โดย: Tonvet
Cynophobia โรคคนกลัวสุนัข ไม่ใช่เรื่องแปลก
เรียนรู้และเข้าใจคนกลัวสุนัข และแนวทางบำบัด เพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและสุนัขอย่างมีความสุข
2 พฤษภาคม 2562 · · อ่าน (8,210)- โรคกลัวสุนัขนี้ เป็นความกลัวแบบจำเพาะ (Specific Phobia) คือ ความกลัวอย่างรุนแรงต่อวัตถุ สัตว์ หรืออะไรบางอย่างเป็นการเฉพาะเจาะจง มีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคนี้
- ผู้ป่วยจะมีอาการหน้ามืด ตัวสั่น ใจสั่น เหงื่อตก ยืนนิ่ง ทำตัวไม่ถูก มือเท้าเย็น อาจถึงขั้นร้องไห้ออกมา หรือคลื่นไส้อาเจียนออกมาได้เลยเมื่อเจอสุนัข
- การบำบัดจะเป็นการปรับเปลี่ยนวิธีความคิดและทัศคติใหม่ที่มีต่อน้องหมา และฝึกความคุ้นชินที่ละน้อย ๆ เพื่อให้ผู้บำบัดรู้สึกผ่อนคลาย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสุนัข จนสุดท้ายสามารถเปิดใจและสามารถอยู่ร่วมกับสุนัขได้เช่นเดียวกับผู้อื่น
"สุนัขของคุณไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน" บางคนอาจจะชอบแมวมากกว่าสุนัข แต่ก็ไม่ถึงขั้นที่กลัวสุนัขหรือเข้าใกล้สุนัขไม่ได้ แต่ก็มีบางคนที่เพียงแค่เห็นสุนัข ก็อาจถึงขั้นหวาดกลัวอย่างบอกไม่ถูกได้ เหมือนการที่คนกลัวความสูงหรือกลัวอะไรสักอย่างทำนองนั้น ความกลัวเช่นนี้อาจจัดเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งได้ จำเป็นจะต้องได้รับการดูแลรักษา เราเรียกว่า Cynophobia หรือ โรคกลัวสุนัข
รู้จักโรคกลัวสุนัข
สำหรับผู้ป่วยที่แสดงอาการเช่นนี้ อาจเกิดจากการที่เคยได้รับประสบการณ์อันเลวร้ายมาในอดีต เช่น ถูกสุนัขไล่ทำร้าย เคยเห็นสุนัขทำร้ายคนรอบข้าง ฯลฯ จนกลายเป็นความกลัวที่ฝังลึกในใจ สำหรับคนทั่วไปอาจจะมองว่าสุนัขเป็นสัตว์ที่น่ารัก แต่สำหรับผู้ที่กลัวสุนัขแล้ว สุนัขอาจทำให้เขาไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้เลยทีเดียว เป็นความหวาดกลัวอย่างที่ไม่สามารถหักห้ามใจหรือควบคุมตัวเองไม่ให้กลัวได้เลย แม้สุนัขตัวนั้นจะเป็นสุนัขตัวเล็ก ขนฟู และน่ารักในสายตาของคนทั่วไปก็ตาม
คนแต่ละคนอาจมีความกลัวสุนัขไม่เท่ากัน แต่สำหรับผู้ที่ป่วยแล้ว จะมีถึงขั้นมีอาการหน้ามืด ตัวสั่น ใจสั่น เหงื่อตก ยืนนิ่งทำตัวไม่ถูก มือเท้าเย็น อาจถึงขั้นร้องไห้ออกมา หรือคลื่นไส้อาเจียนออกมาเลยก็ได้ เป็นอาการที่ไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตตามปกติ ความกลัวเช่นนี้หลายคนอาจจะมองเป็นเรื่องแปลกและดูไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไร แต่สำหรับผู้ที่ป่วยแล้วมันไม่เป็นเช่นนั้นเลย
โดยทั่วไปเราจัดการกลัวสุนัขนี้ เป็นความกลัวแบบจำเพาะ (Specific Phobia) คือ ความกลัวอย่างรุนแรงต่อวัตถุ สัตว์ หรืออะไรบางอย่างเป็นการเฉพาะเจาะจง มีคนจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคนี้ คนกลัวหมาต่างกับคนที่รังเกลียดหมา ความรุนแรงของความกลัวของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน บางคนแค่เห็นภาพหรือตุ๊กตาก็ไม่ได้เลย บางคนอาจเห็นสุนัขไกล ๆ ยังพอไหว แต่ให้สัมผัสตัวสุนัขนั้นคงไม่อาจทำได้ แม้ในใจอยากที่จะเอาชนะความกลัวเพื่อไปเผชิญหน้ากับสุนัข แต่ก็ไม่สำเร็จสักที ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายเช่นนี้ หากปล่อยให้อาการดำเนินไปเรื่อย ๆ โดยไม่ไปพบจิตแพทย์ อาจกลายเป็นความกลัวที่เรื้อรังจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้เลย
การรับมือกับโรคกลัวสุนัข
การรับมือกับควากลัวสุนัขจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากจิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ อาจไม่ใช่เรื่องยากที่จะเอาชนะความกลัวนี้ แต่ต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควร การบำบัดนั้นจะใช้วิธีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม โดยอาจจะใช้วิธีการพูดคุยในระหว่างผู้ที่ให้การบำบัดและผู้รับบำบัดในระดับที่เท่าเทียมกัน เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา และสร้างความเข้าใจปัญหา ที่มาที่ไปของปัญหา ส่วนมากจะเป็นการตั้งคำถาม เพื่อให้ผู้รับการบำบัดค้นพบความคิดใหม่ ๆ เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีความคิดและทัศคติที่มีต่อน้องหมา เพื่อที่จะช่วยลดความกลัวได้ต่อไปด้วยตัวของผู้ป่วยเอง โดยอาศัยความเข้าใจและปรับมุมมองใหม่
โดยทำร่วมกับการใช้วิธีการค่อย ๆ ลดความกังวลจากการฝึกความคุ้นชินที่ละน้อย ๆ เพื่อให้ผู้บำบัดรู้สึกผ่อนคลาย เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว อาจต่างกันไปขึ้นกับความรุนแรงของแต่ละคน เป็นการได้รับการบำบัด โดยเริ่มจากการที่ลองได้ดูรูปสุนัขน่ารัก ตุ๊กตาสุนัขน่ารัก หรือภาพเคลื่อนไหวของสุนัขก่อน จากนั้นจึงค่อยพอกับสุนัขตัวจริง ๆ ในระยะห่าง ๆ แล้วจึงค่อย ๆ ลดระยะห่างลงมาเรื่อย ๆ เมื่อผู้ป่วยเกิดความคุ้นชินและเปิดใจย่อมรับสุนัขมากขึ้น ส่วนการรักยาด้วยทางยาจะขึ้นกับดุลยพินิจของจิตแพทย์ซึ่งอาจมีการใช้ควบคู่กับการบำบัดพฤติกรรมร่วมกับไปในบางราย
ความกลัวสุนัขไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ เลยสำหรับผู้ป่วย เพราะความกลัวเช่นนี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ สำหรับใครที่กำลังเป็นอยู่หรือมีคนใกล้ตัวที่กำลังเป็นเช่นนี้อยู่ ก็อยากแนะนำให้ลองปรึกษากับจิตแพทย์ดูนะครับ เพื่อที่คนและสุนัขจะได้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
น.สพ.ธีรภาพ มุสิกานนท์
http://family.dogilike.com/tonvet/
ข้อมูลอ้างอิงบางส่วน:
https://www.psycom.net/cynophobia-fear-of-dogs/
รูปภาพประกอบ:
http://comodejar.info/wp-content/uploads/2015/02/cynophobia_4.jpg
https://blog.bichomania.es/wp-content/uploads/2014/05/miedo-a-los-perros-1.jpg
https://www.flexpetz.com/blog/wp-content/uploads/2018/01/fearofdogs.jpg
https://www.abc.net.au/news/image/8451556-3x2-700x467.jpg
SHARES