โดย: เว็บมาสเตอร์มะเหมี่ยว

"ปริทันต์" โรคร้ายที่(อาจ)เกิดในช่องปากสุนัข

ภัยจากโรคร้ายทีีเราอาจไม่ได้ระวัง

7 ธันวาคม 2554 · · อ่าน (44,894)
289

SHARES


289 shares
Dogilike.com :: ปริทันต์ โรคร้ายที่(อาจ)เกิดในช่องปากสุนัข

     ... หนึ่งสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกได้ถึงสุขภาพของน้องหมาก็คือ อาการผิดปกติในช่องปากค่ะ ... ถ้าหากน้องหมาของเพื่อนๆ มีกลิ่นปากเหม็นหรือมีเลือดออกที่เหงือกบ่อยๆ ล่ะก็ ทราบไว้เลยนะคะว่า นั่นคืออาการเริ่มต้นของโรคปริทนต์ค่ะ


     "โรคปริทันต์ (Periodontitis disease)" เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวฟัน , เนื้อเยื่อของเหงือก , เอ็นที่ยึดเหงือกและฟัน , โพรงรากฟัน และเนื้อเยื้อคล้ายกระดูกที่คลุมรากฟันเพื่อช่วยยึดเกาะรากฟัน เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในสุนัข  สาเหตุเกิดจากแบคทีเรียที่สร้างพลากค์ (Plaque) เคลือบฟัน โรคปริทันต์เป็นสาเหตุในการสูญเสียฟัน  เป็นเหมือนฆาตกรเงียบที่ทำลายโครงสร้างพื้นฐานของฟันของสุนัข ส่วนใหญ่แล้วจะพบในสุนัขทุกวัยที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปและพบมากถึง  80 – 90%  ของสุนัข ทั้งนี้ มีโรคหลายๆ โรคที่ทำให้มีอาการคล้ายโรคปริทนต์ เช่น

     - เหงือกอักเสบ (Gingivitis) เป็นการอักเสบของเหงือก และเป็นสาเหตุเริ่มต้นของโรคปริทันต์ได้  แต่โรคเหงือกอักเสบอาการการอักเสบจะไม่มากและลึกเท่าโรคปริทันต์
     - ฝีที่รากฟัน (Periapical abscess)  เป็นฝีที่อยู่รอบ ๆ โคนรากฟัน  ทำให้ฟันแตกและเจ็บปวด
     - กรามหัก  อาจเป็นสาเหตุเนื่องมาจากโรคปริทนต์ ฟันอักเสบ (Endodontic)

     อาการของโรคปริทันต์ในสุนัข คือ ปากเหม็น , มีเลือดออกที่เหงือก , ฟันร่วง , มีแผลในปาก , ฟันโยก , เหงือกร่น , เบื่ออาหาร

Dogilike.com :: ปริทันต์ โรคร้ายที่(อาจ)เกิดในช่องปากสุนัข

     สาเหตุของโรคปริทันต์เริ่มจากการมีเศษอาหารตามซอกฟัน ทำให้มีการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและแคลเซียมที่บริเวณฟันจนเกิดเป็นหินน้ำลาย และจากหินน้ำลายหากไม่มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแล้วนั้นนานวันเข้าหินน้ำลายจะเกิดการก่อตัวเป็นหินปูน (calculus formation) เกาะตามฟันซี่ต่างๆ เมื่อเชื้อแบคทีเรียมากขึ้นจะส่งผลให้เนื้อเยื่อปริทันต์อักเสบ เกิดการทำลายเยื่อบุผิวฟันและเนื้อเยื่อรอบฟัน มีการอักเสบของเหงือกและเนื้อเยื่อในช่องปาก รวมทั้งทำให้เกิดการสลายของกระดูกเบ้าฟันที่ยึดฟันอยู่ ในสุนัขที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อปริทันต์รุนแรงทำให้กรามหัก หรือเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสโลหิตทำให้ติดเชื้อในระบบอื่นของร่างกาย เช่น หัวใจ ตับ และไต ทำให้สัตว์เสียชีวิตได้ ซึ่งความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนของเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงสารที่เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้สร้างออกมาด้วย ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าปัญหากลิ่นปากเพียงเล็กน้อยที่เจ้าของอาจละเลยกับสัตว์เลี้ยงของท่านอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่กระทบต่อสุขภาพโดยรวมของสัตว์เลี้ยงก็เป็นได้ ดังนั้นเราควรเริ่มมาสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าสัตว์เลี้ยงของท่านน่าจะเริ่มมี

สำหรับวิธีการตรวจวินิฉัยของสัตวแพทย์อาจทำโดย

     - ตรวจร่างกายและซักประวัติ  โดยเฉพาะช่องปาก  โดยเฉพาะตอนวางยาสลบ
     - ฉายภาพรังสีช่องปาก  เพื่อดูความสมบูรณ์ของฟันและรากฟัน  ดูขอบเหงือกว่ามีการร่นหรือไม่และดูการอักเสบของรากฟันและโพรงรากฟันอาจต้องวางยาในรายที่ต้องการทำประวัติของฟันอย่างละเอียด 
     - โดยใช้โพรบ (Probe)  ตรวจดูขอบเขตของเหงือก และ ตรวจว่ามีโพรงที่เหงือกหรือไม่
     - ตรวจค่าเคมีในเลือด (Biochemical profile) 
     - ตรวจนับเม็ดเลือด (CBC)
     - ตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)
     - เพาะเชื้อแบคทีเรีย (Anaerobic culture)  โดยเพาะหาเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน  ในรายที่เป็นเรื้อรังเพื่อหายาปฏิชีวนะที่เหมาะสม

Dogilike.com :: ปริทันต์ โรคร้ายที่(อาจ)เกิดในช่องปากสุนัข

     ทั้งนี้หลังจากการรักษาแล้วผู้เลี้ยงจะต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพในช่องปากของสุนัขด้วย โดยการทำความสะอาดฟันโดยแปรงฟันให้สุนัขทุกวันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพของฟัน  อาหารที่ใช้ในการดูแลช่องปากบางชนิดช่วยได้เหมือนกัน เช่น อาหารเม็ดที่มีคุณสมบัติช่วยขัดหินปูนที่เกาะตามฟันสุนัข หรืออาจะเป็นยาสีฟันจะช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ควรพาสุนัขไปให้สัตวแพทย์ตรวจสุขภาพฟันทุก  3 – 6  เดือนด้วยค่ะ

     ส่วนใครที่ไม่อยากให้น้องหมาป่วยเป็นโรคนี้ล่ะก็วิธีป้องกันที่ดีที่สุดมีอยู่วิธีเดียวก็คือ การแปรงฟันด้วยยาสีฟันสำหรับสัตว์ และตรวจสุขภาพฟันทุก  3 – 6  เดือน ขูดหินปูนเป็นประจำเพื่อป้องกันฟันผุ ... สำหรับในอนาคตนั้นอาจมีวัคซีนป้องกันโรคนี้ค่ะ

     .... ถ้าใครไม่อยากให้น้องหมาป่วยล่ะก็ ต้องรีบดูแลสุขภาพช่องปากของเขาตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของน้องหมาที่เรารักค่ะ ^^



 
บทความโดย: Dogilike.com

ข้อมูลอ้างอิงบางส่วน:
http://www.nobamahealthcare.org/th/dog-oral-and-dental-diseases-and-care.html http://www.vs.mahidol.ac.th/hospital/index.php/article/66-dog

ภาพประกอบ:
ภาพที่ 1 และ 3 โดย Dogilike.com
ภาพที่2
http://www.facebook.com/pages/Suchi-chihuahua/208651935866336?sk=wall