โดย: พริกขี้หนู
ไขปริศนา ... จริงหรือที่น้องหมาเข้าใจภาษาที่เราพูด!?
น้องหมาสามารถทำตามคำสั่งที่เราบอกได้ แต่เข้าใจสิ่งที่เราพูดได้มากน้อยแค่ไหนกัน
18 กรกฏาคม 2556 · · อ่าน (46,366)เมื่อหลายปีที่ผ่านมามีข่าวน้องหมาพันธุ์บอร์ดเดอร์ คอลลี่ ชื่อ ริโก้ ที่จำชื่อของเล่นได้ และคำสั่งต่าง รวมแล้วมากกว่า 200 คำ ซึ่งเป็นข่าวที่ฮือฮาไปทั่วโลก แต่เมื่อไม่นานมานี้มีน้องหมาสายพันธุ์เดียวกันชื่อว่า แชสเซอร์ สามารถจำจำชื่อของเล่น คำสั่งต่างๆ ได้มากกว่า 1,000 คำ เรียกได้ว่าเป็นความสามารถที่ทำให้วงการนักวิจัยให้หันกลับมาศึกษาเรื่องความฉลาดของน้องหมากันเลยล่ะค่ะ เพราะทั้งริโก้ และแชสเซอร์มีความสามารถในการจำคำของคนได้เกือบจะเทียบเท่าลิงชิมแพนซี ปลาโลมา และนกแก้ว ซึ่งขึ้นแท่นเป็นสัตว์ที่สามารถจำคำพูดของมนุษย์ได้มากที่สุดนั่นเองค่ะ น่าอัศจรรย์มากๆ เลยใช่ไหมคะ
ว่าแต่หลายคนคงสงสัยว่าพวกเขาสามารถจำคำต่างๆ ที่เราบอกมากมายขนาดนั้นได้อย่างไร แล้วพวกเขาสามารถเข้าใจความหมายของคำที่เราบอกหรือไม่ ... เมื่อคำถามเกิด พริกก็พร้อมจะไปหาคำตอบมาให้เช่นเคยค่ะ อย่ารอช้า เราไปไขข้อสงสัยกันเลย
น้องหมาเข้าใจสิ่งที่เราพูดอย่างไร
โดยปกติน้องหมาทุกตัวมีความสามารถจดจำคำพูดของคนเราได้เฉลี่ยประมาณ 165 คำ และถ้าหากได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดีก็อาจจะจดจำได้มากกว่านั้น แต่คำที่น้องหมาจดจำได้นั้นเป็นคำที่แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมเท่านั้น เช่น กระโดด หมุนตัว หรือชื่อสิ่งของ เป็นต้น ส่วนคำพูดที่ซับซ้อน หรือ คำที่เป็นนามธรรม พวกเขาจะไม่สามารถจดจำ และเข้าใจความหมายได้ค่ะ หากอาศัยจำจากบริบทจากกิจวัตรที่ทำเป็นประจำทุกวันค่ะ เช่น บอกว่า “ไปเดินเล่น” เขาก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่าตัวเองกำลังจะได้ออกไปนอกบ้านไปเดินเล่นอยู่ในสวนที่มีต้นไม้ ก็จะวิ่งไปรอที่หน้าประตูทันที แต่ถ้าบอกว่า “ไปออกกำลังกาย” น้องหมาก็จะไม่เข้าใจแล้วค่ะ ว่าออกกำลังกายมีความหมายว่าอย่างไร จนกระทั่งเราหยิบสายจูงนั่นแหละค่ะ เขาถึงรู้ว่ากำลังจะได้ออกไปวิ่งเล่น
นอกจากระบบความจำของน้องหมาจะจดจำและเข้าใจคำต่างๆ เป็นรูปธรรมแล้ว พวกเขายังรับรู้และเข้าใจคำต่างๆ ที่เราพูดผ่านทางท่าทาง ภาษามือ น้ำเสียง โทนเสียง จังหวะของคำ รวมทั้งอารมณ์ของเราอีกด้วยค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราพูดว่า “หมาปีศาจนิสัยไม่ดี” แต่พูดยิ้มๆ กับเขา มีจังหวะการพูดที่อ่อนโยน ไม่กระโชกโฮกฮาก พวกเขาก็จะกระดิกหางทันที เพราะเข้าใจว่าสิ่งที่เราพูดเป็นคำสรรเสริญเยินยอค่ะ
เอ๊! แล้วอย่างนั้นน้องหมาก็ไม่เข้าใจสิ่งที่เราพูดไปน่ะสิ? ... ก็อย่างที่บอกไปข้างต้นนะคะว่าน้องหมาเข้าใจคำที่เห็นเป็นรูปธรรม และ การแสดงอาการที่ชัดเจน ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สามารถรู้ได้ว่า “ปีศาจ” หรือ “การเป็นน้องหมานิสัยดี” หมายความว่าอย่างไร ในทางกลับกัน เวลาเราบอกว่า “รักแกนะ” แต่ใช้น้ำเสียงตะคอกดุดัน ชี้นิ้วไปทางอื่น เขาก็จะเข้าใจว่า เรากำลังไล่เขา ไม่ใช่กำลังแสดงความรัก ด้วยเหตุนี้เองการที่เราพร่ำบอกว่าเราน้องหมาทุกวัน แล้วดูเหมือนว่าเขารับรู้ถึงความรักเราได้นั้น แท้จริงแล้วเขารับรู้จากการสัมผัส และโทนเสียงต่างหากค่ะ ไม่ใช่คำว่า “รัก”
เอ๊! แล้วอย่างนั้นน้องหมาก็ไม่เข้าใจสิ่งที่เราพูดไปน่ะสิ? ... ก็อย่างที่บอกไปข้างต้นนะคะว่าน้องหมาเข้าใจคำที่เห็นเป็นรูปธรรม และ การแสดงอาการที่ชัดเจน ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สามารถรู้ได้ว่า “ปีศาจ” หรือ “การเป็นน้องหมานิสัยดี” หมายความว่าอย่างไร ในทางกลับกัน เวลาเราบอกว่า “รักแกนะ” แต่ใช้น้ำเสียงตะคอกดุดัน ชี้นิ้วไปทางอื่น เขาก็จะเข้าใจว่า เรากำลังไล่เขา ไม่ใช่กำลังแสดงความรัก ด้วยเหตุนี้เองการที่เราพร่ำบอกว่าเราน้องหมาทุกวัน แล้วดูเหมือนว่าเขารับรู้ถึงความรักเราได้นั้น แท้จริงแล้วเขารับรู้จากการสัมผัส และโทนเสียงต่างหากค่ะ ไม่ใช่คำว่า “รัก”
มีงานวิจัยของสถาบันมานุษยวิทยา Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology ได้ทดลองความจำ ของริโก้ สุนัขพันธุ์บอร์ดเดอร์ คอลลี่ เพื่อจะได้รู้กระบวนการจำและวิธีคิดของน้องหมา โดยบอกให้ริโก้เดินไปหยิบของเล่นที่ตัวเองไม่เคยเห็นที่อยู่รวมกับของเล่นที่ริโก้รู้จัก ซึ่งริโก้สามารถหยิบของเล่นที่มีชื่อเรียกตามที่บอกได้อย่างถูกต้อง จึงเป็นการพิสูจน์ได้ว่าสมองของพวกเขาสามารถสามารถแยกและเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่รู้จักออกมาจากสิ่งที่รู้จักได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้น้องหมารู้ว่า ของเล่นที่เขาไม่รู้จักนี้แหละที่น่าจะเป็นชื่อที่เขาไม่รู้จัก สุดยอดจริงๆ เลยยยยยย (ซึ่งเจ้าแชสเซอร์ก็ทำได้เช่นกัน มีคลิปให้ดูท้ายบทความนะคะ ^^)
น้องหมาสามารถ ‘เข้าใจ’ สิ่งที่เราพูดได้มากน้อยแค่ไหน
โครงสร้างสมองและระบบความคิดของน้องหมานั้นสามารถเรียนรู้ได้กว้างขวาง รอบด้าน อีกทั้งเชื่อมโยงความเข้าใจกับภาษาที่แตกต่างกับตนเอง พวกเขาสามารถเรียนรู้การสื่อของเราได้หลากหลายรูปแบบทั้งภาษาพูด ภาษามือ ภาษาของอารมณ์ความรู้สึก มหัศจรรย์มากๆ เลยใช่ไหมคะ......แต่ทว่าถึงพวกเขาจะเก่งขนาดไหนก็มีข้อจำกัดอยู่เหมือนกันค่ะ
ถึงแม้น้องหมาจะสามารถจำคำได้มากกว่า 200 คำในบางตัว แต่คำที่น้องหมาสามารถจดจำได้นั้นจะเป็นคำสั้นๆ ที่เห็นรูปธรรม เป็นภาพชัดเจน เช่น นั่ง ลุก นอน เดิน กินขนม เป็นต้น หรือบางครั้งเวลาเราพูดเป็นประโยคยาวๆ แต่น้องหมาก็ยังสามารถทำตามคำสั่งได้ นั่นเป็นเพราะพวกเขาจดจำจากบริบทสิ่งแวดล้อม เช่น เวลาบอกว่า “เข้านอนได้แล้ว” น้องหมาก็จะสังเกตจากคำที่เขาคุ้นคือคำว่า นอน และบริบท ณ ขณะนั้นว่าเป็นเวลาตอนกลางคืน ชี้ไปที่เบาะนอน เราใส่ชุดนอน เขาก็จะจำได้ว่าเป็นเวลาต้องเข้าที่แล้ว
การจดจำคำของน้องหมาจะจดจำจากบริบทที่พวกเขาคุ้นชินเท่านั้น ไม่สามารถวิเคราะห์ เข้าใจคำ หรือภาษาของเราได้ลึกซึ้งอย่างที่เราเข้าใจ เช่น เมื่อเราบอกน้องหมาว่า “เข้านอนได้แล้ว” ในเวลากลางวัน โดยที่ไม่ได้ใส่ชุดนอน ไม่ได้ชี้บอกตำแหน่งกับน้องหมา ตบมือ หรือ ทำท่าจะไปหยิบสายจูง น้องหมาก็จะงง สับสน และตัดสินใจที่จะเดินตามเราไป แทนที่จะเข้าไปที่ที่นอน นั่นแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้จดจำและเข้าใจคำได้ในแบบที่เราสื่อสารกันนั่นเองค่ะ
ในกรณีที่น้องหมาถูกสอนให้ทำแต่นั่ง นอน ยืน เดิน เป็นคำสั่งเชิงอากัปกริยา และ เมื่อถูกฝึกให้รู้จักสิ่งของ พวกเขาก็จะเกิดอาการงง คิดว่าจะทำท่าทางอย่างไร เพราะพวกเขาไม่ได้จดจำว่า “นั่ง” หมายถึงกริยาที่ค่อยๆ ย่อตัวเอาก้นวางไว้กับพื้นหรือวัตถุบางอย่าง แต่จดจำว่า “นั่ง” คือการทำตัวให้ต่ำลงกับพื้น หรือเงื่อนไขที่จะให้ได้ของรางวัล เป็นกฎกติกาที่ต้องทำตามค่ะ หรือถ้าเราเปลี่ยนคำว่า “นั่ง” เป็นคำว่า “สั่ง” เขาก็จะนั่งอยู่ดี สำหรับน้องหมาแล้วเขามักจะจดจำโทนเสียงกับบริบทมากกว่าจะคิดวิเคราะห์ ตีความตามความหมายค่ะ ด้วยเหตุนี้เอง ภาษากายจึงจำเป็นอย่างมากสำหรับน้องหมาที่จะให้เขาเข้าใจความหมายได้ตรงกับเราค่ะ
ถ้าต้องการให้น้องหมาจำคำต่างๆ ได้ควรฝึกย่างไร
อย่างแรกที่ควรมีก็คือความอดทน วินัย และความสุขในการฝึกน้องหมาค่ะ ถึงแม้น้องหมาที่เราเลี้ยงจะไม่ใช่เจ้าบอร์ดเดอร์ คอลลี่น้องหมาที่ฉลาดมากที่สุดในโลก แต่อย่างน้อยที่สุดความสามารถโดยทั่วไปของน้องหมาก็คือ สามารถจดจำคำได้เฉลี่ยประมาณ 165 คำขึ้นไป ซึ่งความสอดคล้องกันของคำ การกระทำ โทนเสียง เป็นกุญแจสำคัญในการฝึกน้องหมาค่ะ อ้อ! แล้วก็ความเข้าใจตรงกันของคนในครอบครัวก็จำเป็นมากๆ เลยนะคะ ไม่ใช่เราบอกว่าน้องหมาว่า “กิน” แต่คุณแม่บอกว่า “ทาน” น้องหมาก็อาจจะงงได้ค่ะ
ส่วนรายละเอียดของการฝึกควรจะฝึกสลับกันทั้งคำกริยา เช่น นั่ง นอน วิ่ง เดิน ถอยหลัง กับคำนามสิ่งของ เช่น สายจูง ขนม กระป๋อง ไม่ควรฝึกคำกริยาให้ครบก่อน แล้วค่อยเป็นคำนามนะคะ เพราะน้องหมาจะอึ้ง ไม่รู้จะทำท่าไหน เพราะเขาเคยชินกับคำสั่งที่เป็นคำบอกกริยาไปแล้ว นอกจากนี้ควรฝึกอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน โดยเริ่มสอนให้น้องหมาเรียนรู้คำสั่งต่างๆ วันละ 2 คำ อาจจะคำที่เคยสอนไปกับคำที่สอนใหม่ก็ได้ค่ะ เพื่อให้น้องหมาหัดแยกแยะความแตกต่าง เริ่มแรกอาจจะงง สับสบ และยากไปบ้างสำหรับเขา แต่ไม่นานเขาก็จะสามารถจำได้ค่ะ ควรสอนให้น้องหมาจำได้เป็นคำๆ ไปนะคะ ไม่ใช่ว่าคำนี้จำไม่ได้สักที เปลี่ยนคำใหม่ดีกว่า ไม่เช่นนั้นเขาจะสับสนนะคะ ^0^
คนที่เลี้ยงน้องหมาแต่ละคนก็มีความผูกพันกับน้องหมาแตกต่างกัน บางคนอาจจะเข้าใจไปว่าน้องหมาสามารถฟังและ เข้าใจคำพูดได้ด้วย แล้วอุปทานไปเองว่าเขาสามารถสื่อสารร่วมกับเราได้ทั้งหมด จนนำไปสู่การตัดสินว่าเขาเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้แน่เลย ซึ่งการเอาความเข้าใจเราไปคิดแทนเขาอาจนำไปสู่การสื่อสาร และการทำความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้น้องหมาเกิดความสับสน กดดัน จนกลายเป็นความเครียดขึ้นมาได้ค่ะ ดังนั้นการที่เรารู้ว่าน้องหมาเข้าใจสิ่งที่เราพูดในระดับใด จะช่วยให้เราเข้าใจเขาอย่างถูกต้อง ไม่คาดคั้นกับพวกเขามากเกินไป และรักเขาในแบบที่เขาเป็นค่ะ สุดท้ายนี้พริกขอปิดด้วยคลิปน่ารักของเจ้าแชสเซอร์หมาสุดฉลาดนะคะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ ^^
บทความโดย : Dogilike.com
ข้อมูลอ้างอิง:
http://animal.discovery.com/pets/can-dogs-understand-what-we-say.htm
http://animal.discovery.com/pets/how-many-words-do-dogs-know.htm
http://www.foxnews.com/story/0,2933,122326,00.html
http://thebark.com/content/do-dogs-understand-our-words
http://www.petlibrary.co.uk/1/do-dogs-understand-human-language/
ภาพประกอบ :
www.moveoneinc.com
nycpooch.marinbezhanov.com
www.dogster.com
www.stepulka.websnadno.cz
www.stepulka.websnadno.cz
www.scotsman.com
www.heraldsun.com.au
SHARES