โดย: Tonvet
ระวัง! โรคไวรัสสำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข (อาจ) กลับมาระบาดอีก
รวมสาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคไวรัสลำไส้อักเสบติดต่อจากเชื้อพาโวไวรัสในสุนัขเอาไว้อย่างครบถ้วน
24 พฤศจิกายน 2564 · · อ่าน (3,607)- โรคไวรัสลำไส้อักเสบติดต่อจากเชื้อ Canine parvovirus เป็นไวรัสที่ติดต่อได้ง่าย โดยเฉพาะสุนัขที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้และลูกสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 4 เดือน จะมีความเสี่ยงมากที่สุด
- ไวรัสนี้มีผลต่อระบบทางเดินอาหารของสุนัขและแพร่กระจายโดยการสัมผัสสุนัขสู่สุนัขโดยตรง จากการสัมผัสกับอุจจาระ และสิ่งแวดล้อมหรือคนที่ปนเปื้อนเชื้อ
ถ้าให้นึกถึงโรคจากเชื้อไวรัสที่มักพบการระบาดขึ้นในสุนัขได้เป็นประจำแทบจะทุกปี หนึ่งในนั้นคงต้องมีโรคไวรัสลำไส้อักเสบติดต่อจากเชื้อ Canine parvovirus ในใจอย่างแน่นอน เพราะเชื้อนี้เป็นไวรัสที่ติดต่อได้ง่ายมากครับ สามารถส่งผลกระทบต่อสุนัขทุกตัว โดยเฉพาะสุนัขโตและลูกสุนัขที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ และลูกสุนัขที่อายุน้อยกว่า 4 เดือนจะมีความเสี่ยงมากที่สุด
สุนัขที่ป่วยจากการติดเชื้อพาร์โวไวรัส หรือที่เรามักเรียกสั้นๆ ว่า "พาร์โว" เป็นไวรัสมีผลต่อระบบทางเดินอาหารของสุนัขและแพร่กระจายโดยการสัมผัสสุนัขสู่สุนัขโดยตรง จากการสัมผัสกับอุจจาระ และสิ่งแวดล้อมหรือคนที่ปนเปื้อนเชื้อ
ไวรัสนี้ยังสามารถปนเปื้อนบนตัวสุนัข ชามอาหารและน้ำ ปลอกคอและสายจูง รวมถึงมือและเสื้อผ้าของผู้ที่จับต้องสุนัขที่ป่วยด้วย ที่สำคัญเจ้าพาร์โวมันยังทนต่อความร้อน ความเย็น ความชื้น และสามารถอยู่รอดในสภาพแวดล้อมได้เป็นเวลานานอย่างน้อยๆ ถึง 5 เดือน แม้สุนัขที่ป่วยจะตายไปแล้ว แต่เชื้อยังคงอยู่ในสิ่งแวดล้อม และสามารถมาติดกับสุนัขตัวใหม่ได้ด้วย
สุนัขที่ป่วยจะมีอาการอาเจียนและท้องเสียรุนแรง ถ่ายเป็นเลือดและมีกลิ่นคาวที่เฉพาะ ส่วนมากการเสียชีวิตจากพาร์โวไวรัสส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายใน 48 ถึง 72 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ สุนัขมีโอกาสตายสูงถึง 91% ถ้าไม่ได้ทำการรักษา แต่หากได้รับการรักษาที่เหมาะสมและถูกต้อง ก็จะมีอัตราการรอดชีวิตราว 50-80%
และทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวดีๆ ที่นำมาฝากเกี่ยวกับโรคไวรัสลำไส้อักเสบติดต่อจากเชื้อพาโวไวรัส ที่มักจะพบการระบาดในสุนัขได้เป็นประจำ อยากเน้นย้ำอีกครั้งให้ป้องกันด้วยการพาสุนัขไปฉีดวัคซีนเป็นประจำนะครับ เพราะโรคนี้เมื่อเป็นแล้วอาจนำความเสียใจมาสู่เจ้าของ และสุนัขอันเป็นที่รักของเราได้
สำหรับวิธีการเอาตัวรอดจากไวรัสลำไส้อักเสบติดต่อจากเชื้อพาร์โวไวรัส (Canine Parvovirus) ในสุนัขที่กำลังป่วยและการรับมือกับการระบาดของโรคนี้นั้น...
ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่า เมื่อสุนัขได้รับเชื้อแล้วจะเริ่มแสดงอาการป่วยภายใน 3-10 วัน (หรือตั้งแต่ 4-14 วันหลังรับเชื้อ) และที่สำคัญ คือ น้องหมาที่ได้รับเชื้อแล้ว สามารถแพร่เชื้อต่อได้ 1-3 วันก่อนที่น้องหมาจะแสดงอาการป่วยเสียอีก จึงทำให้การระบาดเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กว่าที่เราจะทราบว่าป่วย สุนัขตัวอื่นๆ ในคอกหรือในบ้าน ตลอดจนสุนัขที่เลี้ยงรวมกันในชุมชน ก็อาจได้รับเชื้อไปแล้ว
ดังนั้นแนวทางการดูแลและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนี้ จึงต้องมีมาตรการที่เข้มข้นเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคให้ได้ตั้งแต่ต้น ดังนี้
1. ต้องแยกเลี้ยงสุนัขป่วยต้องสงสัยทันที
สุนัขที่มีอาการซึม อ่อนแรง ไม่กินอาหาร อาเจียน และมีอาการท้องเสียรุนแรง ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นสีดำหรือมีเลือดปนและมีกลิ่นคาว โดยเฉพาะในลูกสุนัขที่มีอายุไม่เกิน 4 เดือน หรือสุนัขมีประวัติฉีดวัคซีนไม่ครบถ้วนและไม่ได้การวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อน เหล่านี้ถือเป็นสุนัขกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และแยกตัวสังเกตอาการทันทีอย่างน้อย 14 วัน
สุนัขที่มีอาการซึม อ่อนแรง ไม่กินอาหาร อาเจียน และมีอาการท้องเสียรุนแรง ถ่ายเหลว ถ่ายเป็นสีดำหรือมีเลือดปนและมีกลิ่นคาว โดยเฉพาะในลูกสุนัขที่มีอายุไม่เกิน 4 เดือน หรือสุนัขมีประวัติฉีดวัคซีนไม่ครบถ้วนและไม่ได้การวัคซีนป้องกันโรคนี้มาก่อน เหล่านี้ถือเป็นสุนัขกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และแยกตัวสังเกตอาการทันทีอย่างน้อย 14 วัน
2. ให้เรารีบพาสุนัขที่ป่วยไปพบสัตวแพทย์ทันที
เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรค เราสามารถใช้ชุดตรวจโรคแบบ ELISA เพื่อตรวจหาแอนติเจนของเชื้อพาร์โวไวรัสจากอุจจาระได้โดยเฉพาะ ซึ่งสามารถทราบผลได้ภายใน 15 นาทีเท่านั้น โดยโอกาสตรวจพบมากจะเป็นช่วงที่มีเชื้อมากสุดในอุจจาระ คือ ช่วง 4-7 วันหลังจากการที่สุนัขรับเชื้อ แต่การทดสอบ ELISA นี้ จะมีความแม่นยำพอสมควร บางครั้งก็สามารถให้ผลลัพธ์ที่เป็นผลบวกลวงหรือผลลบลวงได้
เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรค เราสามารถใช้ชุดตรวจโรคแบบ ELISA เพื่อตรวจหาแอนติเจนของเชื้อพาร์โวไวรัสจากอุจจาระได้โดยเฉพาะ ซึ่งสามารถทราบผลได้ภายใน 15 นาทีเท่านั้น โดยโอกาสตรวจพบมากจะเป็นช่วงที่มีเชื้อมากสุดในอุจจาระ คือ ช่วง 4-7 วันหลังจากการที่สุนัขรับเชื้อ แต่การทดสอบ ELISA นี้ จะมีความแม่นยำพอสมควร บางครั้งก็สามารถให้ผลลัพธ์ที่เป็นผลบวกลวงหรือผลลบลวงได้
สำหรับการทดสอบแบบ CPV fecal PCR จะตรวจจับดีเอ็นเอของไวรัสชิ้นเล็ก ๆ ที่จำเพาะต่อเชืัอพาร์โวไวรัสในอุจจาระของสุนัขที่ติดเชื้อ จัดว่าการทดสอบแบบนี้มีความแม่นยำมาก แต่ใช้เวลานานและต้องส่งยังห้องปฏิบัติการที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า ดังนั้นบางครั้งสัตวแพทย์อาจทำการตรวจเลือด เพื่อดูจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ต่ำลง เพื่อช่วยประกอบการวินิจฉัยโรคร่วมกัน
3. การรักษาสุนัขที่ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด
โรคไวรัสนี้ไม่มียารักษาที่จำเพาะ สัตวแพทย์จะให้การดูแลแบบประคับประคองและการจัดโรคไปตามอาการ การนอนโรงพยาบาลมักจำเป็นเพื่อช่วยให้สุนัขที่ติดเชื้อ CPV ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อชดเชยของเหลวและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไปกับการอาเจียนและท้องร่วงที่เกิดขึ้น หรือให้สารน้ำที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลในสุนัขป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ ให้ยาอื่นๆ ตามอาการป่วย อาทิเช่น ยาระงับอาเจียน ยาฆ่าเชื้อ (ปฏิชีวนะ) ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ยาระงับปวด หรือการถ่ายเลือด เป็นต้น ซึ่งการรักษาอย่างทันท่วงทีทำให้สุนัขที่ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น
โรคไวรัสนี้ไม่มียารักษาที่จำเพาะ สัตวแพทย์จะให้การดูแลแบบประคับประคองและการจัดโรคไปตามอาการ การนอนโรงพยาบาลมักจำเป็นเพื่อช่วยให้สุนัขที่ติดเชื้อ CPV ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อชดเชยของเหลวและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไปกับการอาเจียนและท้องร่วงที่เกิดขึ้น หรือให้สารน้ำที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลในสุนัขป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ ให้ยาอื่นๆ ตามอาการป่วย อาทิเช่น ยาระงับอาเจียน ยาฆ่าเชื้อ (ปฏิชีวนะ) ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ยาระงับปวด หรือการถ่ายเลือด เป็นต้น ซึ่งการรักษาอย่างทันท่วงทีทำให้สุนัขที่ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น
4. สุนัขเมื่อหายป่วยแล้ว ยังควรต้องแยกเลี้ยงต่อไปอีกอย่างน้อย 2 สัปดาห์
ก่อนนำมาเลี้ยงรวมกันกับสุนัขตัวอื่นๆ ก็ควรต้องอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสที่ยังติดอยู่ตามขนและผิวหนังไปติดยังสุนัขตัวอื่น ๆ ได้อีก
ก่อนนำมาเลี้ยงรวมกันกับสุนัขตัวอื่นๆ ก็ควรต้องอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกาย เพื่อป้องกันเชื้อไวรัสที่ยังติดอยู่ตามขนและผิวหนังไปติดยังสุนัขตัวอื่น ๆ ได้อีก
5. ต้องฆ่าเชื้อตามพื้นและสิ่งแวดล้อมด้วย
ของใช้ต่างๆ และสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเชื้อพาร์โวไวรัสนี้ มีความทนทานมาก สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานมากกว่า 5 เดือน จึงต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยสารฟอกขาวที่มีส่วนประกอบของสาร Sodium hypochlorite โดยผสมอัตราส่วน สารฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 30 ส่วน ถูพื้นหรือพ่นทิ้งไว้ก่อน 10-15 นาที แล้วจึงค่อยล้างออก ไม่เพียงแต่กรงที่สุนัขป่วยเคยอยู่เท่านั้น ยังรวมถึงพื้นและผนังห้อง รวมถึงบริเวณโดยรอบที่สุนัขป่วยอยู่ด้วย (อาจทำความสะอาดด้วยน้ำยาถูพื้นทั่วไปก่อน แล้วใช้สารฟอกขาวซ้ำอีกทีก็ได้) รวมถึงเสื้อผ้าที่เราสวมใส่หรือสิ่งใดที่มีโอกาสไปสัมผัสกับเชื้อ ก็ควรต้องได้รับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยสารฟอกขาวดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ของใช้ต่างๆ และสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเชื้อพาร์โวไวรัสนี้ มีความทนทานมาก สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานมากกว่า 5 เดือน จึงต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยสารฟอกขาวที่มีส่วนประกอบของสาร Sodium hypochlorite โดยผสมอัตราส่วน สารฟอกขาว 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 30 ส่วน ถูพื้นหรือพ่นทิ้งไว้ก่อน 10-15 นาที แล้วจึงค่อยล้างออก ไม่เพียงแต่กรงที่สุนัขป่วยเคยอยู่เท่านั้น ยังรวมถึงพื้นและผนังห้อง รวมถึงบริเวณโดยรอบที่สุนัขป่วยอยู่ด้วย (อาจทำความสะอาดด้วยน้ำยาถูพื้นทั่วไปก่อน แล้วใช้สารฟอกขาวซ้ำอีกทีก็ได้) รวมถึงเสื้อผ้าที่เราสวมใส่หรือสิ่งใดที่มีโอกาสไปสัมผัสกับเชื้อ ก็ควรต้องได้รับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยสารฟอกขาวดังกล่าวด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดีการเอาตัวรอดจากเชืัอพาร์ไวรัสที่ดีที่สุด คือ "การป้องกันด้วยวัคซีน" เจ้าของควรพาสุนัขทุกตัวที่มีอายุตั้งแต่ 6-8 สัปดาห์ขึ้นไป และมีสุขภาพปกติแข็งแรง เข้าการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ได้
หากสุนัขได้รับวัคซีนเป็นครั้งแรก สัตวแพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการกระตุ้นซ้ำอีกอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ตามโปรแกรมที่สัตวแพทย์แนะนำจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นเป็นประจำทุก 1-3 ปี ตลอดไป
หากสุนัขได้รับวัคซีนเป็นครั้งแรก สัตวแพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการกระตุ้นซ้ำอีกอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ตามโปรแกรมที่สัตวแพทย์แนะนำจากนั้นให้ฉีดกระตุ้นเป็นประจำทุก 1-3 ปี ตลอดไป
สำหรับต่อไปนี้เป็นความเชื่อที่ผิดๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาไวรัสลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัขจากเชื้อพาร์โวไวรัส ที่หมอไม่แนะนำให้ทำตามนะครับ คือ การใช้โยเกิร์ต และยาเขียว ในการรักษาโรคลำไส้อักเสบติดต่อจากเชื้อพาร์โวไวรัส
"ยาเขียว" ไม่มีสรรพคุณที่รักษาเชื้อพาโวไวรัสในสุนัขได้ ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยของยาชนิดนี้ในสัตว์ ซึ่งยาเขียวเป็นยาที่ใช้ "ในคน" เพื่อการบรรเทาอาการตัวร้อนเป็นไข้เท่านั้น ไม่สามารถรักษาอาการท้องเสียหรืออาเจียนได้ แม้แต่ในคนก็ตาม
สำหรับ "โยเกิร์ต" ก็ไม่มีสรรพคุณในการรักษาเชื้อพาโวไวรัสในสุนัขเช่นกัน อาจมีประโยชน์ในแง่การเพิ่มน้ำตาลให้ร่างกายหรือช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ซึ่งจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตก็ไม่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อพาโวไวรัสในสุนัข หากให้ในช่วงที่สุนัขป่วยอาจเป็นการเพิ่มปัญหาให้กับไส้อักเสบที่กำลังอักเสบและยิ่งทำให้เกิดการเสียสมดุลของจุลินทรย์ในการเดินอาหารสุนัข อาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
และทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวดีๆ ที่นำมาฝากเกี่ยวกับโรคไวรัสลำไส้อักเสบติดต่อจากเชื้อพาโวไวรัส ที่มักจะพบการระบาดในสุนัขได้เป็นประจำ อยากเน้นย้ำอีกครั้งให้ป้องกันด้วยการพาสุนัขไปฉีดวัคซีนเป็นประจำนะครับ เพราะโรคนี้เมื่อเป็นแล้วอาจนำความเสียใจมาสู่เจ้าของ และสุนัขอันเป็นที่รักของเราได้
บทความโดย: หมอต้น ด็อกไอไลค์
น.สพ.ธีรภาพ มุสิกานนท์
SHARES