โดย: เว็บมาสเตอร์มะเหมี่ยว
แก้ปัญหาสุนัขทำร้ายเด็กให้ถูกวิธี
สร้างความเข้าใจดีที่ดีระหว่างผู้เลี้ยงสุนัข และผู้ปกครอง
13 มกราคม 2555 · · อ่าน (15,334)
... "สุนัขกัดเด็กได้รับบาดเจ็บ" เป็นข่าวที่เรามักจะได้ยินกันบ่อยครั้งจากสื่อต่างๆ และไม่ว่าต้นสายปลายเหตุจะเกิดจากอะไรก็ตาม โดยส่วนใหญ่เหตุการณ์มักจะจบลงที่เจ้าของสุนัขตัดสินใจส่งสุนัขไปที่สถานกักกัน เนื่องจากไม่กลัวว่าถ้าเลี้ยงไว้สุนัขอาจจะไปทำร้ายคนอื่นอีก ... อย่างกรณีล่าสุด เมื่อต้นเดือนมกราที่ผ่านมา เกิดเหตุเด็กหญิงวัย 7 ขวบสุนัขล๊อตไวเลอร์กัดอาการสาหัส โดยเมื่อสืบหาถึงสาเหตุแล้วพบว่า โดยปกติเด็กหญิงจะคุ้นเคยกับสุนัขตัวนี้เป็นอย่างดี แต่ในวันที่เกิดเหตุดังกล่าว เด็กหญิงคนได้ใช้ก้อนหินปาสุนัข จนทำให้สุนัขโมโหและกระโดดกัด ซึ่งถือว่าโชคดีที่มีผู้พบเห็นและสามารถช่วยเหลือชีวิตเด็กหญิงไว้ได้ทัน และหลังเกิดเหตุ ทางด้านเจ้าของสุนัขจึงตัดสินใจประกาศยกสุนัขล๊อตไวเลอร์ที่ก่อเหตุให้กับสถานฝึกหรือผู้ที่อยากเลี้ยง เนื่องจากคิดว่าไม่สามารถควบคุมและเลี้ยงสุนัขตัวดังกล่าวต่อไปได้
การแก้ปัญหาด้วยวิธีดังกล่าว เป็นเหมือนการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และไม่ใช้วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องนัก ... ในความเป็นจริงแล้ว การป้องกันปัญหาสุนัขทำร้ายเด็กนั้น ทั้งฝ่ายผู้เลี้ยงสุนัขและฝ่ายผู้ปกครองของเด็กควรจะทำความเข้าใจถึงสิ่งที่ควรปฎิบัติต่อกันและกันควบคู่กันไป ในส่วนของพ่อแม่ ผู้ปกครองนั้น สิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือการสอนและแนะนำให้เด็กๆ เข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติตัวกับสุนัขแปลกหน้า ควรจะสอนให้เด็กๆ รู้ว่าสุนัขที่อยู่นอกบ้านนั้นไม่เหมือนกับสุนัขที่บ้าน โดยธรรมชาติของสุนัขแล้วสุนัขมีการอ่านคนเหมือนกันว่า คนนั้นนี้มีลักษณะพฤติกรรมอย่างไร ใจดีรึเปล่า หรือจะเข้ามาทำร้าย (ถ้าเป็นสุนัขจรจัด โดยทั่วไปจะมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับการถูกทำร้าย หรือถูกเด็กแกล้ง ซึ่งเป็นที่มาของการไม่ชอบเด็กและอาจทำร้ายเด็กได้เมื่อเด็กอยู่ใกล้) ดังนั้นหากเจอสุนัขแปลกหน้า ถึงแม้จะเป็นสุนัขเลี้ยงก็ตาม ไม่ควรไว้วางใจให้เด็กเผชิญหน้ากับสุนัขโดยลำพัง ผู้ปกครองควรอยู่ด้วยและควรสอนเด็ก ให้รู้จักกับข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ค่ะ - อย่าเข้าไปจับหรือลูบสุนัข ถ้าเจ้าของไม่อยู่ - อย่าเล่นกับสุนัขที่ถูกล่ามโซ่ สุนัขที่อยู่ในบริเวณรั้ว ในรถยนต์หรือท้ายปิคอัพ (เนื่องจากสุนัขจะเกิดอาการหวงที่ทำให้อาจทำร้ายผู้ที่จะเข้ามาใกล้ได้) - อย่าตี หรือไล่สุนัข - อย่าวิ่งเวลาอยุ่ใกล้สุนัข (เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการไล่ล่า) - อย่ากรี๊ด หรือร้องเวลาอยู่ใกล้สุนัข (สุนัขจะคิดว่าเสียงที่ได้ยินเป็นสุนัขที่บาดเจ็บ จะทำให้สุนัขเกิด PREY DRIVE ความรู้สึกไล่ล่า และอยากที่จะจู่โจม) - อย่าจ้องหน้าสุนัข - อย่าจับสุนัขที่หนี หรือถอยหลังด้วยความกลัว (เพราะจะทำให้สุนัขรู้สึกว่าถูกคุมคาม) - อย่าทำเสียงคำราม หรือแกล้งเห่าใส่สุนัข - อย่ากอด หรือพยายามจูบสุนัข (รวมไปถึงอย่าพยายามยืนมือเข้าไปลูบหัวสุนัขด้วย เพราะสุนัขอาจไม่แน่ใจว่ามือที่ยื่นมาเหนือหัวนั้นจะถืออะไรมาทำร้ายหรือเปล่า สุนัขจะชอบให้ตบไหล่มากกว่า) - อย่าป้อนอาหารสุนัข (เพราะสุนัขปากตัวอาจตะกละทำให้รีบงับอาหารอาจทำให้โดนมือได้) - อย่าพยายามก้าวข้ามสุนัขที่กำลังนอน ทางที่ดีที่สุดถ้าที่บ้านเลี้ยงสุนัข ควรสอนให้เด็กๆ เล่นหรือปฏิบัติต่อสุนัขด้วยความนิ่มนวลและมีเมตตา สุนัขจะสามารถรับรู้ได้โดยสัญชาตญาณว่าเด็กมีความเป็นมิตร และไม่ทำอะไรรุนแรงต่อเขา เขาจะรู้สึกปลอดภัยและไม่ทำร้าย นอกจากนี้ วิธีนี้ยังช่วยสอนให้เด็กรู้สึกการเข้าหาสุนัขตัวอื่นๆ ด้วยความนิ่มนวลอีกด้วย ส่วนสำหรับผู้ที่เลี้ยงสุนัข ถ้าหากสุนัขของเรามีความดื้ออยู่ในตัวสูง มีความอยากที่จะเป็นจ่าฝูงและอยากให้เจ้าของทำตามที่เขาต้องการ เจ้าของสุนัขต้องระวังเป็นพิเศษในการพาเขาไปเข้าสังคม สำหรับวิธีการจัดกการกับสุนัขที่มีนิสัยแบบนี้ขั้นแรกที่ผู้เลี้ยงจะต้องฝึกคำสั่งพื้นฐาน เช่น นั่ง หมอบ คอย พยายามฝึกให้หมอบคอยให้นาน เริ่มตั้งแต่ 1 นาที ไปจนถึง 15 นาที (สามารถเข้าไปดูวิธีสอนให้สุนัขหมอบได้ที่นี่) เมื่อสุนัขอยู่ในคำสั่งได้แล้ว ก็ให้ฝึกในขั้นต่อไปโดยให้สุนัขอยู่ในกรงที่มีขนาดพอดีตัว โดยอาจจะเริ่มฝึกจากระยะเวลาสั้นๆ เช่น 15 - 30 นาที ห้ามใจอ่อนเด็ดขาดถ้าหากสุนัขร้อง ให้เรารอจนกว่าเขาจะเงียบแล้วถึงปล่อยออกมา เพื่อให้เขาเรียนรู้ว่าเมื่อถึงเวลาที่เขาจะต้องเข้ากรงเขาต้องเข้า และถ้าหากอยู่ในอาการสงบจะได้รับการปล่อยให้เป็นอิสระ ทำแบบนี้บ่อยๆ สุนัขจะเรียนรู้กฎดังกล่าวได้เองโดยอัตโนมันติค่ะ วิธีนี้นอกจากจะเป็นการปราบพยศสุนัขดื้อแล้ว ยังเป็นการแสดงให้เขารู้ด้วยว่าเราเป็นจ่าฝูง เป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า เขาต้องฟังคำสั่งเรา
ข้อมูลอ้างอิงบางส่วน : ศูนย์ฝึกสุนัขภาสวร http://www.metrosafety.co.th/ |
SHARES