โดย: Tonvet

สงสัยไหม? ถ้าสุนัขกินน้ำทะเล แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเขา

มาตามหาคำตอบกันว่าน้ำทะเลมีผลอย่างไรต่อร่างกายของน้องหมาสุนัขบ้าง

27 ตุลาคม 2557 · · อ่าน (36,277)
2,722

SHARES


2,722 shares

Dogilike.com :: สงสัยไหม? ถ้าสุนัขกินน้ำทะเล แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเขา

     
     เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในโลกออนไลน์ได้มีการแชร์ข้อสอบรับตรง58 โดยเป็นคณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร วิชาวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สอบเมื่อวันที่ 18 ต.ค.57 ...

     ข้อสอบข้อนี้มีคำถามว่า "ถ้าสุนัขกินน้ำทะเล จะเป็นอย่างไร?" โดยมีคำตอบให้เลือกทั้งหมด 5 ข้อ คือ   
 
Dogilike.com :: สงสัยไหม? ถ้าสุนัขกินน้ำทะเล แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเขา

     จากคำถามข้อนี้ก็มีน้อง ๆ หลายคนเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับคำตอบที่ถูกต้อง ... เห็นข้อสอบข้อนี้แล้ว เพื่อน ๆ ซึ่งเป็นคนรักและคนเลี้ยงสุนัขก็อยากจะทราบเหมือนกันใช่ไหมล่ะครับว่า เวลาเราพาสุนัขของเราไปเล่นทะเลแล้วพวกเขากินน้ำทะเลเข้าไปแล้วจะเป็นอย่างไร วันนี้ผมหมอต้นมีคำตอบมาให้ครับ
 
Dogilike.com :: สงสัยไหม? ถ้าสุนัขกินน้ำทะเล แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเขา

     สำหรับคำตอบของคำถามนี้ ตอบข้อ 4. ครับ เหตุผลก็เพราะว่า ...

     ในน้ำทะเลจะมี โซเดียม (Na) เป็นส่วนประกอบ เวลาร่างกายได้รับโซเดียมเข้าสู่ร่างกายมาก ๆ จะเกิดภาวะโซเดียมในกระแสเลือดสูง (Hypernatremia) ทำให้แรงดันออสโมติกภายนอกเซลล์ หรือ plasma osmolality สูงขึ้น สุนัขที่เกิดภาวะโซเดียมในกระแสเลือดสูง จะไม่ตายทันที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและความเร็วของการเพิ่มระดับโซเดียมในกระแสเลือดด้วย
 

Dogilike.com :: สงสัยไหม? ถ้าสุนัขกินน้ำทะเล แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเขา

 
     ร่างกายจะมีกลไกลรักษาสมดุล โดยพยายามใช้น้ำเข้าไปลด plasma osmolality ด้วยการดึงน้ำจากภายในเซลล์ออกมาอยู่ภายนอกเซลล์ (เข้ามาอยู่ในเส้นเลือด) ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้เซลล์ขาดน้ำ ซึ่งตามปกติแล้วร่างกายจะมีกลไกลป้องกันเซลล์ขาดน้ำอยู่แล้ว โดยเฉพาะกับเซลล์สมอง เพื่อไม่ให้เซลล์สมองขาดน้ำ เซลล์สมองจะรักษาแรงดันออสโมติกไว้ พยายามดึงน้ำอยู่ภายในเซลล์ให้ได้มากที่สุด
 

Dogilike.com :: สงสัยไหม? ถ้าสุนัขกินน้ำทะเล แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเขา

 
     ระหว่างนี้ร่างกายจะมีการส่งสัญญาณไปยังศูนย์ควบคุมการหิวน้ำ (thirsty center) กระตุ้นให้ร่างกายดื่มน้ำ นอกจากนี้ยังมีการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน ADH (Antidiuretic hormone) เพื่อยับยั้งการปัสสาวะ จะได้ช่วยรักษาน้ำในร่างกายไว้อีกทางหนึ่งด้วย
 
     แต่พอมีปริมาณน้ำในหลอดเลือดมาก ๆ เข้าก็อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้น กระบวนการ RAAS system* จึงลดลง  ผลคือ ฮอร์โมน aldosterone ก็เลยหลั่งลดลงตามไปด้วย น้ำและโซเดียมจึงไม่ถูกดูดกลับที่ท่อหน่อยไต ถึงเวลาที่ร่างกายต้องปรับสมดุลอีกครั้ง เพื่อขับน้ำและโซเดียมส่วนเกินออกไป น้ำเลยผ่านการกรองที่ไตออกมามาก ปัสสาวะก็เลยมากตามเช่นเดียวกับโซเดียมที่มีมากจนเกินพิกัดที่ไตจะดูดกลับไว้ได้ ก็จะถูกขับถ่ายออกมาจากร่างกายพร้อมกับน้ำนั่นเอง สุดท้าย plasma osmolality จะค่อย ๆ ลดลง น้ำในหลอดเลือดจะค่อย ๆ ลดลง และความดันโลหิตก็จะลดลง ... กลับสู่ภาวะสมดุล
 

Dogilike.com :: สงสัยไหม? ถ้าสุนัขกินน้ำทะเล แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเขา

 
     จะเห็นได้ว่าร่างกายมีการปรับสมดุลของตัวเองอยู่ตลอดเวลา เมื่อกินน้ำทะเลเข้าไป ร่างกายมีโซเดียมสูง ก็จะกระตุ้นให้ดื่มน้ำ แต่หากสุนัขตัวนั้นถูกขัง ไม่สามารถดื่มน้ำได้ สุนัขที่มีระดับโซดียมเพิ่มสูงมาก ๆ ก็อาจมีอาการซึม อ่อนแรง ชัก เกร็ง โคม่า และเสียชีวิตได้ วิธีการรักษา คือ จะต้องให้สุนัขกินน้ำเปล่าอย่างช้า ๆ ต้องค่อย ๆ ลด plasma osmolarity ลง ลดภาวะเซลล์ขาดน้ำ และลดโซเดียมในกระแสเลือดลง เพราะถ้าหากให้เร็วเกินไป เซลล์สมองก็อาจกลับกลายเป็นบวมน้ำได้ เพราะมีความสามารถในการรักษาแรงดันออสโมติกไว้ดังกล่าว

     สรุปแล้วนะครับ คำตอบของข้อสอบข้อนี้ก็คือ ข้อ 4. สุนัขจะหิวน้ำ เพราะเมื่อสุนัขกินน้ำทะเลเข้าไปแล้ว จะทำให้มีการเพิ่มระดับของโซเดียมในกระแสเลือด เป็นผลให้สุนัขเกิดภาวะโซเดียมในกระแสเลือดสูง กลไกในร่างกายก็จะดึงน้ำจากในเซลล์เข้าไปอยู่ในเส้นเลือด เซลล์ก็เลยขาดน้ำ และพอเซลล์ขาดน้ำ กลไกในร่าางกายก็จะกระตุ้นให้ทำให้ร่างกายของสุนัขต้องการน้ำเพื่อรักษาสมดุล ซึ่งก็จะเป็นผลให้พวกเขากินน้ำสะอาดในปริมาณที่เยอะขึ้นนั่นเองครับ
 
 
     *หมายเหตุ กระบวนการ RAAS system เป็นระบบที่ร่างกายใช้ช่วยเพิ่มความดันโลหิตกระบวนการนี้จะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่ง ฮอร์โมน aldosterone จากต่อมหมวกไตมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้จะมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและโซเดียม โดยทำมีหน้าที่เพิ่มการดูดกลับของน้ำและโซเดียม ที่ distal tubuleและ collecting duct เพื่อลดการขับทิ้งของโซเดียม
 


 
บทความโดย: หมอต้น ด็อกไอไลค์
น.สพ.ธีรภาพ มุสิกานนท์
 
 
 
รูปภาพประกอบ:
www.thenotoriousdog.co.uk
www.oceanplasma.org
www.austincc.edu
www.commons.wikivet.net
http://www.zastavki.com/eng/Animals/Dogs/wallpaper-36851.htm
http://www.dek-d.com/board/view/3397208/