โดย: Tonvet
ทำไมไม่ควรฝังสุนัขไว้ที่สวนหลังบ้าน
เหตุใดไม่ควรฝังสุนัขไว้ที่สวนหลังบ้าน เรามาดูวิธีการจัดการกับสุนัขหลังความตายกันว่าต้องทำอย่างไร
28 เมษายน 2563 · · อ่าน (29,557)
- สุนัขบางตัวตายเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อรุนแรง ซึ่งบางโรคอาจสามารถแพร่กระจายไปยังสัตว์อื่น ๆ ได้ อย่างเช่น โรคไวรัสลำไส้อักเสบจากเชื้อพาร์โวไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสนี้มีความทนทานสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายเดือน
- วิธีการเผาจะเป็นวิธีที่แนะนำและปลอดภัย หรือหากเลือกเป็นวิธีการฝัง ก็แนะนำให้ฝังในสุสานที่มีการจัดเตรียมพื้นที่ไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งทั้งสองวิธีจะมีเจ้าหน้าที่มืออาชีพมาจัดการและให้คำแนะนำ
- แนะนำให้ฝังซากสัตว์โดยให้ส่วนบนสุดของซากสัตว์อยู่ใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และให้พูนดินกลบหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตรด้วย

เมื่อวันสุดท้ายของเพื่อนรักสี่ขามาถึง คุณเลือกที่จะจากลาน้องหมาด้วยวิธีใด ปัจจุบันการจัดการกับซาก (ร่าง) ของน้องหมานั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเผา การฝัง การสต๊าฟ หรือการบริจาคร่างเป็นอาจารย์ใหญ่ ซึ่งตามความเชื่อแล้วส่วนมากคนไทยจะเลือกวิธีเผาหรือไม่ก็ฝัง ซึ่งวิธีการเผาในปัจจุบันนั้น วัดบางแห่งก็มีให้เลือกบริการ หรือไม่ก็มีเอกชนที่รับเผาและจัดพิธีให้กับสุนัขที่ตายแล้วด้วยเช่นกัน ส่วนการฝังนั้นเป็นวิธีที่นิยมทำกัน โดยเฉพาะตามต่างจังหวัดหรือมีพื้นที่มากพอที่จะฝังร่างของสุนัขที่ตายไปได้ บางคนเลือกที่จะฝังร่างของสุนัขไว้ที่สนามหลังบ้านของตัวเอง ในต่างประเทศนั้นการฝังร่างสุนัขไว้ในสวนหลังบ้านก็เป็นที่นิยมทำกัน แต่ก็มีบางคนที่ไม่แนะนำกันให้ทำเช่นกัน ทำไมกันนะ เรามาดูมุมมองและเหตุผลในอีกแง่มุมกันครับ
สาเหตุที่ไม่แนะนำให้ฝังสุนัขไว้ในสวนหลังบ้าน
สุนัขบางตัวตายเนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อรุนแรง ซึ่งบางโรคอาจสามารถแพร่กระจายไปยังสุนัขและสัตว์อื่น ๆ ได้ อย่างเช่น โรคไวรัสลำไส้อักเสบจากเชื้อพาร์โวไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสนี้มีความทนทานสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายเดือน ซึ่งเชื้อไวรัสนี้ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตในสุนัขและสุนัขเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน การฝั่งร่างสุนัขในรายที่ป่วยและเสียชีวิตด้วยเหล่านี้โรคนี้จึงไม่แนะนำให้ทำ ถ้าจะทำต้องมีการจัดการที่ดีเป็นพิเศษ
จะจัดการกับร่างสุนัขด้วยวิธีอื่นใดได้บ้าง
อีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ คือ การบริจาคร่างสุนัขเพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่ทางสัตวแพทย์ เพราะสุนัขเป็นโมเดลที่ดีสำหรับใช้การการฝึกสอนนิสิตนักศึกษาสัตวแพทย์ ในบ้านเรายังไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก หรือยังมีข้อจำกัดในการบริจาค เนื่องจากต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละสถาบัน เช่น ต้องเสียชีวิตไม่เกิน 12 ชั่วโมง มีอายุระหว่าง 2-8 ปี น้ำหนักระหว่าง 10-20 กิโลกรัม และไม่มีรูปร่างอ้วนหรือผอมมากเกินไป บางหน่วยงานจะงดการรับบริจาคสัตว์เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ สัตว์เสียชีวิตจากโรคติดต่อร้ายแรงจากสัตว์สู่คน เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคฉี่หนู เป็นต้น
SHARES