โดย: เว็บมาสเตอร์มะเหมี่ยว

5 เรื่องลับของเห็บตัวร้ายที่คุณอาจไม่เคยรู้

จัดการกับเห็บตัวร้ายไม่ใช่เรื่องยาก แค่ต้องรู้จักวิธีกำจัดที่ถูกต้อง

2 กุมภาพันธ์ 2561 · · อ่าน (6,997)
480

SHARES


480 shares

Dogilike.com :: 5 เรื่องลับของเห็บตัวร้ายที่คุณอาจไม่เคยรู้



      อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่า "เห็บหมัด" เป็นปัญหาใหญ่ที่คอยกวนใจคนเลี้ยงน้องหมามาโดยตลอดนะคะ วันนี้เราเลยจะพาทุกคนไปพบกับ 5 เรื่องลับของเห็บตัวร้ายที่คุณอาจไม่เคยรู้กันค่ะ มาดูกันว่าจะมีความลับอะไรบ้างนะของเจ้าเห็บร้ายที่เรายังไม่รู้ !!
 


1.  “เห็บผสมพันธุ์บนตัวน้องหมา แต่ลงไปวางไข่ที่พื้น”

 

Dogilike.com :: 5 เรื่องลับของเห็บตัวร้ายที่คุณอาจไม่เคยรู้


     สำหรับวงจรชีวิตจะมีทั้งหมด 4 ระยะ คือ ไข่ ตัวอ่อน ตัวกลางวัย และตัวเต็มวัย ตามลำดับ เห็บตัวเมียจะผสมพันธุ์กับเห็บตัวผู้บนตัวน้องหมาก่อนที่จะทิ้งตัวลงพื้นแล้วไปหาที่วางไข่ โดยจุดที่วางไข่มักจะอยู่ตามจุดอับต่าง ๆ เช่น ซอกกรงน้องหมา กำแพง รอยแตกของปูน พื้นบ้าน สนามหญ้า ฯลฯ เราจะสามารถสังเกตเห็นไข่ของเห็บได้ด้วยตาเปล่า โดยไข่จะมีลักษณะมีจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาลเกาะอยู่ตามกำแพง ตามพื้นบ้าน หรือที่นอนของน้องหมา ถ้าหากพบว่ามีไข่เห็บต้องทำความสะอาดทันที โดยหลังจากที่ทำความสะอาดกวาดถูบ้านเสร็จแล้ว แนะนำให้ใช้ยากำจัดเห็บหมัดในสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนผสมของ Pyrethrin หรือ Permethrin ที่มีฤทธิ์ฆ่าเห็บมาฉีดพ่นตามฝาผนัง ซอกต่าง ๆ เพราะเห็บมักจะเข้าไปหลบและฝังอยู่ตามผนังที่มีช่องว่าง มีข้อควรระวังในการพ่นยาคือ ขณะพ่นยากำจัดเห็บคืออย่าลืมที่จะใส่หน้ากากป้องกันการสูดดมยา และควรป้องกันลูกหลาน สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ให้ออกจากพื้นที่ในขณะฉีดพ่นก่อน และรอจนกว่ายาจะแห้งจึงค่อยปล่อยให้เด็ก ๆ และสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ให้ออกมาเดินเล่นตามปกติได้ค่ะ
 


2. “เห็บวางไข่แต่ละครั้งมากที่สุดถึง 4,000 ฟอง”

 

Dogilike.com :: 5 เรื่องลับของเห็บตัวร้ายที่คุณอาจไม่เคยรู้


     เห็นเห็บตัวเล็ก ๆ แบบนี้ รู้ไหมคะว่าเห็บตัวเมียจะวางไข่เพียงครั้งเดียว แต่จำนวนปริมาณไข่นั้นมากถึง  2,000 - 4,000 ฟอง เลยทีเดียว โดยใช้เวลาในการวางไข่ประมาณ 10 วัน อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม เมื่อวางไข่แล้วไข่จะใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ในการฟักออกมาเป็นตัวอ่อนที่มีเพียง 6 ขา จากนั้นตัวอ่อนก็จะกลับขึ้นไปกินเลือดบนตัวน้องหมาจนอิ่มประมาณ 2-3 วันก่อนที่จะทิ้งตัวลงไปลอกคราบเป็นเห็บตัวกลางวัย  8 ขา และกลับขึ้นไปกินเลือดน้องหมาอีกครั้ง ก่อนที่จะทิ้งตัวลงสู่พื้นเพื่อลอกคราบกลายเป็นตัวเต็มวัย และผสมพันธุ์ตามวงจรไปเรื่อย ๆ ซึ่งวงจรชีวิตของเห็บจะสมบูรณ์ได้ในเวลา ประมาณ 45-50 วัน

 

3. “ฤดูที่พบเห็บมากที่สุดคือรอยต่อระหว่างฤดูร้อนกับฤดูฝน”

 

Dogilike.com :: 5 เรื่องลับของเห็บตัวร้ายที่คุณอาจไม่เคยรู้
 

     อุณหภูมิเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็บมาก ความชื้นและอุณหภูมิที่พอเหมาะจะช่วยส่งเสริมความสมบูรณ์ของไข่และการแพร่ขยายพันธุ์ของตัวอ่อนมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะฟักไข่ยิ่งความชื้นสูงก็จะยิ่งช่วยให้ไข่สมบูรณ์มากที่สุด ตัวอ่อนก็จะแพร่ขยายพันธุ์ได้มากสุขภาพแข็งแรง ด้วยสาเหตุนี้ในหน้าฝนเราจึงสังเกตได้ว่าน้องหมาจะมีเห็บขึ้นเยอะกว่าช่วงฤดูอื่น ซึ่งในช่วงรอยต่อของฤดูฝนที่ความชื้นกำลังพอดี ประมาณช่วงเดือนเมษายนไปจนถึงกรกฏาคม สิงหาคม จะที่เป็นช่วงที่ความชื้นและอุณหภูมิเหมาะแก่การเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วมากที่สุด ในขณะที่ถ้าความชื้นในอากาศมีน้อยก็จะไม่เหมาะแก่การฟักไข่ ไข่เห็บก็ยังคงดำรงอยู่ได้เป็นปี ๆ เพียงแค่รอเวลาเมื่อความชื้นมาถึงจึงค่อยฟักเป็นตัวอ่อนค่ะ นั่นจึงเป็นสาเหตุว่า บางบ้านฉีดยาฆ่าเห็บให้น้องหมาแล้ว หรือน้องหมาเสียชีวิตไปแล้วเป็นปี ๆ แต่เห็บก็คงแพร่พันธุ์อยู่ในบ้านนั่นเอง

 

4. “เห็บสามารถทำให้น้องหมาเป็นอัมพาตได้”

 



Dogilike.com :: 5 เรื่องลับของเห็บตัวร้ายที่คุณอาจไม่เคยรู้


     หลายคนฟังแล้วอาจจะไม่เชื่อว่าเห็บตัวเล็กนิดเดียวจะทำให้น้องหมาเป็นอัมพาตได้ ... มีเห็บบางชนิดที่ทำให้น้องหมาเป็นโรคอัมพาตจากเห็บ (Tick paralysis) ได้ เช่น Ixodes spp. , Dermacentor spp. , Amblyomma spp. และ Rhipicephalus spp. โดยการที่น้องหมาเป็นอัมพาตนั้นเกิดจากการที่เห็บปล่อยสารพิษ neurotoxin ที่มีอยู่ในน้ำลายออกมาทำลายระบบประสาท ทำให้ขาอ่อนแรงอย่างเฉียบพลัน เกิดเป็นอัมพาตแบบกระทันหัน โดยเฉพาะที่ขาหลัง ความรุนแรงขึ้นกับความไวรับของพิษในร่างกาย ปริมาณของพิษ อายุของน้องหมา และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย พิษจะเข้าไปรบกวนการทำงานของอะซิติลโคลีนซึ่งเป็นสารสื่อประสาทตัวหนึ่งในร่างกาย ทำให้ขัดขวางการทำงานของระบบประสาทสั่งการ ช่วงแรกอาจพบขาหลังก้าวเดินไม่สัมพันธ์กัน เห่าไม่มีเสียง (กล่องเสียงเป็นอัมพาต) ทำท่าขาก ๆ คล้ายกับจะขย้อนหรืออาเจียน อัตราการหายใจผิดปกติ ต่อมาขาเริ่มอ่อนแรง ไม่มีแรงลุก และเป็นอัมพาตในที่สุด จะเห็นว่าไม่จำเป็นว่าน้องหมาต้องโดนเห็บหลาย ๆ ตัวกัดเท่านั้นถึงจะเกิดอันตราย บางครั้งเพียงแค่เห็บตัวเดียวก็ทำให้น้องหมาป่วยร้ายแรงได้แล้ว ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือผู้เลี้ยงทุกคนควรหาวิธีป้องกันไม่ได้เห็บมีโอกาสกัดน้องหมาได้ค่ะ

 

5. “ปลอกคอก็ช่วยป้องกันเห็บหมัดได้”

 



Dogilike.com :: 5 เรื่องลับของเห็บตัวร้ายที่คุณอาจไม่เคยรู้


     ที่ผ่านมาวิธีการป้องกันเห็บหมัดที่ผู้เลี้ยงทั่วไปรู้จักกันดีคือการฉีด หยด หรือกินยาเพื่อป้องกันเห็บหมัด ซึ่งวิธีทั้งหมดนี้จะมีระยะเวลาในการป้องกันอยู่ที่ 1-3 เดือน แต่ในปัจจุบันนอกเหนือจากวิธีป้องกันด้วยการฉีด หยด หรือกิน แล้วยังมี "Seresto ปลอกคอนวัตกรรมใหม่ ป้องกันเห็บกัด..ตัดโอกาสแพร่เชื้อ " ที่จะช่วยในการปกป้องน้องหมาไม่ให้ถูกเห็บหมัดทำร้ายได้นานถึง 8 เดือนเลยทีเดียวค่ะ โดยปลอกคอผลิตจากพอลิเมอร์เมทริกซ์ที่มีการบรรจุสารออกฤทธิ์ 2 ตัว คือ Imidacloprid มีคุณสมบัติในการกำจัดหมัดและตัวอ่อนหมัดได้อย่างรวดเร็ว และ Flumethrin มีคุณสมบัติกำจัดตัวอ่อนของเห็บได้ทุกระยะและกำจัดเห็บตัวเต็มวัย รวมถึงขัดขวางการวางไข่ของเห็บตัวเมียด้วย  เพียงแค่เห็บหมัดสัมผัสตัวยา ในขณะที่ยังไม่ทันกัดน้องหมา สารสำคัญก็จะดูดซึมเข้าสู่ตัวเห็บหมัดและทำให้ตาย ซึ่งการป้องกันไม่ให้เห็บหมัดกัดน้องหมาจะทำให้ลดการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่ตัวน้องหมานั่นเองค่ะ


     เรื่องของการกำจัดเห็บหมัดไม่ใช่เรื่องยากนะคะ แค่เราต้องรู้จักวิธีการป้องกันที่ถูกต้องเท่านั้นเองค่ะ และสำหรับเพื่อน ๆ คนไหนที่อยากกำจัดเห็บหมัดแบบถาวร มะเหมี่ยวแนะนำว่าต้องกำจัดเห็บหมัดบริเวณสิ่งแวดล้อมที่น้องหมาอยู่ควบคู่ไปกับการป้องกันเห็บหมัดบนตัวน้องหมา ทำควบคู่กันแบบนี้จึงจะเป็นการกำจัดปัญหาเห็บหมัดแบบมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ
 

ข้อมูลเพิ่มเติม :
http://happypet.bayer.co.th/
https://www.facebook.com/serestothailand/

Dogilike.com :: 5 เรื่องลับของเห็บตัวร้ายที่คุณอาจไม่เคยรู้