โดย: aomjyy006

คู่มือจัดการ 5 พฤติกรรมชวนปวดหัวของน้องหมา พร้อมวิธีแก้ !!

พฤติกรรมที่เหล่าชาวทาสต้องกุมขมับ ..

22 ตุลาคม 2563 · · อ่าน (5,143)
116

SHARES


116 shares
  • พฤติกรรมที่ติดตัวมาตามธรรมชาติของน้องหมา อย่างเช่น การเห่า , การขึ้นขี่หรือขึ้นคร่อม หรือการฉี่ไปตามจุดต่าง ๆ เพื่อแสดงอาณาเขต เป็นสิ่งที่เป็นปัญหาของผู้เลี้ยงสุนัข ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ แต่พฤติกรรมเหล่านี้ก็สามารถปรับได้
 
  • การปรับพฤติกรรมที่เจ้าของไม่พึงประสงค์ที่ดีที่สุด คือการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมนั้นก่อนว่าเกิดจากสาเหตุอะไร ซึ่งในบางพฤติกรรมอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจับ หลังจากนั้นจึงค่อยหาวิธีแก้ไข โดยวิธีแก้ไขพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นั้นควรเป็นวิธีเชิงบวก
 

    
      ใครฉี่ไม่เป็นที่ ... ใครไม่ยอมกินข้าว ... ใครเห่าพร่ำเพรื่อไม่รู้จักหยุดหย่อน ... เชื่อว่าหลาย ๆ บ้านต้องเจอกับปัญหาพฤติกรรมสุดป่วนของน้องหมาที่ทำเอาเจ้าของต้องกุมขมับว่าจะจัดการกับปัญหาพฤติกรรมพวกนี้ยังไงดี

     ไม่ต้องกลุ้มใจไปค่ะ วันนี้ด็อกไอไลค์มี คู่มือจัดการ5 พฤติกรรมชวนปวดหัวของน้องหมาที่พบบ่อยสุด ๆ พร้อมด้วยวิธีแก้มาฝากทุกคนด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเล้ยยย ..

 

Dogilike.com :: คู่มือจัดการ 5 พฤติกรรมชวนปวดหัวของน้องหมา พร้อมวิธีแก้ !!


>> เห่าพร่ำเพรือ


     เชื่อว่าผู้เลี้ยงหลาย ๆ คนน่าจะเคยพบเจอกับปัญหานี้ ไม่ว่าจะเป็น ไปรษณีย์ คนขับรถผ่านไปมา คนเดินคนวิ่ง น้องหมาก็จะเห่าตลอด เห่าแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว ขอแค่ฉันได้เห่าก็สบายใจแล้วอะไรแบบนี้ ซึ่งนี่ก็อาจจะสร้างปัญหาให้เจ้าของและเพื่อนบ้านรอบข้างได้ สร้างความรำคาญได้ สาเหตุที่น้องหมาเห่าบางทีก็ทำตามสัญชาตญาณ เห็นอะไร สงสัย ผิดสังเกตอะไร เขาก็จะเห่าออกมา

     หรือในบางตัวอาจมีการวิ่งไล่กัดด้วย หรือบางครั้งก็เป็นการที่น้องหมาไม่ค่อยได้เห็นโลกภายนอก เวลาเจอคนหรือเจออะไรที่ไม่เคยเห็น ก็จะระแวงและเห่าออกมา แต่ถึงอย่างไรเราก็สามารถที่จะฝึกน้องหมาของเราไม่ใช่เห่าพร่ำเพรือได้ค่ะ อาจจะเป็นการห้ามด้วยคำพูด หรือ ให้รางวัลถ้าเขาฟังคำสั่งเรา อ่านเพิ่มเติม>>จัดการปัญหาน้องหมาเห่าพร่ำเพรื่อ


 

 

Dogilike.com :: คู่มือจัดการ 5 พฤติกรรมชวนปวดหัวของน้องหมา พร้อมวิธีแก้ !!



>> คร่อมแขนขา
 

     หลายๆ คนอาจจะเคยพบเจอเหตุการณ์ที่น้องหมามาคร่อมขาเรา หรือคร่อมสิ่งของต่าง ๆ เช่น ตุ๊กตา เราก็จะตกใจนึกว่าน้องหมาเขาจะผสมพันธุ์กับขาเราหรอ ไม่นะ อะไรแบบนี้ อะ ๆ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดคาะทุกครั้ง ความจริงแล้วพฤติกรรมการขึ้นคร่อมในน้องหมาเนี่ย บ่งบอกได้หลายอย่างเลยล่ะค่ะ ทั้งการต้องแสดงอำนาจที่เหนือกว่า การระบายความเครียด แสดงความรู้สึกตื่นเต้น ดีใจสุดขีด หรือเป็นการเรียกร้องความสนใจจากเจ้าของ

     หรือในบางครั้งก็อาจจะเป็นการซ้อมผสมพันธุ์หรือเล่นกันเฉย ๆ โอโห้ มีซ้อมด้วยนะคะ ซึ่งจริงๆ แล้วถือเป็นเรื่องปกติและเป็นสิ่งสำคัญของสัตว์ที่จะมีการฝึกซ้อมพฤติกรรมหรือทักษะต่างๆ สำหรับวิธีแก้ก็มีให้เลือกเยอะเลยค่ะ อ่านเพิ่มเติม>>ไขปริศนา! ทำไมน้องหมาถึงมีพฤติกรรมขึ้นคร่อม

 




Dogilike.com :: คู่มือจัดการ 5 พฤติกรรมชวนปวดหัวของน้องหมา พร้อมวิธีแก้ !!
 


>> เลือกกิน


     อันนู้นก็ไม่เอา อันนี้ก็ไม่ชอบ เจ้าของอย่างเรา ๆ นี่ก็ต้องมีหนักใจก็บ้างใช่มั้ยคะกับพฤติกรรมแบบนี้ บางครั้งเป็นอาหารที่ทั้งดีและมีคุณภาพ น้องหมาก็สบัดก้นหนีไม่ยอมกินซะอย่างนั้น สาเหตุอาจมาจากรูปแบบวิธีการเลี้ยงดูเจ้าของ น้องหมามีปัญหาสุขภาพช่องปาก สภาพอากาศและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกินของน้องหมา พฤติกรรมการกินอาหารของน้องหมานั้น ส่วนมากจะมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงดูของผู้เลี้ยง

     หากเริ่มต้นด้วยการให้อาหารคน เช่น ไก่ย่าง ตับย่าง น้องหมาก็จะติดกลิ่นนั้น เมื่อเราเปลี่ยนเป็นอาหารสำหรับรูปในน้องหมา เขาก็เฉยเมย เบื่ออาหารหรือเลือกกินแต่อันที่ชอบ จะเห็นได้ว่าการเลี้ยงที่ตามใจ อาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีให้แก่น้องหมาได้ค่ะ สำหรับการแก้ก็ควรจะแก้ที่ต้นเหตุค่ะ อ่านเพิ่มเติม>>น้องหมากินยาก เบื่ออาหาร ... ปัญหาสุดหนักใจกับวิธีจัดการที่ได้ผล !


 


Dogilike.com :: คู่มือจัดการ 5 พฤติกรรมชวนปวดหัวของน้องหมา พร้อมวิธีแก้ !!

 


>> ทำลายข้าวของ


     รองเท้าที่เพิ่งซื้อมา ผ่านไปวันเดียว กลายเป็นซากไปซะแล้ว ไหนจะโซฟาสุดหรูที่เป็นรูและของอื่นที่พังเพราะน้องหมาจอมทำลาย ซึ่งนิสัยแบบนี้ไม่ใช่ว่าน้องหมาทุกตัวจะเป้นนะคะ เกิดขึ้นเฉพาะกับน้องหมาบางตัวหรือบางสายพันธุ์ที่อาจจะซุกซนบ้าง พฤติกรรมการทำลายก็มีหลายขั้นตั้งแต่เล็กน้อย จนถึงมาก หรืออาจมีอาการก้าวร้าว วิตกกังวลหรือกลัวร่วมด้วย ซึ่งพฤติกรรมแต่ละอย่างอาจจะส่งผลเกี่ยวสุขภาพของน้องหมาได้ ทั้งเกี่ยวกับ ฟัน หรือ ผิวหนัง ระบบย่อยอาหารต่าง ๆ 

     ซึ่งสาเหตุก็มีทั้งความวิตกกังวลที่ถูกทิ้งให้อยู่ตัวเดียว เบื่อที่ถูกทิ้งให้อยู่ตัวเดียวเป็นเวลานาน การเรียกร้องความสนใจหรือความกลัว ซึ่งวิธีแก้ไขคือ การให้เวลา เอาใจใส่น้องหมาให้มากขึ้น พาเขาออกไปเดินเล่นเพื่อลดความเครียดบ้าง หากเขากลัวควรสังเกตพฤติกรรมน้องหมาเพื่อหาสาเหตุว่าเขากลัวสิ่งอะไร อย่าโอ๋แต่ควรใช้การเบี่ยงเบนความสนใจ ออกคำสั่งและเมื่อเขาทำสำเร็จก็ให้รางวัลเป็นสิ่งตอบแทน แต่สิ่งที่ไม่ควรทำเลยก็คือ การลงโทษ เพราะน้องหมาจะไม่

     เข้าใจได้ว่าโดนลงโทษเพราะอะไร แต่จะเข้าใจว่าโดนลงโทษในตอนนี้โดยที่ไม่ได้ทำอะไรผิด หลายคนมองว่าน้องหมาจะรู้สึกผิดได้ อาจเพราะเขาแสดงท่าทีที่เหมือนว่ารู้สึกเศร้าหรือเสียใจ แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ ที่น้องหทามาทำท่าทางแบบนั้นเพราะ เขารู้สึกถูกคุกคามจากการที่เจ้าของใช้น้ำเสียง สีหน้า หรือท่าทางที่ดุดันน่ากลัวนั่นเอง อ่านเพิ่มเติม>>3 สาเหตุและวิธีการแก้ไขอาการชอบกัดแทะของน้องหมา


 

 

Dogilike.com :: คู่มือจัดการ 5 พฤติกรรมชวนปวดหัวของน้องหมา พร้อมวิธีแก้ !!


>> ขับถ่ายไม่เป็นที่


     ปัญหาการอึหรือฉี่เรี่ยราด เป็นปัญหาที่เจ้าของหลาย ๆ คนพบบ่อยมาก ทั้งหมาตัวโต หมาตัวเล็ก หมาเด็กหรือหมาแก่ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ก็อาจจะสร้างความลำบากในการทำความสะอาด ส่งกลิ่นเหม้นและสร้างความสกปรกอีกด้วย  แต่ถึงอย่างไรเราก้ต้องเข้าใจก่อนว่า น้องหมาเนี้ยจะมีการสร้างอาณาเขตของตัวเอง หลายครั้งที่เมื่อสร้างตรงนี้แล้วก็มีโอกาสสูงที่จะกลับมาสร้างที่เดิมอีก .. ซะงั้น เพราะเป็นกลิ่นที่คุ้นเคยนั่นเองค่ะ สำหรับการแก้ไขปัญหานี้ก็มีหลายวิธีเลยค่ะ

     ทั้งจากการสังเกตพฤติกรรมเมื่อน้องหมาแสดงท่าทางว่าจะขับถ่ายในที่ที่ไม่ถูกต้อง เราจะได้ห้ามเขาได้ หรือจะเป็นการเตรียมที่สำหรับขับถ่ายให้น้องหมาโดยเฉพาะ จะทำให้น้องหมารู้ว่าควรฉี่หรืออึตรงไหน หรืออาจจะเป็นการใช้คำสั่ง เช่น เมื่อพาเขา ไปในที่ที่ฉี่ได้ ก็ให้ใช้คำสั่งเพื่อให้น้องหมาทำธุระส่วนตัว  น้องหมาก็จะจดจำคำสั่งได้ค่ะ หรือจะเป็นวิธีการที่แปลกใหม่ อย่างเช่น การใช้พริกไทยจัดการกับพฤติกรรมเหล่านี้ สงสัยใช่มั้ยคะว่าทำได้ด้วยหรอ ต้องทำอย่างไร ไปอ่านเพิ่มเติม>>จัดการพฤติกรรมขับถ่ายไม่เป็นที่ของน้องหมาด้วย "พริกไทย"


     ทีนี้ก็รู้กันแล้วนะคะ ว่าเราจะจัดการอย่างไรเมื่อน้องหมาทำพฤติกรรมชวนปวดหัวเหล่านี้ แต่อย่างไรก็ดี ขอย้ำว่าการลงโทษก็ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ดีนะคะ อยากให้ทุก ๆ คนนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้กันเนอะ เพื่อความสุขของทั้งเราแล้วก็น้องหมาค่ะ .. 

 

 

บทความโดย: Dogilike.com
http://www.dogilike.com/


ที่มาและภาพประกอบ :
https://cdn.newsapi.com.au/image/v1/1105e5e997082eb9c0a6842431368002?width=1024