โดย: Tonvet
รู้ก่อนพาน้องหมาไปหาหมอ ค่ารักษาและบริการในสถานพยาบาลสัตว์
รู้ที่มาที่ไป ทำไมค่ารักษาสัตว์แต่ละแห่งถึงไม่เท่ากัน เตรียมความพร้อมก่อนพาน้องหมาไปหาคุณหมอ
24 มิถุนายน 2562 · · อ่าน (159,423)
- กรมปศุสัตว์ได้ประกาศค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการในสถานพยาบาลสัตว์ ซึ่งครอบคลุมถึง ค่าทำหมัน ค่าเวชกรรมป้องกัน และค่าตรวจวินิจฉัย โดยมีราคาละเอียดของนิยามและลักษณะแจงไว้โดยละเอียด
- ทั้งหมดเป็นรายการที่ให้เจ้าของสัตว์หรือผู้รับบริการได้ทราบเท่านั้น ทั้งนี้ค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการจริงขึ้นอยู่กับการให้บริการของแต่ละสถานพยาบาลสัตว์ซึ่ีงมีรายละเอียดและต้นทุนไม่เท่ากัน ผู้ใช้บริการควรสอบถามไปยังสถานพยาบาลสัตว์ที่จะพาน้องหมาไปรักษาโดยตรงจะดีที่สุด
เพราะสุนัขเป็นสัตว์ที่มีค่า ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าขนม ค่าของเล่น หรือแม้แต่ค่ารักษาพยาบาล จริง ๆ แล้วค่ารักษาพยาบาลอาจไม่ใช่ค่าใช้จ่ายหลักในการเลี้ยงสุนัข เพราะสุนัขเองก็คงไม่ได้ป่วยทุกวัน หากเราเน้นเลี้ยงสุนัขในเชิงป้องกันโรค อย่างมากก็จะมีแค่ค่าวัคซีน ค่ายาป้องกันเห็บ ค่ายาฆ่าพยาธิหนอนหัวใจ และยาถ่ายพยาธิ ซึ่งคิดโดยเฉลี่ยอาจไม่เกิน 1,000-2,000 บาทต่อตัวต่อปี เมื่อรวมกับค่าผ่าตัดทำหมันซึ่งทำครั้งเดียวตลอดชีวิตแล้ว ก็นับว่าไม่ได้สูงนักหากเทียบกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
แต่หากเมื่อใดที่น้องหมาเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา ก็อาจต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น บางรายอาจสูงเป็นหมื่นทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโรคและความผิดปกติที่เป็น รวมถึงระยะเวลาที่ต้องใช้ในการรักษา แม้จะรักษาด้วยความผิดปกติเดียวกัน แต่ละตัวก็อาจมีค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากันได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดในการรักษาโรคของสัตว์ป่วยแต่ละตัว เพื่อน ๆ หลายคนก็คงจะมีความกังวลไม่น้อย เกี่ยวกับเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสัตว์ เพราะสถานพยาบาลสัตว์แต่ละแห่งก็อาจต่างกันไป บทความนี้จึงอยากพาไปดูกันว่า ลักษณะและรายละเอียดของรายการค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการในสถานพยาบาลสัตว์นั้น ทางกรมปศุสัตว์ได้วางกรอบเอาไรเท่าไรกันบ้าง เพื่อเป็นแนวทางและข้อควรรู้ก่อนพาน้องหมาไปหาหมอครับ
นิยามและลักษณะของค่ารักษาและบริการในสถานพยาบาลสัตว์
ก่อนอื่นเลยเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการในสถานพยาบาลสัตว์ นั้นมีขอบเขตระบุถึงเรื่องใดบ้าง เพราะตามประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง ลักษณะและรายละเอียดของรายการค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการในสถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ. 2562 นั้น มีการระบุเอาไว้ชัดเจนถึงความหมายและขอบข่ายในค่ารักษาแต่ละรายการเอาไว้อย่างละเอียด ดังนี้
“ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการสัตวแพทย์” หมายความว่า ค่าบริการการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ค่าตรวจทางโลหิตวิทยา ค่าตรวจเคมีโลหิตพื้นฐาน ค่าตรวจปัสสาวะ ค่าตรวจทางปรสิตวิทยา เป็นต้น โดยให้คิดค่าบริการรวมค่าอุปกรณ์ในการจัดเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ไม่รวมค่าบำรุงรักษาเครื่อง ค่าเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจ (ถ้ามี) เป็นต้น
ค่ารักษาและบริการในสถาพยาบาลสัตว์ในแต่ละรายการ
ต่อไปนี้เป็นประกาศตามบัญชีแนบท้ายของค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการในสถาพยาบาลสัตว์ โดยแยกเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละรายการโดยมีรายละเอียด ดังนี้
ขอเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดนี้เป็นรายการที่ให้เจ้าของสัตว์หรือผู้รับบริการได้ทราบเท่านั้น ค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการจริงขึ้นอยู่กับ การให้บริการของแต่ละสถานพยาบาลสัตว์แต่ละแห่งด้วย
ทำไมค่ารักษาพยบาลและค่าบริการของแต่ละสถานพยาบาลสัตว์แต่ละแห่งจึงไม่เท่ากัน
เป็นหลักการง่าย ๆ ที่ทำไมสถานพยาบาลสัตว์แต่ละแห่งจึงไม่เท่ากัน นั้นก็เพราะว่า "ต้นทุนของแต่ละแห่งไม่เท่ากัน" ขอยกตัวอย่างในเห็นภาพ กรณีเราพาสุนัขหนึ่งตัวไปผ่าตัดทำหมัน แต่ค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน นั้นก็เพราะว่า การทำหมันนั้นมีรายละเอียดอีกมากมาย ไม่ได้มีแค่ค่าทำหมันเพียงอย่างเดียว เริ่มตั้งแต่ค่าตรวจเลือดเพื่อประเมินสุขภาพก่อนการวางยาสลบ ตรงนี้ถ้าเราไม่ตรวจเลือด ก็ต้องยอมรับความเสี่ยง หากสุนัขร่างกายไม่แข็งแรง แล้ววางยาสลบไปก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งสัตวแพทย์ส่วนใหญ่อาจปฏิเสธไม่ทำผ่าตัดให้ หากเจ้าของไม่ยอมให้สุนัขตรวจเลือดก่อนผ่าตัด ต่อมาเป็นขั้นตอนการวางยาสลบและการประคองการสลบ ถ้าเลือกใช้ยาสลบประเภทฉีดในการประคองการสลบก็จะราคาถูกกว่า แต่การใช้การดมยาสลบนั้นก็จะมีความปลอดภัยสูง และสุนัขจะฟื้นตัวจากการสลบได้เร็วกว่า แน่นอนว่าย่อมมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า
เรื่องอุปกรณ์ผ่าตัด หากเลือกใช้การฆ่าเชื้อโดยการอบฆ่าเชื้อ ก็จะมีต้นทุนสูงกว่าการที่เอาอุปกรณ์ผ่าตัดแช่ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แม้แต่วัสดุเย็บแผลผ่าตัด อย่างไหมเย็บก็มีหลายประเภท หลายเกรด ราคาก็แตกต่างกันไป บางสถานพยาบาลเลือดใช้วัสดุเย็บอย่างดี ราคาต้นทุนจึงสูงกว่า การให้สารน้ำระหว่างการผ่าตัด การเลือดใช้ยาฆ่าเชื้อ และยาลดปวด ระหว่าง ก่อน และหลังการผ่าตัด ก็มีต้นทุนไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นยาที่ผลิตขึ้นใช้สำหรับสัตว์โดยเฉพาะราคาก็จะสูงกว่ายาคน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสถานที่ มาตราฐานห้องผ่าตัด ความปลอดเชื้อ อุปกรณ์ติดตามสัญญาณชีพ เครื่องวัดความดันโลหิต ผ้าปูรองปรับอุณหภูมิ และทีมสัตวแพทย์ที่อาจมีทั้งคุณหมอผ่าตัด คุณหมอผ่าตัดผู้ช่วย คุณหมอวางยา ผู้ช่วยสัตวแพทย์ ฯลฯ ซึ่งถ้าต้องใช้บุคคลากรหลายคน ก็ย่อมมีต้นทุนสูงกว่าการใช้สัตวแพทย์ผ่าตัดเพียงคนเดียว ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ก็ย่อมสะท้อนมาถึงความปลอดภัยของสุนัขที่เข้ารับการผ่าตัดด้วย อย่างไรก็ดีสัตวแพทย์ย่อมคำนึงถึงคุณภาพและมาตราฐานตามวิชาชีพเป็นสำคัญเสมอ
การรักษาเรื่องอื่น ๆ ก็เช่นกัน อาจมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายจึงต่างกันไปตามต้นทุน ดังนั้นเพื่อน ๆ ที่จะพาน้องหมาไปหาคุณหมอ ควรจะสอบถามค่าใช้จ่ายกับสถานพยาบาลที่จะพาไปรักษาโดยตรงจะดีที่สุด ให้ทางสถานพยาบาลสัตว์จะได้ทำการประเมินค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ให้เราทราบก่อน เราจะได้ตัดสินใจได้ถูกต้องไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลังครับ
www.dogilike.com
http://certify.dld.go.th/certify/images/laws/Slaugtherhouse/Y2562/T0043/T_0043.PDF
ภาพประกอบ :
SHARES