โดย: Nuna
สุนัขพันธุ์ไหน เสี่ยงเนื้องอกสมองที่สุด
รับมือกับโรคเนื้องอกในสมองสุนัขกันเถอะ
13 เมษายน 2554 · · อ่าน (21,414)
เพื่อนๆ ชาว Dogilike เคยรู้สึกกลัวๆ เรื่องโรค เรื่องสุขภาพของสุนัขตัวเองกันบ้างรึเปล่าคะว่า ในระยะเวลา 15 ปี จะมีอะไรเกิดขึ้นกับเค้าบ้าง วันนี้หนูนาจะมาบอกความเสี่ยงของโรคเนื้องอกในสมองกันค่ะ
บางคนอาจเข้าใจผิดว่า โรคเนื้องอกในสมองนั้นพบในสุนัขที่มีอายุมาก แต่อาจพบในสุนัขเด็กก็ได้ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นเนื้องอกในสมองแล้วจะไม่หายขาด ถึงแม้จะได้เข้ารับการผ่าตัดแล้วก็ตาม สายพันธุ์สุดเสี่ยง ส่วนสุนัขพันธุ์จมูกยาว เช่น โดเบอร์แมน พินเชอร์(Doberman pinscher) (Scottish terrier) และโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ (golden retriever) จะพบเนื้องอกที่มาจากเยื่อหุ้มสมองได้มาก สังเกตอาการของสุนัข ในระยะแรก สุนัขจะยังไม่แสดงออกถึงอาการที่เป็นนัก แต่เมื่อนานวันไปก้อนเนื้องอกเริ่มโตขึ้นๆ จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน สุนัขก็ค่อยๆ แสดงอาการออกมาอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป สิ่งที่เคยทำก็เริ่มเบื่อ การเดินโซซัดโซเซไปมา ทรงตัวไม่อยู่ เดินเป็นวงกลม ตาบอด หรืออาจมีอาการชักตามมาด้วย บ่งชี้ตำแหน่งเนื้องอก การทำ CT scan หรือ MRI ทั้งสองอย่างนี้ สามารถบอกตำแหน่งของเนื้องอกในสมองได้แน่นอน และยังวินิจฉัยชนิดของเนื้องอกได้คร่าวๆ ด้วย ทั้งสองวิธีนี้ การตรวจอาการผิดปกติดังกล่าว ต้องวางยาสลบให้สุนัขนิ่งที่สุด จนเสร็จกระบวนการตรวจวินิจฉัย เพราะการเคลื่อนไหวแม้เพียงนิดเดียวอาจจะทำให้การวินิจฉัยผิดพลาดได้ค่ะ ข้อเสียของการตรวจทั้งสองวิธีนี้ก็คือ ค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ ปกติแล้วค่าใช้จ่ายในการตรวจ CT scan มักจะสูงกว่าการตรวจ X-ray ประมาณ 10-20 เท่า ส่วน MRI จะสูงกว่าประมาณ 20-50 เท่า (โอ้..... ว้าว.. อะไรจะแพงขนาดนั้น) การตรวจโดยสองวิธีนี้จึงยังไม่ได้รับความนิยมในเมืองไทยมากนัก การเยียวยารักษา สามารถทำได้ด้วยการฉายรังสี หรือการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก การผ่าตัดมักทำได้ค่อนข้างยากและขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอกนั้นๆ ด้วย อย่างไรก็ตามถึงแม้สุนัขจะได้เข้ารับการผ่าตัดแล้ว ก็ยังมีอัตราเสี่ยงที่ก้อนเนื้องอกจะกลับมาใหม่ ในสุนัขบางตัวพบในระยะสั้น 3-4 สัปดาห์ ก็กลับมางอกใหม่อีก หรือจะทรุดหนักแย่กว่าเดิมด้วยซ้ำ ส่วนใหญ่เจ้าของจะไม่สามารถรับสภาพของสุนัขได้ ด้วยอาการที่แสดงออกมา เช่น ชัก ก็มักจะขอให้สัตว์แพทย์ฉีดยาให้เค้าหลับไปอย่างสงบก็มี เพื่อนๆ รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ กันเลยทีเดียวใช่รึเปล่าล่ะคะ คงไม่มีใครอยากให้เกิดกับสุนัขที่เรารักอย่างแน่นอน สาเหตุการเกิดก็ไม่บ่งชี้แน่ชัดด้วย ยังไงก็เป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ชาว Dogilike ทุกคนนะคะ ^____^
บทความโดย: Dogilike.com ข้อมูลอ้างอิง: dogazine โดย สพ.ญ.ชนกชนม์ เพชรศรีช่วง รูปประกอบ: pirun.ku.ac.th anajakmagazine.com natty-mydog.blogspot.com siamclassview.edu.chula.ac.th |
SHARES