โดย: Tonvet
นวัตกรรมคัดกรองมะเร็งในสุนัขแบบใหม่ ง่าย รู้เร็ว ไม่แพง
มาดูวิธีการคัดกรองมะเร็งรูปแบบใหม่ในสุนัข ว่าทำอย่างไร ทำไมถึงง่าย รู้เร็ว และราคาไม่แพง
4 มกราคม 2564 · · อ่าน (4,133)
- ปัจจุบันมีการใช้หลักการทางภูมิคุ้มกันวิทยาที่อาศัยปฏิกิริยาการจับแบบเฉพาะระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดีโดยใช้เอนไซม์หรืออีไลซ่า (ELIZA) มาใช้ในการตรวจคัดกรองหาชนิดของมะเร็งในสุนัขเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว
- โดยเป็นการตรวจวัดนิวคลีโอโซมจากเซลล์มะเร็งที่ปล่อยออกมาสู่กระแสเลือด โดยใช้แอนติบอดีจำเพาะมาจับกับนิวคลีโอโซมดังกล่าว ปัจจุบันสามารถระบุหาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็ง hemangiosarcoma ในสุนัขได้ผลแม่นยำค่อนข้างสูงเธค อุเทนสโตร์อินดอร์ มั้งบริกรหล่อฮังก้วยอีสต์อิออน ซัพพลายเออร์อุตสาหการแม่ค้าสามแยก เห็นด้วยคาราโอเกะ แก๊สโซฮอล์คีตราชัน เทป แกรนด์จิ๊กโก๋ คองเกรสบลูเบอร์รี่ตนเอง เป่ายิ้งฉุบ โยโย่โอยัวะชัตเตอร์พาร์ คีตราชัน คูลเลอร์ไตรมาสสะเด่าแพนงเชิญ จิตพิสัยพิซซ่าสตรอว์เบอร์รีเบญจมบพิตรแซว โปรดิวเซอร์ปฏิสัมพันธ์เจลขั้นตอนออทิสติก มาม่าบร็อคโคลีวานิลา
มะเร็ง ถือเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตสุนัขจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี สุนัขที่มีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงป่วยเป็นมะเร็งได้มากกว่าวัยอื่น ๆ มะเร็งในสุนัขนั้นก็มีหลายชนิดด้วยกัน การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งนั้น จำเป็นต้องใช้วิธีการและเครื่องไม้เครื่องมือหลายอย่างร่วมกัน เพื่อตรวจหาชนิดของเซลล์มะเร็ง อาจจำเป็นต้องทำการตรวจเซลล์และชิ้นเนื้อ รวมถึงต้องมีการใช้เครื่องเอกซเรย์ อัลตร้าซาวด์ CT Scan หรือ MRI เพื่อระบุหาตำแหน่งและขอบเขตของเซลล์มะเร็งที่เกิดตามอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายด้วย ซึ่งแต่ละวิธีก็มีระยะเวลาในการตรวจและค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป
ปัจจุบันนี้ก็มีการคิดค้นวิธีใหม่ๆ เพื่อช่วยให้สัตวแพทย์ใช้คัดกรองสุนัขที่ต้องสงสัยว่า อาจป่วยเป็นโรคมะเร็งได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น นักวิจัยจึงได้หยิบยกวิธีการตรวจแบบอีไลซ่า (ELIZA) ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองภาวะการติดเชื้อ สารพิษจากจุลชีพและยา และความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย โดยใช้หลักการทางภูมิคุ้มกันวิทยา ที่อาศัยปฏิกิริยาการจับกันแบบจำเพาะระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดีโดยใช้เอนไซม์ ซึ่งวิธีนี้เป็นการตรวจที่ง่าย รวดเร็ว และได้ผลค่อนข้างแม่นยำ
หลักการคือ เซลล์มะเร็งเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน ทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตอย่างผิดปกติและไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อสุนัขป่วยเป็นมะเร็ง นิวคลีโอโซมจากเซลล์มะเร็งจะถูกปล่อยออกมาสู่กระแสเลือด ซึ่งนิวคลีโอโซมของเซลล์มะเร็งนั้นจะมีโครงสร้างแตกต่างจากเซลล์ที่ปกติ เราสามารถวัดนิวคลีโอโซมเหล่านี้ได้ โดยใช้แอนติบอดีที่จำเพาะเจาะจงกับนิวคลีโอโซมดังกล่าว (nucleosomic markers) ซึ่งวิธีนี้จะใช้เป็นการคัดกรองเบื้องต้นเท่านั้น ก่อนที่จะใช้การตรวจเซลล์หรือชิ้นเนื้อเพื่อเป็นการยืนยันอีกที
จากการศึกษาทดสอบในสุนัขจำนวน 330 ตัว ผลการทดสอบมีจำเพาะเจาะจงแม่นยำ สามารถระบุมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ถึง 74% และมะเร็ง hemangiosarcoma ได้ถึง 89% เมื่อเทียบกับสุนัขกลุ่มควบคุมซึ่งมีสุขภาพปกติ ซึ่งมะเร็งเหล่านี้สามารถพบได้เป็นจำนวนถึงหนึ่งในสามของสุนัขที่ป่วยเป็นมะเร็งทั้งหมด
สัตวแพทย์สามารถใช้วิธีการเช่นนี้ ในการตรวจคัดกรองมะเร็งในสุนัขที่มีอายุมาก หรือสุนัขพันธุ์กลุ่มเสี่ยง ที่มาเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีพร้อมกับการเจาะเลือดตรวจสุขภาพอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกับในคน ซึ่งการตรวจพบได้ก่อน ก็ย่อมเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของสุนัข และยังทำให้คุณภาพชีวิตของสุนัขดีขึ้นด้วยครับ
ข้อมูลบางส่วน :
รูปภาพประกอบ :
SHARES