามแล้ว การตัดขนยังช่วยลดการหมักหมมของเชื้อโรค และป้องกันการเกิดกลิ่น คราบเหลือง การเกิดผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังในสุนัขได้อีกด้วย โดยแนะนำว่า ให้ผู้เลี้ยงตัดขนบริเวณจุดสำคัญ ๆ ของร่างกายสุนัขที่มักเกิดการหมักหมมได้ง่าย ซึ่งมี 5 จุดสำคัญ ดังนี้

- ตัดขนบริเวณรอบดวงตา หรือบริเวณหัวตา เพื่อ ไม่ให้เส้นขนยาวจนบังหรือทิ่มลูกตาที่อาจทำให้ตาของสุนัขเกิดอาการ ระคายเคืองเป็นหนองได้ และยังช่วยให้ผู้เลี้ยงทำความสะอาดคราบน้ำตาของสุนัขได้ง่ายขึ้น

- ตัดขนบริเวณรอบปาก เพื่อลดการเกิดคราบ เพราะเวลาที่สุนัขกินน้ำหรืออาหารอาจทำให้เศษอาหารติด เกิดการหมักหมมกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ทำให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้
- ตัดขนบริเวณใต้ท้อง เพื่อไม่ให้ปัสสาวะของสุนัข เปรอะเปื้อน อับชื้น เกิดตุ่มแดง มีกลิ่นเหม็นค่ะ

- ตัดขนบริเวณรอบ ๆ รูทวาร เพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด ไม่ให้อุจจาระเปรอะ หมักหมม มีกลิ่นเหม็นและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค

- ตัดขนบริเวณใต้เท้า เพื่อไม่ให้มีขนใต้เท้า ป้องกันใต้อุ้งเท้าของสุนัขเกิดความอับชื้นและไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ที่อาจเกิดเชื้อราและโรคผิวหนังได้



5.คอยระวังไม่ให้สุนัขเล่นซน

     หากสุนัขของผู้เลี้ยงมีนิสัยซุกซน เช่น ชอบเล่นขุดดิน  ทำลายสวน ชอบคลุกหรือรื้อขยะ เล่นน้ำสกปรก เป็นประจำ ผู้เลี้ยงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลสุนัขให้อยู่ในสายตาและระวังไม่ให้ สุนัขเล่นซนเพราะตามพื้นดิน พื้นหญ้า หรือแม้กระทั่งในน้ำ มักจะมีเชื้อโรคต่าง ๆ อาศัยอยู่ เมื่อสุนัขวิ่งซน นอนกลิ้งไปกับพื้น เล่นน้ำที่สกปรก ผิวหนังของสุนัขก็อาจถูกขูดขีดจนเกิดบาดแผล หรือเกิดผื่นแพ้ คัน บวม แดง อักเสบ เกิดกลิ่นตัวและอาจถึงขั้นขนร่วงจากการสัมผัสโดนฝุ่น ละออง หรือสารเคมีที่อยู่บนพื้นและอยู่ในน้ำได้ค่ะ

     โดยสุนัขที่มีอาการแพ้หรือมีเกิดการติดเชื้อทางผิวหนัง ผู้เลี้ยงสามารถสังเกตุได้จากผิวหนังของสุนัขจะมีอาการ บวม แดง คัน ตกสะเก็ดและสุนัขเริ่มเกาแผล แนะนำว่า ให้ผู้เลี้ยงรีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อดูอาการและรักษาทันทีนะคะ

     ส่วนวิธีป้องกันไม่ให้สุนัขวิ่งเล่นซน ผู้เลี้ยงสามารถทำได้ง่าย ๆ คือ การ จำกัดบริเวณให้สุนัขอยู่เป็นสัดส่วน โดยอาจจะหาคอกมากั้นให้สุนัขวิ่งเล่นอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัย และหาของเล่นให้สุนัขได้กัดเล่น หรืออาจจะทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความใกล้ชิดระหว่างผู้เลี้ยงกับสุนัขก็ได้ เช่น เล่นเกมส์ ฝึกทักษะคำสั่งต่าง ๆ ... แต่ถ้าหากวันไหนสุนัขตัวเปรอะเปื้อนเล็กน้อยผู้เลี้ยงก็จะทำความสะอาดเฉพาะ จุดที่สกปรก โดยใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด หรืออาจจะใช้โฟมอาบแห้งที่มีคุณสมบัติในการช่วยกำจัดแบคทีเรียและยีสต์ที่ เป็นสาเหตุหลักของการเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์แทนก็ได้นะคะ

     การดูแลและป้องกันการเกิดกลิ่นตัวในสุนัขไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่ไหมคะ? เพียงแค่เราเรียนรู้ถึงสาเหตุและวิธีการดูแลป้องกันการเกิดกลิ่นอย่างถูก ต้อง และใช้ตัวช่วยในการกำจัดกลิ่นที่เกิดจาก เชื้อแบคทีเรีย อย่างผลิตภัณฑ์ขจัดกลิ่นผ้าแอมบิเพอร์ หาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ แถว ๆ ชั้นวางน้ำยาปรับผ้านุ่มนะคะ แค่นี้ก็ทำให้เจ้าของและน้องหมามีความสุขไร้กังวลกัลเรื่องกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์แล้วล่ะค่ะ